29 พฤศจิกายน 2565
เศรษฐกิจต่างประเทศ
การเดินทางเยือนไทยของผู้นำฝรั่งเศสในรอบ 16 ปี สะท้อนมุมมองยุโรปที่ต้องการเพิ่มบทบาททางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งฝรั่งเศสมีโอกาสพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทยได้อย่างน่าสนใจ ... อ่านต่อ
FileSize KB
16 มกราคม 2563
ความตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในเฟส 1 (Phase 1) การที่สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้จีนบางส่วนเท่านั้น ทว่าสินค้าส่วนใหญ่ของจีนยังต้องเผชิญภาษีในปี 2563 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงแทบไม่ต่างจากปี 2562 ซึ่งไม่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใด นอกจากนี้ จีนยังต้องปฏิบัติตามข้อแลกเปลี่ยนในการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อีก 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงื่อนไขอื่นที่มาพร้อมกันที่ยังต้องติดตามความคืบหน้าของเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะต่อไป... อ่านต่อ
6 มกราคม 2563
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านได้ยกระดับสูงขึ้น หลังการลอบสังหารนายพลกัสเซ็ม โซไลมานี ของอิหร่านในวันที่ 3 ม.ค. 2563 โดยสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ยังขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และระยะเวลาที่ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง โดยการประเมินในเบื้องต้น หากราคาน้ำมันดิบดูไบยืนที่ระดับ 80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล เป็นเวลา 6 เดือน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 0.75% จากกรณีฐาน กล่าวคือ เงินเฟ้อทั่วไปจะขยับขึ้นมาเป็น 1.15%-1.65% ในขณะที่จะมีผลต่อ GDP ราว -0.08% ... อ่านต่อ
5 กันยายน 2562
สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่เข้มข้นขึ้น ทั้งในแง่ของมูลค่าสินค้าที่เรียกจัดเก็บและระดับความรุนแรงของอัตราภาษีนำเข้า อาจทำให้ผลกระทบต่อการส่งออกไทยในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นมาแตะมูลค่าใกล้เคียง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2562
ในที่สุดสหรัฐฯ ก็ประกาศเพิ่มการเก็บภาษีสินค้าจีนอัตราร้อยละ 10 กับสินค้ากลุ่มที่เหลืออยู่ 3 แสนล้านดอลลาร์ฯ เริ่มในวันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไป ซึ่งสาเหตุหลักยังคงเป็นเพราะการเจรจาระหว่างกันไม่คืบหน้าเท่าที่ควร โดยเฉพาะในฝั่งจีนที่พยายามต่อรองเงื่อนไขที่ท้าทายอย่างมากของสหรัฐฯ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเก็บภาษีรอบนี้ยิ่งส่งผลกดดันการส่งออกสินค้าไทยที่เกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่การผลิตของจีนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ทำให้กระทบต่อการส่งออกของไทยภาพรวมในปี 2562 ขยับสูงขึ้นเป็น 2,400 ล้านดอลลาร์ฯ (จากเดิมที่ 2,100 ล้านดอลลาร์ฯ ที่มองว่าสหรัฐฯ จะยุติการเก็บภาษีไว้ที่ร้อยละ 25 กับสินค้าจีนรวมมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ) และผลกระทบดังกล่าวจะปรากฏชัดขึ้นในปี 2563 ซึ่งเมื่อรวมทั้งผลทางอ้อมจากการอ่อนแรงทางเศรษฐกิจทั่วโลกยิ่งฉุดการส่งออกของไทยในภาพรวมอ่อนไหวต่อเนื่องในปีหน้า ... อ่านต่อ
28 มิถุนายน 2562
การประชุม G20 ในครั้งนี้ ถือเป็นการดึงให้สหรัฐฯ และจีนกลับมาสู่เวทีเจรจาเพื่อหาทางออกของสงครามการค้าระหว่างกัน อย่างไรก็ดี ทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างก็มีจุดยืนที่ต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศและฐานเสียงที่ส่งผลต่อสถานะการเป็นผู้นำประเทศ ขณะที่ ข้อเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายต้องการกลับเป็นประเด็นที่อ่อนไหวของอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ยากที่การประชุม G20 จะนำไปสู่ข้อสรุปร่วมกันระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ซึ่งในท้ายที่สุดสหรัฐฯ อาจเดินหน้าเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และผลกระทบจากการเก็บภาษีครั้งนี้มากกว่าครั้งไหนๆ ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงไม่ได้บทสรุปที่พึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่าย อีกทั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า จะเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นร้อยละ 25 จากที่ร้อยละ 10 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคมนี้ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อภาพทางการค้าโลก ซึ่งการขึ้นภาษีครั้งนี้สะท้อนแรงกดดันที่สหรัฐฯ ต้องการเร่งให้จีนเจรจาตามแนวทางที่คาดหมายไว้ เพื่อนำไปสู่บทสรุปที่พึงใจแก่ทั้งสองฝ่ายจนสามารถยุติสงครามการค้านี้ได้ภายในสิ้นปี 2562... อ่านต่อ
