24 มกราคม 2566
การค้า
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ประกอบกับฐานที่สูงในปีก่อนหน้าทำให้การส่งออกไทยเดือนธันวาคม 2565 หดตัวลึกที่ -14.6% (YoY) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มีมูลค่า 21,718.8 ล้านดอลลาร์ฯ ฉุดให้ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2565 เติบโตอยู่ที่ 5.5% (YoY) ... อ่านต่อ
FileSize KB
28 มีนาคม 2565
มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ กับพันธมิตรและการตอบโต้ของรัสเซียล้วนซ้ำเติมราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก และอุปทานสินค้าในห่วงโซ่การผลิตที่เกี่ยวพันกับรัสเซีย รวมทั้งส่งผลให้บรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกอ่อนแรง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ด้วยสถานการณ์สงครามที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยที่ต้องจับตา... อ่านต่อ
23 สิงหาคม 2564
ในเดือนก.ค. ตัวเลขการส่งออกไทยยังคงขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 20.27%YoY ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 19.7% โดยใน 7 เดือนแรกของปี 2564 ตัวเลขส่งออกไทยเติบโตที่ 16.2% ซึ่งเติบโตไปในทิศทางเดียวกับตลาดในภูมิภาคแต่ระดับของการเติบโตยังคงต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ที่สามารถขยายตัวได้มากกว่า 20% ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกใน 7 เดือนแรกของปีขยายตัวได้ที่ 21.47% ซึ่งสะท้อนภาคเศรษฐกิจจริงที่เติบโตอย่างชัดเจน โดยอัตราการฉีดวัคซีนที่รวดเร็วส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญของไทยหลายประเทศกลับสู่ภาวะปกติช่วยหนุนภาคการส่งออกของไทย โดยในเดือนก.ค. การส่งออกไปในประเทศคู่ค้าสำคัญเติบโตแข็งแกร่งในเกือบทุกตลาด... อ่านต่อ
22 ตุลาคม 2563
ส่งออกไทยในเดือนก.ย. 2563 อยู่ที่ 19,621.3 ล้านเหรียญฯ หดตัวร้อยละ 3.9 YoY ท่ามกลางอุปสงค์โลกที่ฟื้นตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ 9 เดือนแรกการส่งออกไทยหดตัวร้อยละ 7.3 YoY โดยเป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวได้ดีเป็นหลัก ซึ่งปัจจัยผลักดันส่วนหนึ่งมาจากการทำงานที่บ้าน (work from home) ที่ส่งผลให้อุปสงค์ของสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นทั่วโลก ประกอบกับมีการเร่งส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าและเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐฯ นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรก็กลับมาขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและผักผลไม้ ขณะที่สินค้าประเภทอาหาร เช่น ทูน่ากระป๋อง สุกรแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องดื่ม และอาหารสัตว์เลี้ยงก็ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ สินค้าที่การส่งออกหดตัวในเดือนก.ย. 2563 ส่วนมากยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมๆ เช่น รถยนต์ เครื่องจักรกล น้ำมันสำเร็จรูป ยางพารา ข้าว และน้ำตาลทราย ขณะที่การส่งออกทองคำในเดือนก.ย. 2563 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ 9.2 เนื่องจากราคาทองคำที่ปรับลดลง หลังจากขยายตัวอย่างมากในเดือนก่อนหน้า... อ่านต่อ
23 กันยายน 2563
ส่งออกไทยในเดือนส.ค. 2563 หดตัวร้อยละ 7.9 YoY ส่งผลให้ 8 เดือนแรกการส่งออกไทยหดตัวร้อยละ 7.8 YoY อย่างไรก็ดี หากหักสินค้าเกี่ยวกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธฯ การส่งออกไทยเดือนส.ค. 2563 จะหดตัวที่ร้อยละ 14.1 YoY ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ 13.0 YoY โดยการส่งออกทองคำขยายตัวอย่างมากในเดือนส.ค. ที่ร้อยละ 71.5 YoY ขณะที่ในภาพรวม สินค้าประเภทอื่นทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์ เครื่องจักรกล เหล็ก แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ข้าว และน้ำตาลทราย ในขณะที่สินค้าที่การส่งออกยังคงขยายตัวได้ดียังคงเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (work from home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด รวมถึงอาหารบางประเภท อาทิ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทูน่ากระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยง ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น... อ่านต่อ
24 กรกฎาคม 2563
