16 ตุลาคม 2567
สถาบันการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
11 ตุลาคม 2567
14 สิงหาคม 2567
7 มิถุนายน 2567
2 กุมภาพันธ์ 2567
27 พฤศจิกายน 2566
25 กันยายน 2566
27 กรกฎาคม 2566
23 พฤษภาคม 2566
25 มีนาคม 2566
24 มกราคม 2566
คาดกนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องจากปีก่อนอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.50% ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง... อ่านต่อ
28 พฤศจิกายน 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการประชุมกนง. ครั้งสุดท้ายของปีนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.25% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ... อ่านต่อ
27 กันยายน 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.00% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กนง. คงจะยังทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวและยังคงเปราะบางจากหนี้ในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง โดย กนง. คงหลีกเลี่ยงที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแรงเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่กนง. คงมีมุมมองว่าการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้คงจะช่วยพยุงให้ค่าเงินพลิกกลับมาแข็งค่าได้บ้าง อีกทั้ง กนง. คงมีมุมมองว่าเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยนคงเป็นประเด็นระยะสั้น และยังพอมีเวลาที่จะติดตามสถานการณ์และเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินได้ในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
2 มิถุนายน 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อย่างไรก็ดี กนง. คงเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในระยะข้างหน้า ซึ่งยังมองความเป็นไปได้ที่กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 4/ 2565 เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงทยอยฟื้นตัว ในขณะที่ต้องเผชิญปัจจัยกดดันจากเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้กนง.มีแนวโน้มที่จะยังคงให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก และพิจารณาคงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 ในการประชุมที่จะถึงนี้ ในขณะที่ แม้ว่ากนง. จะเผชิญแรงกดดันมากขึ้นจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาค อย่างไรก็ดี ยังไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่กนง. จะต้องรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ ท่ามกลางเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง... อ่านต่อ
29 มีนาคม 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้นจากวิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน อย่างไรก็ดี กนง. คงเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ วิกฤติรัสเซีย-ยูเครนได้ส่งผลให้ราคาพลังงาน รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะยิ่งไปเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของไทย และไปบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ วิกฤติรัสเซีย-ยูเครนยังมีผลต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวของไทยและการส่งออกของไทยที่จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าเป็นสำคัญ ดังนั้น ท่ามกลางความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น คาดว่ากนง. จะยังพิจารณาคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ในการประชุมที่จะถึงนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยกนง. คงจะให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักแม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน... อ่านต่อ
7 กุมภาพันธ์ 2565
5 พฤศจิกายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 10 พ.ย. นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% หลังจากเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยบวกจากการเปิดประเทศและการคลายล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดซึ่งจะส่งผลดีต่อการจ้างงาน โดยแม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในปีนี้อาจยังคงมีจำกัด แต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็มีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระยะข้างหน้า ... อ่านต่อ
23 กันยายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 ก.ย. นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเริ่มลดลง ทั้งนี้ จากการประชุมกนง. ครั้งที่แล้วในเดือนส.ค. ที่ผ่านมา กนง. มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ที่ 4 ต่อ 2 เสียง โดย 2 เสียงลงมติเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในการประชุมกนง. ครั้งนี้ แรงกดดันให้กนง. พิจารณาลดดอกเบี้ยนโยบายนั้นจะมีน้อยลง เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศได้ผ่านจุดสูงสุดและเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเริ่มลดลง ดังนั้น ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้จะมีแถลงประมาณการเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่ากนง. น่าจะยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่ราว 0.7% สอดคล้องกับคาดการณ์ในรายงาน กนง. เดือนส.ค. ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
30 กรกฎาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19... อ่านต่อ
21 มิถุนายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 23 มิ.ย. นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงมีจำกัด เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงอย่างมากจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนที่ยังคงไม่แน่นอนแม้ว่าการปูพรมฉีดวัคซีนจะทำให้อัตราที่เร่งขึ้นถึง 2-3 เท่าตัวจากเดือนก่อนๆ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนอันเป็นผลกระทบจากสถานการณ์โควิด มาตรการภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ ขณะที่มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลายยังคงมีความจำเป็นในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางความเสี่ยงที่ยังอยู่ในระดับสูง สำหรับแรงกดดันจากเงินเฟ้อคงจะยังมีจำกัด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อไทยเร่งตัวขึ้นในเดือนเม.ย.และพ.ค.