5 มีนาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายเดือนก.พ. ถึงต้นเดือนมี.ค. 2562 หลังจากแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปีที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าเข้าใกล้แนว 31.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าของวันที่ 5 มี.ค. 2562 (ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบ 31.80-31.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงบ่าย) ท่ามกลางแรงกดดันที่มาจากหลายด้าน ทั้งปัจจัยในประเทศ ประกอบกับมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ จากหลายกลุ่ม อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นภาพที่ค่อนข้างเร็วและมากกว่าสกุลเงินเอเชียอื่นๆ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะใกล้ๆ นี้ จะมีทั้งปัจจัยภายในประเทศ อาทิ ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทย และปัจจัยทางการเมือง และปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 19-20 มี.ค. 2562 และกำหนดการพบกันระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีน ในวันที่ 27 มี.ค. 2562 ซึ่งแม้จะมีสัญญาณในเชิงบวก แต่คงต้องยอมรับว่า ยังคงคาดเดารายละเอียดของผลการเจรจาได้ยากในขณะนี้ ทั้งนี้ จากการที่ยังคงมีอีกหลายตัวแปร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรออยู่ในระยะข้างหน้า ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เงินบาทอาจยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างผันผวนต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
22 มกราคม 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.6 ในปี 2561 ชะลอลงค่อนข้างรวดเร็วจากปี 2560 ที่เติบโตร้อยละ 6.8 โดยโมเมนตัมของเศรษฐกิจจีนให้สัญญาอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไตรมาส 4/2561 ที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 6.4 อันเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี จากประเด็นทางด้านสงครามการค้าที่ยังไม่มีความแน่นอน พัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ให้สัญญาณถึงโมเมนตัมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของจีนเติบโตได้เพียงร้อยละ 4.3 (YoY) เทียบกับร้อยละ 11.1 (YoY) ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงผลกระทบจากสงครามการค้าที่เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น อันส่งผลต่อเนื่องไปยังความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจให้ลดลงและกลับมาหดตัวร้อยละ (-)1.8 ในเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจจีนในปี 2562 คงจะชะลอในอัตราเร่ง จากผลของสงครามการค้าที่จะชัดเจนมากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 จะเติบโตในกรอบร้อยละ 6.0-6.4 ขณะที่ ทางการจีนคงเผชิญโจทย์ที่ท้าทายในการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ตลอดจนความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากระดับ 2.00-2.25% มาที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมนโยบายการเงินรอบสุดท้ายของปี 2561 อย่างไรก็ดี เฟดคงจะเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป หลังจากที่ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ปรับเข้าใกล้ระดับดุลยภาพ ทำให้ในปี 2562 การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของเฟด คงจะขึ้นอยู่กับการประเมินภาวะเศรษฐกิจและมีความไม่แน่นอนมากขึ้นกว่าในปี 2561 ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
3 ธันวาคม 2561
จากการประชุมนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ของอาร์เจนติน่าเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้ตกลงระงับการเก็บภาษีสินค้านำเข้าของแต่ละฝ่ายเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 90 วัน หลังจากการประชุม เพื่อเปิดทางสู่การเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้า โดยทรัมป์ตกลงที่จะเลื่อนการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2562 นี้ออกไปอีก 60 วัน เป็นวันที่ 1 มีนาคม 2562 การตกลงครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่าทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะประนีประนอมกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างมากที่การเจรจาจะไม่สำเร็จภายใน 90 วัน ดังนั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่สหรัฐฯ จะยังคงขึ้นภาษีนำเข้าจาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มีนาคม 2562... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2561
ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อาจทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ผ่านการกระจายการลงทุนจากจีนไปยังประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามการค้า อย่างไรก็ดี อานิสงส์ทางตรงจะเกิดขึ้นต่อไทยในระดับที่จำกัด เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ในฐานะผู้รับการลงทุนที่ใช้แรงงานเข้มข้นอยู่แล้ว ขณะที่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนขึ้น สินค้าหลายประเภทจีนยังคงมีความได้เปรียบทางการแข่งขันทางด้านราคาจนยากที่จะเกิดการเบี่ยงเบนการลงทุน ผลที่อาจเกิดขึ้นกับไทยนั้น ไทยอาจได้อานิสงส์เฉพาะการลงทุนในสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน ในผลิตภัณฑ์ที่ไทยนับได้ว่ามีศักยภาพในการแข่งขันค่อนข้างสูงในเวทีโลก ซึ่งคาดว่ากระจุกอยู่ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่าง HDDs, ICs, PCB ที่ไทยเองก็มีบทบาทในเวทีโลกค่อนข้างมาก นอกจากนี้ สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบอย่างการแปรรูปยางพาราซึ่งจีนนำเข้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อไปผลิตต่อและส่งออกไปสหรัฐฯ ก็อาจมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยเพิ่มเติมได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลบวกทางตรงของการกระจายฐานการผลิตสินค้าขั้นปลายน้ำและสินค้าขั้นกลางที่ซับซ้อนในไทยกับการกระจายการลงทุนในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทต่างชาติที่ประกาศเจตนารมณ์แล้วและบางส่วนที่มีแนวโน้มย้ายฐานมาไทยเพิ่มจากสงครามการค้าอาจช่วยเพิ่มมูลค่า FDI ในไทยในช่วง 3 ปีแรกของสงครามการค้า (2562-2564) ได้อย่างน้อย 800 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งคิดเป็นเพียงราวร้อยละ 1 ของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิโดยเฉลี่ยต่อปีในไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ค่าเฉลี่ย FDI ปี 2558-2560) เท่านั้น อย่างไรก็ดี หากพิจารณาควบคู่กับผลกระทบด้านการค้าที่ไทยอาจได้รับจากสงครามการค้าที่เคยประเมินก่อนหน้านี้ ผลกระทบสุทธิ (Net impact) ต่อไทยยังคงอยู่ในเชิงลบ อนึ่ง ไทยอาจได้รับอานิสงส์ทางอ้อมผ่านการส่งออกสินค้าขั้นกลางอย่างเม็ดพลาสติกหรือสิ่งทอเพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำในกลุ่ม CLMV ที่อาจได้อานิสงส์ FDI ในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นมากขึ้น ... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2561
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ซึ่งขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 YoY และเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 นั้น เป็นผลมาจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 อย่างไรก็ดี ผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มีช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 YoY โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 YoY... อ่านต่อ
16 สิงหาคม 2561
ตลาดการเงินทั่วโลก ยังคงเฝ้าจับตาความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องจากสถานการณ์วิกฤตของค่าเงิน Lira ตุรกีอย่างใกล้ชิด เพราะแม้ในขณะนี้ค่าเงิน Lira จะฟื้นตัวขึ้นมาได้บางส่วน (หลังร่วงแตะระดับต่ำสุดในประวัติการณ์ที่ 7.2362 ต่อดอลลาร์ฯ เมื่อ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา) แต่คงต้องยอมรับว่า ยังมีความเสี่ยงที่เงิน Lira จะเผชิญแรงเทขายอีกหลายระลอก ท่ามกลางข้อจำกัดของเครื่องมือ/ทรัพยากรที่จะใช้ดูแลความผันผวน ขณะที่ ความอ่อนแอของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตุรกีเอง ก็อาจไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ... อ่านต่อ