การส่งออกไทยในเดือนมิ.ย. 2563 หดตัวสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ฉุดภาพรวมส่งออกไทยครึ่งแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 7.1 YoY โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมิ.ย. 2563 อยู่ที่ 16,444 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 23.2 YoY ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนแรงลง และสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลามากขึ้น ... อ่านต่อ
24 มิถุนายน 2563
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ค. 2563 อยู่ที่ 16,278 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 22.5 YoY เป็นผลจากมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ 5 เดือนแรก ส่งออกไทยหดตัวร้อยละ -3.7 YoY โดยการส่งออกที่หดตัวในเดือนพ.ค.นับเป็นการหดตัวลึกที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ... อ่านต่อ
24 เมษายน 2563
การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ในไตรมาส 1/2563 หดตัวที่ร้อยละ 2.7 (YoY) ซึ่งถ้าหักสินค้าที่เกี่ยวกับยุทโธปกรณ์และรถถังเพื่อการซ้อมรบที่ทำให้ฐานการส่งออกผันผวน ก็นับว่าสหรัฐฯ เป็นตลาดที่สามารถเติบโตได้ดีถึงร้อยละ 15.8 (YoY) โดยเบื้องหลังการเติบโตดังกล่าวได้อานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ผลักดันให้สินค้า HDDs และยางล้อที่เป็นสินค้าส่งออกหลักทำตลาดในสหรัฐฯ ได้สูงขึ้น ... อ่านต่อ
21 เมษายน 2563
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสที่ 1/2563 พลิกกลับมาขยายตัวในรอบ 5 ไตรมาส ที่ 0.9% YoY จากแรงหนุนของการส่งออกทองคำและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวดี ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากเป็นปัจจัยกดดันต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2563
การส่งออกสินค้าไทยในเดือนก.พ. 2563 ยังให้ภาพที่ปะปนจากหลายปัจจัยชั่วคราว ทั้งจากแรงหนุนของการส่งออกทองคำที่โตสูงต่อเนื่อง และแรงฉุดจากฐานสูงของการส่งคืนอาวุธยุทโธปกรณ์และระดับราคาน้ำมันดิบในปีก่อน ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อการส่งออกนำเข้าสินค้าไทยในวงที่จำกัด ... อ่านต่อ
25 พฤศจิกายน 2562
การส่งออกสินค้าไทยเดือนต.ค. 2562 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ผลจากการชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน การแข็งค่าของเงินบาท ฐานราคาน้ำมันดิบที่สูงในปีก่อน รวมถึงความผันผวนของมูลค่าการส่งออกทองคำ... อ่านต่อ
30 ตุลาคม 2562
การที่สหรัฐฯ ลดทอนสิทธิ GSP ที่ให้แก่สินค้าไทยบางรายการในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ส่งผลต่อการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสินค้าในรายการที่ถูกตัดสิทธิมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.1 ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปสหรัฐฯ ขณะที่ความเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเด็นการแข็งค่าของเงินบาท เป็นปัจจัยหลักที่เหนี่ยวรั้งการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ปี 2563 อ่อนไหวต่อเนื่องจากปีนี้ ... อ่านต่อ
21 ตุลาคม 2562
มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนก.ย. 2562 แม้จะหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ก็เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (Consensus) ซึ่งให้ภาพเดียวกันการส่งออกสินค้าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวแรงกว่าที่คาด และผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ... อ่านต่อ
21 สิงหาคม 2562
ส่งออกทองคำพุ่งต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ช่วยหนุนภาพรวมส่งออกไทยเดือนก.ค. 2562 พลิกเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 5 เดือน แต่เมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำ ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยในเดือนก.ค. 2562 หดตัว 0.4% การส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 3/2562 น่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกจากการเร่งส่งออกนำเข้า (Front-loading) ก่อนที่สหรัฐฯ จะเริ่มเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนในช่วงปลายปี 2562 ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ยังขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อย แต่ประเด็นที่ยังต้องติดตามในช่วงที่เหลือของปี 2562 ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจโลกและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ รวมไปถึงประเด็นการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดปี 2562 ไว้ที่ 0.0% โดยมีกรอบการขยายตัวที่ -2.0% ถึง 1.0% ... อ่านต่อ
