22 ตุลาคม 2567
สถาบันการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
18 ตุลาคม 2566
17 กรกฎาคม 2566
24 มกราคม 2566
คาดกนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องจากปีก่อนอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.50% ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง... อ่านต่อ
28 พฤศจิกายน 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการประชุมกนง. ครั้งสุดท้ายของปีนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.25% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ... อ่านต่อ
21 พฤศจิกายน 2565
หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตั้งแต่รอบการประชุมเดือนสิงหาคมและกันยายน 2565 ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% จนทำให้ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยืนอยู่ที่ 1.00% นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตามในทันทีในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม 2565 การปรับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์เริ่มหนาตามากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้ จำนวนแคมเปญเงินฝากพิเศษหนาตาขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 โดยส่วนใหญ่เป็นการออกแคมเปญของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นการออกเพื่อชดเชยโครงการ/แคมเปญเงินฝากที่ครบกำหนด หรือเตรียมจะครบกำหนด แต่เมื่อหักปัจจัยดังกล่าวแล้ว ก็ยังพบว่า มีสัญญาณการออกแคมเปญเงินฝากที่เร่งตัวขึ้น ... อ่านต่อ
27 กันยายน 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.00% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กนง. คงจะยังทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวและยังคงเปราะบางจากหนี้ในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง โดย กนง. คงหลีกเลี่ยงที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแรงเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่กนง. คงมีมุมมองว่าการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้คงจะช่วยพยุงให้ค่าเงินพลิกกลับมาแข็งค่าได้บ้าง อีกทั้ง กนง. คงมีมุมมองว่าเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยนคงเป็นประเด็นระยะสั้น และยังพอมีเวลาที่จะติดตามสถานการณ์และเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินได้ในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้กนง. มีแนวโน้มที่จะทยอยถอนคันเร่งทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับสูง โดยจากตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือนก.ค. 2565 อัตราเงินเฟ้อไทยวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น 7.61% YoY ชะลอลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 7.66% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่เร่งขึ้นที่ 2.99% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.51% YoY สะท้อนให้เห็นว่าการส่งผ่านต้นทุนจากไปยังผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและในวงกว้างขึ้น ดังนั้น แม้ว่าราคาน้ำมันจะย่อลงมาบ้างและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอลงเล็กน้อย แต่แรงกดดันจากเงินเฟ้อภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ ดังนั้น กนง. มีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักต่อปัจจัยเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเป็นสำคัญ ... อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2565
สัญญาณจากผลการประชุม กนง. เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ไทยคงเข้าใกล้จังหวะการเริ่มปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว และจากแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับสูงทำให้น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้และเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2566 ... อ่านต่อ
16 กรกฎาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ หรือระบบ ธ.พ.ไทยในไตรมาส 2/2564 อาจสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งถูกกระทบจากโควิดรอบแรก ... อ่านต่อ
11 กันยายน 2563
การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับบริบทใหม่ของโลกการเงินที่จะไม่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอน (LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับธุรกรรมทางการเงิน เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลภาคการเงินของหลายๆ ประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น การเริ่มเผยแพร่อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ที่เรียกว่า THOR ของธปท. เมื่อเดือนเมษายน 2563 นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะข้ามคืนสำหรับการกู้ยืมในสกุลเงินบาท ที่มีความสอดคล้องกับแนวทางในต่างประเทศ... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2563
