18 เมษายน 2565
เศรษฐกิจต่างประเทศ
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 1/2565 เติบโตร้อยละ 4.8 (YoY) และ 1.3 (QoQ) แม้เศรษฐกิจจีนจะแสดงแนวโน้มการฟื้นตัวได้ดีในไตรมาสแรก แต่จีนยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระยะที่เหลือของปี จากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย ประเด็นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมีการผิดนัดชำระหนี้ทยอยออกมาใหม่ซึ่งคาดว่าจะยังเป็นความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีนต่อไป นอกจากนี้การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มแรงกดดันให้กับนโยบาย Zero-Covid ของจีน และการใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงที่เหลือของปีหากมีการระบาดไปยังเมืองต่างๆ ของจีนมากขึ้น ทำให้การบริโภคฟื้นตัวได้ช้า และเพิ่มแรงกดดันด้านโลจิสติกส์ต่อผู้ส่งออก ดังนั้น จากปัจจัยความไม่แน่นอนที่เศรษฐกิจจีนเผชิญส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้ในกรอบร้อยละ 4.4-4.8 โดยแรงหนุนหลักยังคงมาจากแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของทางการจีน การลงทุนของภาครัฐและเอกชน การส่งออกที่ยังเติบโตได้... อ่านต่อ
FileSize KB
16 มกราคม 2563
ความตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในเฟส 1 (Phase 1) การที่สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้จีนบางส่วนเท่านั้น ทว่าสินค้าส่วนใหญ่ของจีนยังต้องเผชิญภาษีในปี 2563 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงแทบไม่ต่างจากปี 2562 ซึ่งไม่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใด นอกจากนี้ จีนยังต้องปฏิบัติตามข้อแลกเปลี่ยนในการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อีก 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงื่อนไขอื่นที่มาพร้อมกันที่ยังต้องติดตามความคืบหน้าของเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะต่อไป... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2562
ทางการจีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงมาอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนเพิ่มเติมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าทางการจีนพร้อมที่จะตอบโต้สงครามการค้ากับสหรัฐฯ ด้วยการลดค่าเงิน ซึ่งทางการจีนอาจใช้มาตรการลดค่าเงินเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ และเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการจีนน่าจะไม่ปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่ามากจนเกินไป เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของจีนและบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ จัดให้จีนเป็นประเทศที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) เปิดช่องให้สหรัฐฯ สามารถขึ้นภาษีสินค้านำเข้ากับจีนได้อีกเพิ่มเติม ซึ่งหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายคงหยิบมาตรการด้านอื่นออกมาใช้ตอบโต้กันอย่างร้อนแรงซึ่งจะยิ่งกดดันให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแรงลงและมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในระยะอันใกล้ สำหรับไทย คงยากที่จะหลบเลี่ยงผลกระทบที่ตามมา โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนมากขึ้น ในขณะที่ การส่งออกของไทยที่อ่อนแรงอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยชะงักงันในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยจำเป็นต้องเร่งพิจารณามาตรการเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายกระตุ้นทางการคลัง เช่น การปรับลดภาษีต่างๆ ที่ยังพอมีช่องว่างให้สามารถทำได้... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.2 (YoY) ในไตรมาส 2 ปี 2562 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำสุดในรอบ 27 ปี โดยชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาส 1 ปี 2562 ส่งผลให้ในครึ่งปีแรกของปี 2562 เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 โดยปัจจัยฉุดรั้งหลักมาจากอุปสงค์โลก รวมถึงอุปสงค์ภายในประเทศจีนเองที่อ่อนแรงลง ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่สร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจจีนปี 2562 ยังคงอ่อนแรง จากอุปสงค์ที่อ่อนแอภายในและภายนอกประเทศ ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 จะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 (กรอบคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.0-6.4) ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะเผชิญความเสี่ยงเชิงลบมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ ในขณะที่หากรัฐบาลจีนไม่สามารถใช้นโยบายต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพมากพอและไม่สามารถทำให้การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศกลับมาเป็นทิศทางขยายตัว การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะเข้าใกล้กรอบคาดการณ์ล่างที่ร้อยละ 6.0 มากขึ้น อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนทั้งปีนี้ไม่น่าจะหลุดไปต่ำกว่ากรอบคาดการณ์ล่างที่ร้อยละ 6.0 เนื่องจากรัฐบาลจีนน่าจะยังคงสามารถใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ในการประคองเศรษฐกิจจีนไปได้ในปีนี้... อ่านต่อ
