22 มกราคม 2564
การค้า
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในต่างประเทศรวมถึงไทยจะยังไม่คลี่คลาย แต่ความหวังในเรื่องวัคซีน มาตรการปิดเมืองที่มีความเข้มงวดน้อยลงเมื่อเทียบกับการระบาดรอบก่อนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ละประเทศที่ออกมาเพิ่มเติมส่งผลให้ส่งออกไทยในเดือนธ.ค.2563 พลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 8 เดือน โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.71 YoY จากเดือนพ.ย. 2563 ที่หดตัวร้อยละ 3.65 YoY โดยการส่งออกสินค้าเกษตรฯและอุตสาหกรรมเกษตรในเดือนธ.ค.กลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 YoY จากที่หดตัวร้อยละ 2.4 YoY ในเดือนพ.ย. ด้านสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัวเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 6.7 YoY จากที่หดตัวร้อยละ 2.9 YoY ในเดือนพ.ย.... อ่านต่อ
FileSize KB
23 ธันวาคม 2563
ส่งออกไทยในเดือนพ.ย. 2563 ส่งสัญญาณดีขึ้น ท่ามกลางการระบาดหนักในสหรัฐฯ และยุโรป โดยหดตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.65 YoY จากเดือนต.ค. 2563 ที่หดตัวร้อยละ 6.71 YoY นอกจากนี้เมื่อหักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธฯ การส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยหดตัวเพียงร้อยละ 2.09 YoY โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนพ.ย. หดตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.9 YoY โดยสินค้าประเภทรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 9 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 10.3 YoY ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรในเดือนพ.ย. หดตัวลดลงเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 2.4 YoY หลังจากหดตัว 8.8 YoY ในเดือนต.ค. โดยได้รับปัจจัยหนุนหลักจากการสินค้าเกษตรหลายตัวที่สามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ ... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2563
ส่งออกไทยในเดือนก.ค. 2563 อยู่ที่ 18,819 ล้านเหรียญฯ หดตัวร้อยละ 11.4 YoY อย่างไรก็ดี หากหักสินค้าเกี่ยวกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธฯ การส่งออกจะหดตัวที่ร้อยละ 13.0 YoY โดยการส่งออกทองคำพลิกกลับมาขยายตัวในเดือนก.ค. ที่ร้อยละ 37.2 YoY ตามทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและการบริโภคในต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ในขณะที่สินค้าที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ยังคงเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่มีการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เช่น ทูน่ากระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง ถุงมือยาง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ส่งผลให้ 7 เดือนแรก การส่งออกไทยหดตัวร้อยละ 7.7 YoY... อ่านต่อ
22 พฤษภาคม 2563
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนเม.ย. 2563 ขยายตัว 2.12% YoY สวนทางกับมุมมองของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะหดตัว 4.6% จากมาตรการปิดเมือง โดยขยายตัวจากการส่งออกทองคำที่โตสูงถึง 1,103% และปัจจัยชั่วคราวอื่นๆ ... อ่านต่อ
22 มกราคม 2563
การส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 246,244.5 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว 2.65% YoY ในขณะที่การนำเข้าสินค้าไทยในปี 2562 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 236,639.9 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว 4.66% YoY ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยเกินดุล 9,604.6 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ของไทย... อ่านต่อ
23 ธันวาคม 2562
การส่งออกสินค้าไทยเดือนพ.ย. 2562 หดตัวสูงสุดในรอบ 43 เดือน ผลจากการชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก และผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมถึงเรื่องปัจจัยฐานราคาน้ำมันดิบที่สูงในปีก่อน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การส่งออกสินค้าไทยในปี 2563 จะยังหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -1.0 (กรอบประมาณการที่ร้อยละ -2.0 ถึงร้อยละ1.0) โดยให้น้ำหนักกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักและทิศทางเงินบาทที่อาจจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่แข็งค่า ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของผู้ส่งออกไทย ... อ่านต่อ
21 สิงหาคม 2562
ส่งออกทองคำพุ่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ช่วยหนุนภาพรวมส่งออกไทยเดือนก.ค. 2562 พลิกเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 5 เดือน แต่เมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำ ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยในเดือนก.ค. 2562 หดตัว 0.4% การส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 3/2562 น่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากการเร่งส่งออกนำเข้า (Front-loading) ก่อนที่สหรัฐฯ จะเริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนในช่วงปลายปี 2562 ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ยังขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อย แต่ประเด็นที่ยังต้องติดตามในช่วงที่เหลือของปี 2562 ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจโลกและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ รวมไปถึงประเด็นการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดปี 2562 ไว้ที่ 0.0% โดยมีกรอบการขยายตัวที่ -2.0% ถึง 1.0% ... อ่านต่อ
22 กรกฎาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยืนประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดทั้งปี 2562 ไว้ที่ 0.0% โดยมองว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง บรรยากาศการค้าโลกแม้ว่าจะไม่ได้ดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนกลับเข้าสู่เส้นทางการเจรจาอีกครั้ง แต่สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศจะไม่แย่ลงไปกว่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างจีนและสหรัฐฯ น่าจะออกมาตรการทางการเงินมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อภาพเศรษฐกิจโลกด้วย ซึ่งเมื่อประกอบกับฐานในปีก่อนที่ต่ำด้วยแล้ว ก็น่าจะช่วยประคับประคองการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งปีหลังได้ ... อ่านต่อ
22 พฤษภาคม 2562
• เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กดดันการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนเม.ย. 2562 หดตัว 2.57% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 • ทิศทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วง 8 เดือนที่เหลือของปี 2562 ยังเผชิญความท้าทายอยู่อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกที่ผันผวน วัฏจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ความเสี่ยงที่ไทยจะอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ถูกติดตามในรายงานเรื่องการแทรกแซงค่าเงินของทางการสหรัฐฯ รวมถึงประเด็นเรื่องข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ปะทุขึ้นมาอีกระลอก ซึ่งส่งผลให้บรรยากาศการค้าโลกตึงเครียดมากขึ้น และเพิ่มเติมความเสี่ยงให้กับภาคการส่งออกสินค้าไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562 ... อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2562
• การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ วัฏจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ราคาน้ำมันดิบโลกที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อน เป็นปัจจัยที่กดดันให้การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนม.ค. 2562 หดตัว 5.65% สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 ไว้ที่ 4.5% โดยมองว่า ทิศทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 จะหดตัวในช่วง -8.0% ถึง -4.0% หรือคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 19,300 – 20,100 ล้านดอลลาร์ฯ จากปัจจัยฐานที่สูง อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าไทยจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 3 ไตรมาสหลัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีสัญญาณที่ดีขึ้นมากกว่าที่ประเมินไว้ในช่วงก่อนหน้า แต่ยังต้องติดตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหภาพยุโรป รวมถึงประเด็นเรื่องแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลในระยะยาวต่อการส่งออกสินค้าไทย ... อ่านต่อ
21 มกราคม 2562
... อ่านต่อ
21 ธันวาคม 2561
• การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนพ.ย. 2561 กลับมาหดตัว 0.95% เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการค้าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่ผ่อนแรงลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561 ชะลอลงมาอยู่ที่ 7.29% • ภาพการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2562 คาดว่า จะอยู่ที่ 4.5% (กรอบประมาณการที่ 2.0-6.0%) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากผลของฐานที่สูงในปีก่อน การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่คาดว่าจะเคลื่อนไหวในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อน รวมไปถึงผลของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ... อ่านต่อ
21 พฤศจิกายน 2561
- การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนต.ค. 2561 กลับมาขยายตัวดีที่ 8.7% สูงกว่า Consensus ที่ 4.5% หลังในเดือนก.ย. หดตัว 5.2 % โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ทองคำ น้ำตาลทราย และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเลียม - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า โดยปกติแล้ว มูลค่าการส่งออกไทยในเดือนต.ค.-พ.ย. จะอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลส่งออกสินค้าสำหรับเทศกาลปลายปี ทั้งเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) รวมไปถึงคริสต์มาส และปีใหม่ ดังนั้น มูลค่าส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2561 น่าจะทำได้เฉลี่ยเดือนละใกล้เคียงกับตัวเลขในเดือนต.ค. ที่ 21,735 ล้านดอลลาร์ฯ หรือในกรณีที่ดีอาจจะสูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งก็จะทำให้มูลค่าส่งออกไทยทั้งปี 2561 อาจจะเติบโตได้ใกล้เคียง 8.0% ... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนส.ค. 2561 มีมูลค่าอยู่ที่ 22,794 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นมูลค่าส่งออกที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 6.7% YoY ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงมากในปีก่อน ประกอบกับการส่งออกทองคำหดตัวมากถึง 66.6% ซึ่งเมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำแล้ว การส่งออกสินค้าของไทยขยายตัว 10.3% การเดินหน้าประกาศจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 200,000 ล้านดอลลาร์ฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยผ่านความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตกับจีน รวมถึงการไหลทะลักของสินค้าจีนมายังประเทศในภูมิภาค โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตอบโต้ทางภาษีในรอบ 200,000 ล้านดอลลาร์ฯ นี้ จะไปเห็นผลชัดเจนในปี 2562 ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินภาพการส่งออกในปี 2561 โดยได้รวมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีในรอบ 50,000 ล้านดอลลาร์ฯ เข้าไว้แล้ว ทำให้การส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 จะผ่อนแรงลงจากช่วงครึ่งปีแรก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองทั้งปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 8.8 ... อ่านต่อ
22 สิงหาคม 2561
- สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในเดือนก.ค. 2561: การส่งออกและการนำเข้าสินค้าของไทยขยายตัว 8.3% และ 10.5% ตามลำดับ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสุทธิขาดดุล 516.2 ล้านดอลลาร์ฯ - การส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ และจีนชะลอตัวในเดือนก.ค. 2561 ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 21 เดือน ที่ -1.9% ในขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปยังจีนขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 3.6% - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อนานาประเทศจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังมากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อนที่จะทำให้เส้นทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ทั้งปี 2561 มูลค่าส่งออกสินค้าไทยน่าจะขยายตัวที่ 8.8% ... อ่านต่อ
20 กรกฎาคม 2561
การค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมิ.ย. 2561 มีมูลค่าเกินดุล 1,579 ล้านดอลลาร์ฯ จากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงมากกว่ามูลค่าการส่งออก โดยการส่งออกขยายตัว 8.2% และการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 10.8% ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ขยายตัวที่ 11.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักๆ มาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่องและวัฎจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเส้นทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังให้ขยายตัวเป็นบวก แต่ชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรกมาอยู่ที่ 6.8% หรือมูลค่าส่งออกต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 21,939 ล้านดอลลาร์ฯ ส่วนหนึ่งจากปัจจัยเรื่องฐานที่สูงในปีก่อน ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ตลอดทั้งปี 2561 การส่งออกสินค้าไทยคาดว่าจะเติบโต 8.8% ... อ่านต่อ
30 สิงหาคม 2556
20 พฤษภาคม 2554
20 มิถุนายน 2551
11 สิงหาคม 2548
30 มีนาคม 2548
22 มีนาคม 2548