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เดินหน้าแพ็กเกจมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งจะเน้นการลดภาระทางการเงินสำหรับลูกหนี้รายย่อย (ลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และปรับลดดอกเบี้ยในกรณีแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาว) รวมไปถึงกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลูกหนี้แต่ละรายมีภาระผ่อนต่อเดือนน้อยลง ระยะเวลาผ่อนนานขึ้น และมีความสามารถในการชำระหนี้ที่สอดคล้องกับกระแสรายได้ของตนเองมากขึ้น... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2563
ผลการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา ถูกส่งผ่านมายังอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์อีกครั้ง โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR/MRR/MOR ลงอย่างพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับลดลงดังกล่าวมีผลช่วยลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประกอบการและประชาชน ทั้งผู้ขอสินเชื่อใหม่และลูกหนี้เดิมที่ยังสามารถชำระคืนหนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งผลของการลดดอกเบี้ยดังกล่าวอาจเป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันต่อรายได้ดอกเบี้ย และ NIM ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า NIM ในไตรมาสที่ 2/2563 จะชะลอลงมาอยู่ในกรอบ 2.15-2.35% จาก 3.09% ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา... อ่านต่อ
6 กุมภาพันธ์ 2563
หลังจากที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 นำมาสู่การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาที่ 1.00% อันเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นั้น ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ก็ได้นำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR และ MLR ตาม ทั้งนี้ ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงดังกล่าว คงมีผลช่วยเสริมทัพกับมาตรการผ่อนคลายทางการคลังต่างๆ ที่ทางการทยอยบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่อประชาชนและภาคส่วนธุรกิจต่างๆ ที่ถูกซ้ำเติมจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ... อ่านต่อ
13 พฤศจิกายน 2562
ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีสัญญาณชะลอตัวในหลายภาคส่วน กนง. ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้จาก 1.50% มาอยู่ที่ 1.25% ต่อปีในการประชุมวันที่ 6 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ส่งผ่านผลต่อเนื่องมายังอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินอื่น ๆ ซึ่งในภาวะดังกล่าวอาจทำให้พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูง (Search for Yield) ที่มีมาอยู่เดิมเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมสัญญาณบางส่วนที่อาจสะท้อนถึงการปรับเปลี่ยนช่องทางการลงทุนของนักลงทุนเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อาทิ นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มียอดการถือครองหุ้นกู้ขยับขึ้นไปเกิน 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของยอดคงค้างหุ้นกู้ทั้งหมด ขณะที่จำนวนกองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้มีจำนวนกองเพิ่มขึ้น และเงินออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง... อ่านต่อ
11 พฤศจิกายน 2562
หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเงินไทย พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูง (Search-for-Yield) ปรากฎขึ้นทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในจังหวะนั้นๆ อัตราดอกเบี้ยในระบบจะต่ำหรือสูงก็ตาม เพียงแต่ในจังหวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวที่มักมาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำนั้น อาจกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่อาจสร้างความเสียหายในระดับครัวเรือนและเศรษฐกิจคือ “แชร์ลูกโซ่” ซึ่งแม้จะปรากฎได้หลายรูปแบบและเกิดขึ้นคู่กับสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี และมีรายงานความเสียหายจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่หายไปจากสังคมไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัด ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีผู้ที่สนใจลงทุนในทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่ไม่ใช่การลงทุนในตลาดเงิน ตลาดทุน หรือการออมที่สถาบันการเงิน มีสัดส่วนสูงถึง 18.9% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ... อ่านต่อ
25 ตุลาคม 2562
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2562 ยังเพิ่มขึ้นในกรอบจำกัด เนื่องจากสินเชื่อภาคธุรกิจยังคงแผ่วตัวลง ท่ามกลางสัญญาณชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และจากความระมัดระวังในการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อดูแลประเด็นทางด้านคุณภาพสินเชื่อ ส่วนสินเชื่อธุรกิจในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอียังค่อนข้างทรงตัว ซึ่งจากภาพรวมดังกล่าว ทำให้การขยายตัวของสินเชื่อรายย่อย ยังคงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของสินเชื่อในภาพรวม ... อ่านต่อ