17 เมษายน 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.4 (YoY) ในไตรมาส 1 ปี 2562 ทรงตัวจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 โดยแม้ว่าการส่งออกของจีนจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแรง อย่างไรก็ดี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเริ่มส่งผลเป็นรูปธรรม อีกทั้งความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นดีขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ช่วยประคองโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงปลายไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจจีนปี 2562 ยังคงอ่อนแรง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 จะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 (กรอบคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.0-6.4) โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนน่าจะผ่านจุดสูงสุดที่ไตรมาสแรก และคงชะลอตัวลงในช่วงที่เหลือของปี โดยปัจจัยเชิงบวกจะมีจำกัดจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาหนี้ที่เร่งตัวสูงขึ้น ในขณะที่ปัจจัยภายนอกยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไทยไปจีนจะหดตัวในกรอบร้อยละ (-)0.5-3.0 ในปี 2562 หลังจากที่การส่งออกไทยไปจีนหดตัวถึงร้อยละ (-)9.2 (YoY) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ โดยการส่งออกไทยไปจีนมีแนวโน้มที่จะหดตัวน้อยลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากข้อพิพาททางการค้าที่เริ่มคลี่คลาย และมาตรการกระตุ้นการเศรษฐกิจของทางการจีน สำหรับในด้านการท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2562 ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยมีแนวโน้มเติบโตได้และตลาดนักท่องเที่ยวจีนจะยังเป็นตลาดสำคัญอันดับหนึ่งของไทย แต่อัตราการขยายตัวของตลาดนักท่องเที่ยวจีนคงจะไม่แตะระดับสูงเท่าในอดีตที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
22 มกราคม 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.6 ในปี 2561 ชะลอลงค่อนข้างรวดเร็วจากปี 2560 ที่เติบโตร้อยละ 6.8 โดยโมเมนตัมของเศรษฐกิจจีนให้สัญญาอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไตรมาส 4/2561 ที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 6.4 อันเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี จากประเด็นทางด้านสงครามการค้าที่ยังไม่มีความแน่นอน พัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ให้สัญญาณถึงโมเมนตัมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของจีนเติบโตได้เพียงร้อยละ 4.3 (YoY) เทียบกับร้อยละ 11.1 (YoY) ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงผลกระทบจากสงครามการค้าที่เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น อันส่งผลต่อเนื่องไปยังความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจให้ลดลงและกลับมาหดตัวร้อยละ (-)1.8 ในเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจจีนในปี 2562 คงจะชะลอในอัตราเร่ง จากผลของสงครามการค้าที่จะชัดเจนมากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 จะเติบโตในกรอบร้อยละ 6.0-6.4 ขณะที่ ทางการจีนคงเผชิญโจทย์ที่ท้าทายในการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ตลอดจนความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2561
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ซึ่งขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 YoY และเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 นั้น เป็นผลมาจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 อย่างไรก็ดี ผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มีช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 YoY โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 YoY... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
ในที่สุดจีนกับสหรัฐฯ ก็มีสัญญาณบวกว่าจะคลี่คลายความตึงเครียดทางการค้าระหว่างกันได้ด้วยดี ด้วยการเริ่มลดภาษีสินค้านำเข้าให้แก่สหรัฐฯ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการจีนน่าจะทยอยประกาศแผนลดภาษีให้แก่สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นมูลค่าการนำเข้าให้สูงขึ้น โดยสินค้าอุปโภคบริโภคตลอดจนสินค้าขั้นกลางน่าจะมีการลดภาษีอีก อาทิ เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เลนส์ เครื่องใช้ทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น รวมทั้งทางการจีนน่าจะเร่งการนำเข้าโดยโยกคำสั่งซื้อจากประเทศอื่นเพื่อมาสั่งซื้อสินค้าสหรัฐฯ แทน สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูงอย่างเครื่องบิน ถั่วเหลือง และพลังงาน ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าของจีนจากสหรัฐฯ น่าจะเพิ่มขึ้นราว 25,000-35,000 ล้านดอลลาร์ฯ ต่อปี... อ่านต่อ
13 สิงหาคม 2558
... อ่านต่อ
11 สิงหาคม 2558
17 เมษายน 2555
19 ตุลาคม 2554
21 มิถุนายน 2553
12 เมษายน 2553
3 เมษายน 2552