14 สิงหาคม 2562
ความขัดแย้งทางการเมืองในฮ่องกงทวีความรุนแรงขึ้นจนมาถึงขั้นปิดสนามบินฮ่องกงทำให้สูญเสียความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างฉับพลัน การขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าทางอากาศไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การส่งออกทางอากาศของไทยไปยังฮ่องกงมีปริมาณไม่มากนัก จึงไม่กระทบต่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศของไทยอย่างมีนัยสำคัญ... อ่านต่อ
22 กรกฎาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยืนประมาณการส่งออกสินค้าไทยตลอดทั้งปี 2562 ไว้ที่ 0.0% โดยมองว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง บรรยากาศการค้าโลกแม้ว่าจะไม่ได้ดีขึ้น หลังสหรัฐฯ และจีนกลับเข้าสู่เส้นทางการเจรจาอีกครั้ง แต่สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศจะไม่แย่ลงไปกว่าช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างจีนและสหรัฐฯ น่าจะออกมาตรการทางการเงินมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อภาพเศรษฐกิจโลกด้วย ซึ่งเมื่อประกอบกับฐานในปีก่อนที่ต่ำด้วยแล้ว ก็น่าจะช่วยประคับประคองการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งปีหลังได้ ... อ่านต่อ
30 พฤษภาคม 2562
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐฯ รอบครึ่งปี โดยที่ยังคงไม่มีการระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่า ประเทศใดมีพฤติกรรมเข้าข่ายบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ มีการปรับเกณฑ์การพิจารณาให้มีความเข้มงวดขึ้น ซึ่งทำให้รายชื่อประเทศที่สหรัฐฯ ติดตามอย่างใกล้ชิด (Monitoring List) เพิ่มจำนวนขึ้น มาเป็น 9 ประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น ไทยไม่ติดอยู่ใน Monitoring List ในรายงานฯ รอบนี้... อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2562
• การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ วัฏจักรขาลงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ราคาน้ำมันดิบโลกที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อน เป็นปัจจัยที่กดดันให้การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนม.ค. 2562 หดตัว 5.65% สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยในปี 2562 ไว้ที่ 4.5% โดยมองว่า ทิศทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 จะหดตัวในช่วง -8.0% ถึง -4.0% หรือคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 19,300 – 20,100 ล้านดอลลาร์ฯ จากปัจจัยฐานที่สูง อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าไทยจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 3 ไตรมาสหลัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีสัญญาณที่ดีขึ้นมากกว่าที่ประเมินไว้ในช่วงก่อนหน้า แต่ยังต้องติดตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหภาพยุโรป รวมถึงประเด็นเรื่องแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลในระยะยาวต่อการส่งออกสินค้าไทย ... อ่านต่อ
12 กุมภาพันธ์ 2562
การส่งออกของไทยในปี 2018 ขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งถูกผลักดันด้วยปัจจัยด้านราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกของไทยขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาโครงสร้างการส่งออกของไทยจะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณของการชะลอตัวและมีสัดส่วนที่ลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าขั้นกลางของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมนี้ที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต... อ่านต่อ
21 พฤศจิกายน 2561
- การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนต.ค. 2561 กลับมาขยายตัวดีที่ 8.7% สูงกว่า Consensus ที่ 4.5% หลังในเดือนก.ย. หดตัว 5.2 % โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ทองคำ น้ำตาลทราย และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเลียม - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า โดยปกติแล้ว มูลค่าการส่งออกไทยในเดือนต.ค.-พ.ย. จะอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลส่งออกสินค้าสำหรับเทศกาลปลายปี ทั้งเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) รวมไปถึงคริสต์มาส และปีใหม่ ดังนั้น มูลค่าส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2561 น่าจะทำได้เฉลี่ยเดือนละใกล้เคียงกับตัวเลขในเดือนต.ค. ที่ 21,735 ล้านดอลลาร์ฯ หรือในกรณีที่ดีอาจจะสูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งก็จะทำให้มูลค่าส่งออกไทยทั้งปี 2561 อาจจะเติบโตได้ใกล้เคียง 8.0% ... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนส.ค. 2561 มีมูลค่าอยู่ที่ 22,794 ล้านดอลลาร์ฯ นับเป็นมูลค่าส่งออกที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 6.7% YoY ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงมากในปีก่อน ประกอบกับการส่งออกทองคำหดตัวมากถึง 66.6% ซึ่งเมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำแล้ว การส่งออกสินค้าของไทยขยายตัว 10.3% การเดินหน้าประกาศจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 200,000 ล้านดอลลาร์ฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยผ่านความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตกับจีน รวมถึงการไหลทะลักของสินค้าจีนมายังประเทศในภูมิภาค โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตอบโต้ทางภาษีในรอบ 200,000 ล้านดอลลาร์ฯ นี้ จะไปเห็นผลชัดเจนในปี 2562 ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินภาพการส่งออกในปี 2561 โดยได้รวมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีในรอบ 50,000 ล้านดอลลาร์ฯ เข้าไว้แล้ว ทำให้การส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 จะผ่อนแรงลงจากช่วงครึ่งปีแรก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองทั้งปี 2561 ไว้ที่ร้อยละ 8.8 ... อ่านต่อ
22 สิงหาคม 2561
- สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในเดือนก.ค. 2561: การส่งออกและการนำเข้าสินค้าของไทยขยายตัว 8.3% และ 10.5% ตามลำดับ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสุทธิขาดดุล 516.2 ล้านดอลลาร์ฯ - การส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ และจีนชะลอตัวในเดือนก.ค. 2561 ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 21 เดือน ที่ -1.9% ในขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปยังจีนขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 3.6% - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อนานาประเทศจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังมากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยฐานที่สูงในปีก่อนที่จะทำให้เส้นทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ทั้งปี 2561 มูลค่าส่งออกสินค้าไทยน่าจะขยายตัวที่ 8.8% ... อ่านต่อ
20 กรกฎาคม 2561
การค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมิ.ย. 2561 มีมูลค่าเกินดุล 1,579 ล้านดอลลาร์ฯ จากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงมากกว่ามูลค่าการส่งออก โดยการส่งออกขยายตัว 8.2% และการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 10.8% ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ขยายตัวที่ 11.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักๆ มาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่องและวัฎจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเส้นทางการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลังให้ขยายตัวเป็นบวก แต่ชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรกมาอยู่ที่ 6.8% หรือมูลค่าส่งออกต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 21,939 ล้านดอลลาร์ฯ ส่วนหนึ่งจากปัจจัยเรื่องฐานที่สูงในปีก่อน ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ตลอดทั้งปี 2561 การส่งออกสินค้าไทยคาดว่าจะเติบโต 8.8% ... อ่านต่อ
26 กันยายน 2559
... อ่านต่อ
26 สิงหาคม 2559
27 กรกฎาคม 2559
1 กุมภาพันธ์ 2554
27 พฤษภาคม 2553