19 กันยายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยน่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 6 ของปี 2562 ในวันที่ 25 กันยายน 2562 โดยน้ำหนักในการตัดสินในเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินคงขึ้นอยู่กับน้ำหนักจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่าทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก... อ่านต่อ
15 สิงหาคม 2562
ภายในช่วงราว 1 สัปดาห์หลังจากการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งก็ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว เน้นไปที่ประเภท MOR และ MRR ลง 0.125-0.25% ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อลูกค้าเอสเอ็มอี รวมถึงลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคลแบบมีหลักประกันบางประเภท ผ่านการช่วยลดภาระต้นทุนและค่าครองชีพลงประมาณ 1.6-1.7 หมื่นล้านบาทต่อปี คิดเป็นผลกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 0.1% ของจีดีพี... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2562
คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5:2 เสียงให้ “ลด” อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี มาที่ 1.50% จาก 1.75% ในการประชุมวันที่ 7 ส.ค. 2562 เนื่องจากประเมินว่า ภาคการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณชะลอตัว ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ... อ่านต่อ
31 มกราคม 2562
คณะกรรมการโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุม ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ทั้งนี้ ภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มมีสัญญาณชะลอลง คงส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินติดตามประเมินพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด ขณะที่ผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลให้สภาวะตลาดการเงินปรับตึงตัวขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ กล่าวคือนโยบายการเงิน ยังคงเป็นแบบผ่อนคลายและยังสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่ ทั้งนี้ กนง. คงให้น้าหนักการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยหากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเติบโตใกล้เคียงระดับ 4% ตามที่ได้ประเมินไว้ กนง. อาจจะพิจารณาโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2562 แต่หากความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ตลอดทั้งปี 2562 ... อ่านต่อ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 เดือน เป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ จากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่บ่งชี้ถึงโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ลดทอนลง ส่งผลให้มีแรงเทขายดอลลาร์ฯ ออกมามาก ขณะมุมมองต่อทิศทางของการเคลื่อนไหวของเงินบาท ดังนี้ แนวโน้มค่าเงินบาทนั้น ทิศทางการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ฯ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่หนุนให้ค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางปรับตัวแข็งค่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 โดยตลาดยังคงให้น้ำหนักกับเรื่องปัจจัยการเมืองในประเทศสหรัฐฯ ทั้งเรื่องการผ่านร่างงบประมาณฯ เพดานหนี้สาธารณะที่จะกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในช่วงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งประเด็นดังกล่าวอาจจะนำมาสู่ภาวะการหยุดทำการของหน่วยงานราชการ (ภาวะชัตดาวน์) มาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยังคงส่งผลกดดันค่าเงินดอลลาร์ฯ ให้อ่อนค่าลงในช่วงครึ่งปีแรก ส่วนในช่วงครึ่งปีหลัง ทิศทางค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวนอยู่ เนื่องจากมีตัวแปรทั้งในเรื่องการเมืองสหรัฐฯ และมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ ปัจจัยการเมืองของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลังยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ซึ่งจะยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินดอลลาร์ฯ ให้มีความผันผวน อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์การเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดี รวมถึงตลาดมีมุมมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น ตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยประกาศออกมา และเฟด กลับมาส่งสัญญาณถึงความจำเป็นในการปรับดอกเบี้ย ต่างจะเป็นปัจจัยที่กลับมาหนุนค่าเงินดอลลาร์ฯ ให้กลับมาแข็งค่าได้ ซึ่งก็อาจจะส่งผลให้เงินบาทพลิกทิศทางกลับมาอ่อนตัวลง ... อ่านต่อ
25 มกราคม 2562