15 สิงหาคม 2561
ในปี 2561 เป็นปีที่เศรษฐกิจตุรกีอาจจะเผชิญกับแรงกดดันที่มาจากรอบด้าน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจที่เข้ามารุมเร้า ทั้ง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ที่เร่งการไหลออกของเงินทุนตลอดจน กดดันให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการอ่อนค่าลงของเงิน Lira ที่ส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อทะยานขึ้น ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าปัจจัยที่กระตุ้นให้ค่าเงิน Lira เผชิญกับวิกฤติรอบใหม่ นั้นมาจากปัจจัยการเมืองระหว่างตุรกีกับสหรัฐฯที่ตึงเครียดขึ้นอย่างมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจจะดำเนินมาตรการกีดดันการค้าที่เข้มงวดขึ้นกับตุรกี ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจตุรกี ... อ่านต่อ
19 กรกฎาคม 2561
นับจากต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนได้ปรับอ่อนค่าลงกว่า 3.5% และทำสถิติใหม่ระดับ 6.73 หยวนต่อดอลลาร์ฯ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ ปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงค่อนข้างรวดเร็วในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลจากความเสี่ยงด้านการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งนี้ หากทางการจีนมีการส่งสัญญาณดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม หรือ โมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนชะลอลง อาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินหยวนในระยะข้างหน้า มีโอกาสอ่อนค่าลง สำหรับผลกระทบต่อไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการอ่อนค่าลงของค่าเงินหยวน คงเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตาม ผ่านความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ หากพิจาณาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนับจากต้นปีที่ผ่านมา พบว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมีความสัมพันธ์กับค่าเงินหยวนค่อนข้างมาก โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ 0.94 ดังนั้น แนวโน้มของทิศทางค่าเงินบาทอาจจะปรับอ่อนค่าลงตามค่าเงินหยวน ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามในระยะต่อไป คงได้แก่ พัฒนาการของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยหากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้ารุนแรงขึ้น อาจส่งผลให้ค่าเงินหยวนมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่ามากขึ้น รวมทั้ง อาจส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับความผันผวนมากขึ้นตามไปด้วย ... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2561
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 2/2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 YoY อันเป็นผลจากนโยบายของทางการในการดูแลความเสี่ยงภาคอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนของรัฐบาลท้องถิ่น ขณะที่การส่งออกของจีนในไตรมาส 2/2561 ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อจีนในปีนี้ ยังคงอยู่ในระดับจำกัด แต่หากสถานการณ์ข้อพิพาทการค้าลากยาวออกไปอาจจะส่งผลต่อการลงทุนใหม่ของภาคอุตสาหกรรมจีนปรับลดลง อันจะส่งผลกระทบที่ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไป ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะสามารถขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 ในปี 2561 สำหรับผลต่อการส่งออกของไทยไปจีน เนื่องจากความเชื่อมโยงกันผ่านห่วงโซ่การผลิตคาดว่าจะอยู่ในระดับที่จำกัดทำให้ผลกระทบโดยรวมมีไม่มาก โดยมองว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนในปี 2561 น่าจะขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 5.5-6.5... อ่านต่อ
14 มีนาคม 2561
สหรัฐฯ เดินเกมกดดันทางการค้ากับนานาชาติต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการประกาศใช้มาตรการ Safeguard กับสินค้าแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องซักผ้าขนาดใ... อ่านต่อ
2 มีนาคม 2561
มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังคงประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะ ทวีความตึงเครียดต่อการค้าโลกมากขึ้นตลอดปี 2561 โดยมาตร... อ่านต่อ
13 กุมภาพันธ์ 2556
... อ่านต่อ
1 เมษายน 2552