27 มกราคม 2566
เศรษฐกิจต่างประเทศ
คาดเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 0.25 หลังเงินเฟ้อมีทิศทางอ่อนแรงลง อย่างไรก็ดี เส้นทางดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าคงขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ออกมาเป็นสำคัญ... อ่านต่อ
FileSize KB
3 เมษายน 2563
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ทั่วโลกยังคงส่อเค้ารุนแรงและมีแนวโน้มที่จะยังไม่สามารถควบคุมได้ในระยะอันใกล้ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยงเชิงลบสูงขึ้น และกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ ดังนั้น รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกจึงต่างออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงเงินมหาศาล ... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินรอบสุดท้ายของปี 2562 เพื่อรอประเมินพัฒนาการทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงการส่งผ่านผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
14 มิถุนายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 18-19 มิถุนายน 2562 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะคงมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใกล้เคียงกับประมาณรอบก่อน (มี.ค. 62) ในขณะที่เฟดมีโอกาสปรับมุมมองเงินเฟ้อลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและอาจส่งสัญญาณแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น ในส่วนของมุมมองคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (dot-plot) ประมาณการอัตราดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่น่าจะส่งสัญญาณไปที่การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอาจจะมีมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งสัญญาณดังกล่าวของเฟดคงจะเป็นการเปิดช่องว่างในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า หากพัฒนาความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มเงินเฟ้อที่เฟดคาดการณ์ปรับเพิ่มสูงขึ้น ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงไม่ได้บทสรุปที่พึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่าย อีกทั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า จะเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นร้อยละ 25 จากที่ร้อยละ 10 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคมนี้ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อภาพทางการค้าโลก ซึ่งการขึ้นภาษีครั้งนี้สะท้อนแรงกดดันที่สหรัฐฯ ต้องการเร่งให้จีนเจรจาตามแนวทางที่คาดหมายไว้ เพื่อนำไปสู่บทสรุปที่พึงใจแก่ทั้งสองฝ่ายจนสามารถยุติสงครามการค้านี้ได้ภายในสิ้นปี 2562... อ่านต่อ
7 พฤศจิกายน 2561
จากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ที่พรรครีพับลิกันสูญเสียคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรคเดโมแครต ในขณะที่ยังสามารถรักษาคะแนนเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะมีนัยต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป โดยเฉพาะการผ่านร่างกฎหมายที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะทำได้ยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่านร่าง พรบ. งบประมาณ รวมทั้งความเสี่ยงในเรื่องเพดานหนี้สาธารณะที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งอาจส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจนมีผลต่อจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในขณะที่นโยบายการค้ากับจีนคงยังดำเนินต่อไปได้ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีที่เคยประกาศมาก่อนหน้านี้ และจะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกให้ต้องเผชิญความยากลำบากในปี 2562 ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ไทยอาจสูญเสียประโยชน์ทางการค้าสุทธิคิดเป็นมูลค่า 3,100-4,500 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2562 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.6-0.9 ของ GDP ไทย ... อ่านต่อ
15 สิงหาคม 2561
ในปี 2561 เป็นปีที่เศรษฐกิจตุรกีอาจจะเผชิญกับแรงกดดันที่มาจากรอบด้าน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจที่เข้ามารุมเร้า ทั้ง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ที่เร่งการไหลออกของเงินทุนตลอดจน กดดันให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการอ่อนค่าลงของเงิน Lira ที่ส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อทะยานขึ้น ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าปัจจัยที่กระตุ้นให้ค่าเงิน Lira เผชิญกับวิกฤติรอบใหม่ นั้นมาจากปัจจัยการเมืองระหว่างตุรกีกับสหรัฐฯที่ตึงเครียดขึ้นอย่างมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจจะดำเนินมาตรการกีดดันการค้าที่เข้มงวดขึ้นกับตุรกี ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจตุรกี ... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2561
สหรัฐฯ เดินเกมกดดันการค้าเฉพาะเจาะจงกับจีนเป็นมูลค่าสูงสุดตั้งแต่เปิดเกมกดดันการค้า ซึ่งในช่วง 45 วันจากนี้ เป็นเวลาสำคัญที่ทั้งสองประเทศจะเจรจาเพื่อหาแนวทางร่วมกัน โดยรายการสินค้าที่สหรัฐฯ จะประกาศออกมาจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สะท้อนแรงกดดันของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีนว่าจะสามารถลดแรงกดดันการเกิดสงครามการค้าโลกได้แค่ไหน โดยสำหรับผลต่อไทย เบื้องต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยไปจีนในสินค้าขั้นกลางประเภทแผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์โทรศัพท์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของจีน ซึ่งยังต้องจับการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่น่าจะนำมาสู่ข้อยุติที่ไม่ก่อให้เกิดสงครามการค้าในรอบต่อๆไป โดยอาจเป็นไปได้ว่ามาตรการนี้จะส่งผลแบบเลือกกีดกันเฉพาะบางกลุ่มสินค้าของจีน อาทิ สมาร์ทโฟน เสื้อผ้า และของเล่น จะไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยมากนัก แต่ถ้าหากเป็นการกีดกันครอบคลุมถึงสินค้าอื่นๆ อาทิ แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ก็อาจกระทบห่วงโซ่การผลิตของไทย อย่างไรก็ดี ธุรกิจไทยต้องเตรียมแผนงานรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งติดตามรายงานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมให้ค่าเงินบาทแข็งค่าและผันผวนมากขึ้น อันจะเกิดผลกระทบต่อส่วนต่างกำไรของผู้ส่งออกที่คงจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงตามภาวะตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนสูง ... อ่านต่อ
11 กันยายน 2558
... อ่านต่อ
14 กันยายน 2552
9 กรกฎาคม 2552
20 มีนาคม 2552
17 มีนาคม 2552
27 กุมภาพันธ์ 2552
14 พฤศจิกายน 2551
18 กันยายน 2551
17 กันยายน 2551
9 กรกฎาคม 2551