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน พ.ย. 2561 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในระดับที่เกิน 8 หมื่นล้านบาทติดกันเป็นเดือนที่สอง มาที่ 11.515 ล้านล้านบาท สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน 6.20% โดยการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อค่อนข้างกระจายตัวไปยังทุกธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท และสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่ ภาพรวมเงินฝากเดือน พ.ย. 2561 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6.2 หมื่นล้านบาท มาที่ 12.442 ล้านล้านบาท โดยการเคลื่อนไหวของเงินฝากในเดือนนี้ สะท้อนภาพการบริหารจัดการสภาพคล่องที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่มีเงินฝากที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ยอดคงค้างเงินฝากของกลุ่มธนาคารขนาดกลางยังคงขยับขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม สำหรับภาพรวมเงินฝากในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 4.01% แม้มีปัจจัยเรื่องฐานเปรียบเทียบที่สูงของสินเชื่อที่เร่งตัวขึ้นมากในเดือนธันวาคม 2560 แต่คาดว่า สถานการณ์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปี 2561 จะขยายตัวเข้าใกล้ตัวเลขประมาณการที่ 6.0% ได้ โดยมีแรงหนุนในช่วงโค้งสุดท้ายของปีจากสินเชื่อรายย่อย และการเบิกใช้สินเชื่อของภาคธุรกิจตามปัจจัยด้านฤดูกาล สำหรับแนวโน้มในปี 2562 คาดว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาที่ประมาณ 5.0% ตามทิศทางเศรษฐกิจ ... อ่านต่อ
4 มกราคม 2562
การปรับขึ้น “อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทั่วไป” ของธนาคารพาณิชย์ เป็นไปตามกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินของธปท. ขณะที่ หากธนาคารอื่นๆ ทยอยขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำตามมาในลักษณะเดียวกัน ก็น่าจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดเงินฝากไม่ปรับเปลี่ยนไปจากภาพเดิมมากนัก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เงินฝากประจำ (สำหรับบุคคลธรรมดาที่มียอดไม่เกิน 5 ล้านบาท) มียอดคงค้างอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งธนาคารพาณิชย์ จะทยอยรับรู้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ โดยเฉพาะเงินฝากประจำ 3 เดือน ที่มีสัดส่วนประมาณ 20% ของยอดรวมเงินฝากประจำบุคคลธรรมดาที่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาผลกระทบของดอกเบี้ยจ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในรอบนี้ (สมมติให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งปรับขึ้นดอกเบี้ยในลักษณะเดียวกัน) จะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 0.55% ของภาพรวมกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศในปีนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นการทั่วไป อาจตามมาในจังหวะที่เหมาะสม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมุมมองเดิมว่า จังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยขาเงินกู้เป็นการทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ในช่วงหลังจากนี้นั้น คงจะตั้งอยู่บนเงื่อนไขของแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความต้องการสินเชื่อ ความสามารถในการชำระหนี้ ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และการประเมินผลกระทบที่ปรากฏขึ้นจริงจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากในรอบนี้ ... อ่านต่อ
26 ธันวาคม 2561
ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้บัตรเครดิตปลายปี 2561 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งมีแผนใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษรับช่วงวันหยุดยาวและเทศกาลปีใหม่ช่วงปลายปี วางแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของตนสูงกว่าปกติประมาณ 1.8-2.5 เท่า ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ เติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 12% ในปี 2561 เร่งขึ้นจาก 6.0% ในปี 2560 ขณะที่ ยอดคงค้างสินเชื่อทั้งระบบ อาจเติบโตต่อเนื่องที่ประมาณ 7.0% แม้แรงหนุนจากมาตรการช้อปช่วยชาติในช่วงปลายปี 2561 จะมีรายละเอียดของมาตรการที่แตกต่างไปจากช่วง 2 ปีก่อนก็ตาม สำหรับแนวโน้มในปี 2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ อาจจะยังประคองการเติบโตในปี 2562 ไว้ที่ประมาณ 7.0% ใกล้เคียงกับปี 2561 ขณะที่ ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต อาจเติบโตประมาณ 8.0% โดยจะยังคงเห็นกลยุทธ์การแข่งแคมเปญ/โปรโมชั่น ทั้งเพื่อขยายฐานลูกค้า เพิ่มความประทับใจในการใช้บัตรเครดิต ตลอดจนกระตุ้นการใช้วงเงินในบัตรเครดิต อย่างเข้มข้น อย่างไรก็ดี โจทย์ท้าท้ายสำคัญที่รออยู่ในปี 2562 น่าจะเป็นเรื่องความกังวลต่อสถานการณ์หนี้ครัวเรือน และสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในภาพรวม ซึ่งสะท้อนผ่านผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้บัตรเครดิตฯ โดยผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วน เริ่มมีมุมมองที่มีความกังวลต่อรายได้และมีแผนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แม้ว่าผู้ถือบัตรเครดิตส่วนใหญ่จะยังคงมองว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของตนในปี 2562 น่าจะเท่ากับหรือสูงกว่าปี 2561 ก็ตาม ... อ่านต่อ
20 ธันวาคม 2561
