22 กรกฎาคม 2562
การค้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยืนประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดทั้งปี 2562 ไว้ที่ 0.0% โดยมองว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง บรรยากาศการค้าโลกแม้ว่าจะไม่ได้ดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนกลับเข้าสู่เส้นทางการเจรจาอีกครั้ง แต่สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศจะไม่แย่ลงไปกว่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างจีนและสหรัฐฯ น่าจะออกมาตรการทางการเงินมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อภาพเศรษฐกิจโลกด้วย ซึ่งเมื่อประกอบกับฐานในปีก่อนที่ต่ำด้วยแล้ว ก็น่าจะช่วยประคับประคองการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งปีหลังได้ ... อ่านต่อ
FileSize KB
30 พฤษภาคม 2562
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐฯ รอบครึ่งปี โดยที่ยังคงไม่มีการระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่า ประเทศใดมีพฤติกรรมเข้าข่ายบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ มีการปรับเกณฑ์การพิจารณาให้มีความเข้มงวดขึ้น ซึ่งทำให้รายชื่อประเทศที่สหรัฐฯ ติดตามอย่างใกล้ชิด (Monitoring List) เพิ่มจำนวนขึ้น มาเป็น 9 ประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น ไทยไม่ติดอยู่ใน Monitoring List ในรายงานฯ รอบนี้... อ่านต่อ
22 พฤษภาคม 2562
• เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กดดันการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนเม.ย. 2562 หดตัว 2.57% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 • ทิศทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปี 2562 ยังเผชิญความท้าทายอยู่อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกที่ผันผวน วัฏจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ความเสี่ยงที่ไทยจะอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ถูกติดตามในรายงานเรื่องการแทรกแซงค่าเงินของทางการสหรัฐฯ รวมถึงประเด็นเรื่องข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ปะทุขึ้นมาอีกระลอก ซึ่งส่งผลให้บรรยากาศการค้าโลกตึงเครียดมากขึ้น และเพิ่มเติมความเสี่ยงให้กับภาคการส่งออกสินค้าไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562 ... อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2562
• การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ วัฏจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ราคาน้ำมันดิบโลกที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อน เป็นปัจจัยที่กดดันให้การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนม.ค. 2562 หดตัว 5.65% สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 ไว้ที่ 4.5% โดยมองว่า ทิศทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 จะหดตัวในช่วง -8.0% ถึง -4.0% หรือคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 19,300 – 20,100 ล้านดอลลาร์ฯ จากปัจจัยฐานที่สูง อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าไทยจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 3 ไตรมาสหลัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีสัญญาณที่ดีขึ้นมากกว่าที่ประเมินไว้ในช่วงก่อนหน้า แต่ยังต้องติดตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหภาพยุโรป รวมถึงประเด็นเรื่องแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลในระยะยาวต่อการส่งออกสินค้าไทย ... อ่านต่อ
12 กุมภาพันธ์ 2562
การส่งออกของไทยในปี 2018 ขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถูกผลักดันด้วยปัจจัยด้านราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกของไทยขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาโครงสร้างการส่งออกของไทยจะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณของการชะลอตัวและมีสัดส่วนที่ลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าขั้นกลางของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมนี้ที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต... อ่านต่อ
22 ธันวาคม 2560
การส่งออกสินค้าในเดือนพ.ย. 2560 โตดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 (ตั้งแต่เดือนมี.ค. 2560) หนุนมูลค่าส่งออกสินค้าในช่วง 11 เดือนแรก (ม.... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2560
การส่งออกสินค้าไทยในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย. 2560) ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 YoY โดยในเดือนก.ย. 2560 การส่งออกโตสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.2 YoY จากการส... อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2559
... อ่านต่อ
31 มกราคม 2557
25 ธันวาคม 2556
26 กันยายน 2555
25 กรกฎาคม 2555
26 เมษายน 2555
5 สิงหาคม 2552
9 เมษายน 2552
3 ตุลาคม 2551
31 ตุลาคม 2549