5 กันยายน 2565
ตลาดการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
8 สิงหาคม 2565
15 พฤศจิกายน 2562
เงินบาททยอยแข็งค่า โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ที่ได้รับแรงหนุนท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีสัญญาณเชิงลบตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากล่าวว่ายังไม่มีการตอบตกลงเรื่องการทยอยลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน และสหรัฐฯ อาจปรับเพิ่มภาษีอีกครั้ง หากสองประเทศไม่บรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอประเมินความคืบหน้าของดีลการค้าของสหรัฐฯ-จีนอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
18 ตุลาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้ระดับ 30.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุม FOMC ช่วงปลายเดือนต.ค.นี้ นอกจากนี้สัญญาณบวกของข้อตกลง BREXIT ก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันเงินดอลลาร์ฯ เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงหลังผลการประชุมเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ที่ชะลอลงระหว่างที่ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดและการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังจากที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดยังไม่สะท้อนถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป แม้เฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุดก็ตาม สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดของสงครามการค้า แต่ลดช่วงติดลบกลับมาได้เกือบทั้งหมด ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ... อ่านต่อ
12 กรกฎาคม 2562
เงินบาทผันผวน และอ่อนค่าลงปลายสัปดาห์ หลังมาตรการธปท.โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากตลาดตีความถ้อยแถลงของประธานเฟดว่า เป็นการส่งสัญญาณถึงโอกาสการลดดอกเบี้ยลงในเร็วๆ นี้ เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากธปท. ออกมาตรการเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยปรับลดเกณฑ์ยอดคงค้าง ณ สิ้นวันของบัญชี NRBA และ NRBS และยกระดับการรายงานข้อมูลถือครองตราสารหนี้ไทยของต่างชาติ... อ่านต่อ
7 มิถุนายน 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าสอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติระหว่างสัปดาห์ สวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่เผชิญแรงกดดันจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่กล่าวถึง การดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกระตุ้นกระแสการคาดการณ์ว่า เฟดมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงภายในปีนี้ นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ที่อ่อนแอก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
24 พฤษภาคม 2562
เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าเข้าใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาคท่ามกลางความตึงเครียดมากขึ้นของสถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบ และดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิค ประกอบกับตลาดหุ้นและสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ก็ฟื้นตัวขึ้นด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
3 พฤษภาคม 2562
เงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อย แต่ภาพรวมตลอดสัปดาห์ยังคงทรงตัวอยู่ในกรอบแคบใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ไม่ได้รับแรงหนุนมากนักก่อนการประชุมเฟดกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้นหลังการประชุมเฟด เนื่องจากเฟดยังไม่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานของสหรัฐฯ เดือนก.พ. ที่หดตัวลง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ ขณะที่ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ของ IMF ลงมาที่ 3.3% เพิ่มแรงกดดันต่อสกุลเงินในภูมิภาค เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับค่าเงินหยวน หลังตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค. ของจีน ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
8 มีนาคม 2562
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือน ที่ 31.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาท สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.พ. ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลงมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
1 มีนาคม 2562
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน โดยเงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ แต่ขยับแข็งค่าได้เล็กน้อยท่ามกลางสัญญาณคลี่คลายของประเด็นตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 31.76 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนให้แข็งค่าขึ้น จากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/61 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ... อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี ที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยง เงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความคาดหวังต่อสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาทางการค้าสหรัฐฯ-จีน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงกลางสัปดาห์อีกด้วย อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการพบกับระหว่างปธน. ทรัมป์ และรองนายกรัฐมนตรีของจีน ประกอบกับเงินบาทมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกไทยที่หดตัวลงมากกว่าคาดในเดือนม.ค.... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่การเคลื่อนไหวระหว่างสัปดาห์ยังคงอยู่ในกรอบแคบ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนลงบางส่วน หลังมีรายงานข่าวระบุว่า จีนอาจพิจารณาปรับลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลัง ECB ปรับลดตัวเลขประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนลง ประกอบกับน่าจะมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมเฟด (18-19 ธ.ค.) ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
23 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกระตุ้นให้ตลาดบางส่วนเริ่มประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปีหน้าอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา โดยมีปัจจัยลบจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3 ของไทยที่เติบโตน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม เนื่องจากตลาดยังคงรอความชัดเจนของข้อตกลง BREXIT และประเด็นทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
26 ตุลาคม 2561
เงินบาททยอยอ่อนค่าจนหลุดแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันจากข้อมูลการส่งออกไทยที่ออกมาหดตัวกว่าที่คาด ประกอบกับมีปัจจัยลบตลอดสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องแผนงบประมาณของอิตาลี และสหภาพยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมช่วงปลายสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ อาทิ ข้อมูลการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
7 กันยายน 2561
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แต่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลง สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ที่เผชิญแรงกดดันจากความกังวลต่อความเปราะบางของเศรษฐกิจและสกุลเงินของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้า ทั้งประเด็นกับจีนและแคนาดา ที่ยังอยู่ระหว่างการรอแนวทางสรุปที่ชัดเจน นอกจากนี้ แรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัดในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด กระตุ้นแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ปลายสัปดาห์... อ่านต่อ
6 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.29 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคทยอยอ่อนค่าลง สอดคล้องกับแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง และการอ่อนค่าของเงินหยวน (แม้ธนาคารกลางจีนได้ออกมาส่งสัญญาณเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินก็ตาม) ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนของสหรัฐฯ เริ่มมีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 6 ก.ค. 2561 อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่ม... อ่านต่อ
20 เมษายน 2561
เงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อย แต่ในภาพรวมยังถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างแคบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนกลับมาบางส่วนจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงมองว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นเข้าสู่ระดับเป้าหมายของเฟดในปีนี้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
5 พฤศจิกายน 2555
14 กันยายน 2555
5 กันยายน 2555
11 ธันวาคม 2552
6 สิงหาคม 2552
5 ตุลาคม 2550
27 ธันวาคม 2549