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จากระดับร้อยละ 1.50 เป็นระดับร้อยละ 1.75 อันเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี เพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ในอนาคต ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ ไม่น่าจะส่งผลต่อภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 อย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางระดับสภาพคล่องในตลาดการเงินไทยที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่มองว่า กนง. น่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระยะข้างหน้าอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้คงเป็นไปในลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินคงจะประเมินความพร้อมของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ก่อนที่จะมีการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2561
สัญญาณที่ชัดเจนขึ้นถึงความจำเป็นในการปรับสมดุลของการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ สัญญาณของสะสมของความเปราะบางของเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏชัด ขณะที่ภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอยู่ แม้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสะดุดไปบ้างในไตรมาส 3/2561 ที่ผ่านมา ทำให้ปรับลดปัจจัยเสี่ยงต่อการสะสมความเปราะบางของเสถียรภาพเศรษฐกิจ และการสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) เพื่อรองรับความเสี่ยงในระยะข้างหน้า คงมีความจำเป็นมากขึ้น... อ่านต่อ
12 ธันวาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สินเชื่อส่วนบุคคลจะสามารถรักษาแรงส่งได้ต่อเนื่องในปี 2562 โดยเติบโตในกรอบ 7.5-9.0% ตามแรงผลักดันของผู้ให้บริการโดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งเป้าหมายสินเชื่อในเชิงรุก ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อชดเชยรายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไปภายใต้การเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งคงจะเห็นอัตราการเติบโตของสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีโอกาสโตกว่าสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นๆขณะที่ กลยุทธ์สำคัญในการเจาะตลาดใหม่ๆ คงหนีไม่พ้นการพัฒนาช่องทางดิจิทัล ซึ่งผู้ให้บริการคงต้องออกแบบกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถปิดหรือบรรเทาความเสี่ยงด้านคุณภาพหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย... อ่านต่อ
26 พฤศจิกายน 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ต.ค. 2561 กลับมาเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน 8.2 หมื่นล้านบาท หรือ 0.73% มาที่ 11.427 ล้านล้านบาท จากการขยายตัวดีขึ้นของสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท และสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 2.28 แสนล้านบาท หรือ 1.86% MoM มาที่ 12.504 ล้านล้านบาท จากเงินฝากภาครัฐในเข้ามาพักในบัญชี CASA ที่และเงินฝากเอกชนทั้งบัญชี CASA และเงินฝากประจำ มีผลให้สภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง สำหรับแนวโน้มในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ คาดว่าสินเชื่อจะยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องและจบปีที่ 6.0% โดยมีสินเชื่อรายย่อยเป็นตัวนำการขับเคลื่อนหลัก ขณะที่ด้านเงินฝากอาจจะเริ่มเห็นการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีระยะเวลาการฝากยาวขึ้นเพื่อล็อกต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายบางส่วน ... อ่านต่อ
26 มิถุนายน 2561
แพลตฟอร์ม P2P Lending ในไทย 4-5 ราย ที่เริ่มเปิดให้บริการแล้ว (ในวงจำกัด) ย้ำภาพในทิศทางที่มุ่งเจาะกลุ่มผู้กู้รายย่อย โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งคงช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กลุ่มดังกล่าวได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง และเงื่อนไขการขอกู้ที่ผ่อนคลายลง ทั้งในมิติหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมิติของระยะเวลาดำเนินการของธุรกิจ (เมื่อเทียบกับการขอสินเชื่อไม่มีหลักประกันของสถาบันการเงิน) หัวใจสู่ความสำเร็จของ P2P Lending ยังเป็นเรื่องการจัดการความเสี่ยงที่ดีพอตลอดกระบวนการปล่อยกู้ของแพลตฟอร์ม ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นระบบ Credit Scoring และบริการติดตามทวงหนี้ ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายบททดสอบจากวัฏจักรเศรษฐกิจและธุรกิจ ตลอดจนบทพิสูจน์ถึงเสถียรภาพของแพลตฟอร์ม เมื่อฐานลูกค้าขยายใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ยอดเงินปล่อยกู้สำหรับสินเชื่อธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มในปี 2561 น่าจะอยู่ที่ราว 1,000-1,500 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบกับปริมาณสินเชื่อเอสเอ็มอีของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย แม้จะคิดเป็นเพียงสัดส่วนราว 0.03% เท่านั้น แต่ก็นับว่า สามารถช่วยเติมช่องว่างบริการทางการเงินที่เคยมีได้บางส่วนในระหว่างรอการประกาศเกณฑ์กำกับจาก ธปท. และก.ล.ต. เพิ่มเติม ซึ่งเมื่อเกณฑ์ดังกล่าวออกมา ประกอบกับระบบจัดการด้านเครดิตของแพลตฟอร์มได้รับการพัฒนามาระยะหนึ่ง ก็คาดว่า คงจะเห็นทิศทางอนาคต P2P Lending ในไทยที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในมิติของฐานลูกค้าที่น่าจะกว้างขึ้น ... อ่านต่อ
25 มิถุนายน 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน พ.ค. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 6.59 หมื่นล้านบาท เป็น 11.20 ล้านล้านบาท หรือ 0.59% MoM แต่ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อนทำให้อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนยังไต่ระดับขึ้นเป็น 4.99%YoY และ 1.27%YTD โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ค่อนข้างกระจายตัวไปแทบทุกธนาคาร ตามการเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยได้แรงหนุนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย 700 ล้านบาท หรือ 0.01% MoM เป็น 12.36 ล้านล้านบาท จากเงินฝากทุกประเภทของธนาคารขนาดใหญ่ 2 แห่ง แม้ธนาคารขนาดเล็กจะมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษใหม่ 7 ตัวในเดือนนี้ก็ตาม... อ่านต่อ
18 มิถุนายน 2561
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ต่อปี ในการประชุม กนง. ในวันที่ 20 มิ.ย. 2561 นี้ แต่จุดสนใจของการประชุมในรอบนี้คงอยู่ที่การประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยสภาวะเศรษฐกิจไทยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในภาคการบริโภคและการลงทุน จากตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1/2561 ที่สะท้อนถึงการขยายตัวเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบ GDP ในทุกองค์ประกอบ ในขณะที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 1.0-4.0 ทั้งนี้ หากภาพเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2561 ยังสามารถรักษาระดับการเติบโตไว้ได้อย่างต่อเนื่อง กนง. อาจจะมีการพิจารณาทบทวนถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจไทย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของภาพตลาดการเงินของโลกในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
27 เมษายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมรอบสามของปีนี้ ทั้งนี้ เฟดน่าจะยังรอประเมินพัฒนาการเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งพัฒนาการประเด็นความเสี่ยงด้านการค้าที่น่าจะมีความชัดเจนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนที่จะมีการส่งสัญญาณถึงทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป ขณะที่ พัฒนาการของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งอาจจะเปิดโอกาสให้เฟดสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวน่าจะส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกจากไทย และช่วยให้ค่าเงินบาททยอยปรับอ่อนค่าลง ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามคงได้แก่ การประกาศแผนการบริหารหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ที่อาจเป็นปัจจัยกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลให้มีโอกาสปรับสูงขึ้นได้... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบที่สองของปี 2561 ในวันที่ 28 มี.ค. 2561 นี้ เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความเสี่ยงจากนอกประเทศโดยเฉพาะความเสี่ยงในการเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอันอาจกลายเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงกรอบล่างของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อยังคงสนับสนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายอยู่ มองไปข้างหน้า คณะกรรมการนโยบายการเงินไทย คงจะส่งสัญญาณในการตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกระยะ เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังคงอาศัยเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ นอกจากนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงจะเป็นการช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มเติม จากส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ที่ปรับแคบลง ทำให้แรงจูงใจในการดึงดูดเงินทุนต่างต่างชาติมีน้อยลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเงินทุนไหลออกอย่างฉลับพลันของไทยจำกัด เนื่องจากประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของอยู่ในระดับสูง จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดี ดังนั้นโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้ายังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม หากภาพรวมของการขยายตัวของเศรษฐกิจปรับดีขึ้นเข้าใกล้ระดับศักยภาพและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มทรงตัวหรืออ่อนค่าลง ก็จะเปิดโอกาสให้คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2561 เป็นอย่างเร็ว ... อ่านต่อ
16 มีนาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%จากระดับ 1.25-1.50% เป็น 1.50-1.75% ในการประชุมรอบที่สองของปีนี้ ในวันที่ 20-21 มีนาคม 2561 ทั้งนี้ ท่ามกลางปัจจัยที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับสูงกว่าระดับศักยภาพ โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่อัตราว่างงานมีโอกาสที่จะลดลงทำสถิติต่ำที่สุดในรอบกว่า 5 ทศวรรษ คงเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อนแรงเกินไป ขณะที่พัฒนาการของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างทรงตัวบ่งชี้ว่าเฟดยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งจังหวะของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้... อ่านต่อ
26 กุมภาพันธ์ 2561
เฟดน่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมนโยบายการเงินรอบแรกของปี 2561 เพื่อรอดูพัฒนาการของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การผ่านร่างมาตรการปรับลดภาษี ตลอดจน ทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ฯ ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ คงจะมีผลต่อมุมมองการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้ง พัฒนาการของเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า ซึ่งเฟดคงจะรอติดตามพัฒนาการต่างๆ เหล่านี้อีกระยะ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจต่อการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
23 กุมภาพันธ์ 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ม.ค. 2561 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 7.9 หมื่นล้านบาท หรือ 0.72% เป็น 10.98 ล้านล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 4.23% ส่วนใหญ่ลดลงจากการชำระคืนสินเชื่อหมุนเวียนในภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี รวมทั้งสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หลังจากที่มียอดใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังขยายตัวดีต่อเนื่องตามอุปสงค์รถใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 9.8 หมื่นล้านบาท หรือ 0.81% เป็น 12.20 ล้านล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 7.11% โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ทั้งเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากโดยทั่วไปจะยังทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงและยังไม่มีสัญญาณการแข่งขันด้านเงินฝาก ... อ่านต่อ
14 กุมภาพันธ์ 2561
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในภาพรวม ปิดปี 2560 ด้วยอัตราการเติบโตที่ชะลอลงจาก 7.6% (YoY) ในปี 2559 มาที่ 6.0% ขณะที่ สำหรับในปี 2561 นั้น แม้ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคงฟื้นตัวขึ้น ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวและแรงผลักจากการทำตลาดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ จะยังอยู่ในกรอบจำกัดประมาณ 6.0-7.0% เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยกดดัน... อ่านต่อ
7 กุมภาพันธ์ 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมรอบแรกของปี 2561 วันที่ 14 ก.พ. 2561 โดยการฟื้นตัวที่ยังไม่เต็มที่ของเศรษฐกิจในประเทศ ยังสนับสนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายอีกระยะ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมทุกภาคส่วนโดยกระจุกในภาคต่างประเทศเป็นหลัก ขณะภาคเศรษฐกิจในประเทศยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะภาคการลงทุนเอกชนที่อาจต้องรอแรงส่งจากการลงทุนภาครัฐ ทำให้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยนโยบายการเงินผ่อนคลายในการช่วยหนุนให้การลงทุนสามารถที่จะฟื้นตัวอย่างมั่นคง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเริ่มมีสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น นอกจากนี้ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อทั่วไปในประเทศที่ยังทรงตัวในระดับค่อนข้างต่ำ อันสะท้อนถึงกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ กนง.น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง จนกว่าพัฒนาการการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยจะส่งสัญญาณที่ดีขึ้นในวงกว้างกว่านี้... อ่านต่อ
25 มกราคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ณ สิ้นปี 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งตามคาด จากแรงสนับสนุนหลักของความต้องการสินเชื่อในภาคธุรกิจ สินเชื่อภาครัฐ และสินเชื่อรายย่อย รวมทั้งสินเชื่อเอสเอ็มอีที่เริ่มขยายตัวเป็นบวกในไตรมาสนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิในเดือน ธ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 2.2 แสนล้านบาท นับเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิรายเดือนที่มากที่สุดในรอบ 4 ปี ที่ 2.0% MoM และทำให้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2560 ดีดตัวขึ้นมาที่ 4.3% YoY เป็น 11.06 ล้านล้านบาท... อ่านต่อ
4 มกราคม 2561
เงินบาทแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี “เข้าใกล้” ระดับ 32.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 3 ปี สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังคงไร้ปัจจัยสนับสนุนที่มีนัยสำคัญ แม้ว่าในปีนี้จะเป็นปีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นท่าทีที่แตกต่างไปจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยซึ่งมีโอกาสทรงตัวที่ระดับ 1.50% ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปี 2561 ... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2558
7 ธันวาคม 2558
9 พฤศจิกายน 2558
26 ตุลาคม 2558
12 ตุลาคม 2558
14 กันยายน 2558
3 สิงหาคม 2558
13 กรกฎาคม 2558
9 มีนาคม 2558
15 ธันวาคม 2557
15 กันยายน 2557
8 กันยายน 2557
1 กันยายน 2557
7 กรกฎาคม 2557
25 พฤศจิกายน 2556
15 ตุลาคม 2555
2 กรกฎาคม 2555
12 กรกฎาคม 2553