ถึง 3.4% และ 2.4% YoY ตามลำดับ โดยถูกขับเคลื่อนจากราคาพลังงาน และราคาอาหารสดบางชนิด ประกอบกับฐานที่ต่ำเป็นหลัก ทั้งนี้ เมื่อมองไปข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นบวกแต่คาดว่าจะทยอยปรับลดลงในครึ่งหลังของปีนี้สอดคล้องกับทิศทางอัตราเงินเฟ้อโลก ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้จะมีแถลงประมาณการเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่ากนง. น่าจะยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่ราว 1.5-2.0% สอดคล้องกับคาดการณ์ในรายงาน กนง. เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมองว่าหากในปีนี้สามารถฉีดวัคซีนได้ 64.6 ล้านโดสตามแผนการเดิม เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 1.5% แต่หากสามารถเร่งฉีดวัคซีนได้ 100 ล้านโดส เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.0%... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 24 มีนาคมนี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% หลังภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อดูแลผลกระทบจากโควิดระลอกใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสองในประเทศไทยเริ่มบรรเทาลง ขณะที่วัคซีนโควิด-19 ได้เข้ามาถึงไทยแล้วจำนวน 2 ล็อต และจะทยอยเข้ามาเพิ่มเติมตามแผนการจัดหาวัคซีนของไทย ในขณะที่ ทางการคงติดตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังมีมาตรการทางการคลังที่ออกมาเพิ่มเติม เช่น โครงการคนละครึ่งเฟส 2 โครงการเราชนะ และโครงการเรารักกัน ตลอดจนมาตรการทางการเงินที่ออกมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ การลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ การลดค่างวดผ่อนชำระ รวมถึงล่าสุดการปรับเกณฑ์ลดอัตราดอกเบี้ยผิดสัญญาเงินกู้-ผิดนัดชำระหนี้ ... อ่านต่อ
29 มกราคม 2564
การประชุม กนง. รอบแรกของปีในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตามเดิม เนื่องจาก ภาครัฐเพิ่งมีการออกมาตรการเพิ่มเติมทั้งในส่วนของนโยบายการเงินที่มุ่งเน้นช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยทั้งขยายเวลาการพักชำระหนี้ออกไปถึงเดือนมิ.ย. 64 การลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ และการลดค่างวดผ่อนชำระลง ในขณะที่มาตรการการคลังได้มีมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ได้รับผลกระทบทั้งโครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง รวมถึงมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ โดยเม็ดเงินที่ใช้ในมาตรการการคลังในรอบนี้มีขนาด 1.4% ของ GDP ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดกระลอกใหม่ได้พอสมควร นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่ชะลอการแข็งค่ายังช่วยลดความกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย... อ่านต่อ
17 ธันวาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในการประชุม กนง. วันที่ 23 ธันวาคมนี้ คณะกรรมการฯ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามเดิม เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยยังมีสัญญาณทยอยฟื้นตัว และน่าจะได้รับอานิสงส์ต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและประคองกำลังซื้อของภาครัฐ ... อ่านต่อ
16 พฤศจิกายน 2563
22 กันยายน 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุม กนง. ในวันที่ 23 กันยายนนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อรักษาความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ไว้ใช้ในยามจำเป็น โดยมองว่าการปรับลดดอกเบี้ยเข้าใกล้ศูนย์ยังไม่มีความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะที่การปรับลดดอกเบี้ยอาจไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เผชิญอยู่ได้ตรงจุดเท่าใดนัก ทั้งนี้ คาดว่ากนง. อาจจะรักษาดอกเบี้ยในระดับนี้ไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้ หากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ล่าสุดส่งสัญญาณว่าจะคงดอกเบี้ยในระดับใกล้ศูนย์ไปอย่างน้อยจนถึงปี 2566 หลังจากมีมติปรับยุทธศาสตร์นโยบายการเงินและเป้าหมายในระยะยาว โดยปรับเปลี่ยนมาใช้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย (Average Inflation Targeting) แทนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเดิมที่คงที่ ... อ่านต่อ
4 สิงหาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุม กนง. ในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อรอดูภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 2/2563 ที่คาดว่าจะหดตัวลึกสุดในรอบปี ที่จะเผยแพร่ในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ ซึ่งหากตัวเลขหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ก็จะเพิ่มแรงกดดันให้ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อีกทั้ง คาดว่า กนง. คงจะรอติดตามประสิทธิผลของมาตรการการเงินและการคลังที่ได้ออกมาก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ปัจจุบันถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทีมเศรษฐกิจใหม่ของทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง ซึ่งตลาดคาดหวังว่าจะมีการออกมาตรการทางการเงินและการคลังชุดใหม่ที่สอดประสานกันในระยะข้างหน้า ... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุม กนง. ในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อรอดูประสิทธิผลของมาตรการการเงินการคลังที่ได้ออกไปก่อนหน้านี้ ทั้งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มาตรการช่วยเหลือทางการเงิน เช่น การพักชำระหนี้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น รวมถึงมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ต่อการช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วยประคับประคองภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนให้ผ่านวิกฤติครั้งนี้... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2563
ผลการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา ถูกส่งผ่านมายังอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์อีกครั้ง โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR/MRR/MOR ลงอย่างพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับลดลงดังกล่าวมีผลช่วยลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประกอบการและประชาชน ทั้งผู้ขอสินเชื่อใหม่และลูกหนี้เดิมที่ยังสามารถชำระคืนหนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งผลของการลดดอกเบี้ยดังกล่าวอาจเป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันต่อรายได้ดอกเบี้ย และ NIM ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า NIM ในไตรมาสที่ 2/2563 จะชะลอลงมาอยู่ในกรอบ 2.15-2.35% จาก 3.09% ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา... อ่านต่อ
18 พฤษภาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุม กนง. ในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% จากระดับปัจจุบันที่ 0.75% มาอยู่ที่ 0.50% ตามภาวะเศรษฐกิจที่เผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และคาดว่าอาจหดตัวราว 5.0% ในปีนี้ ดังนั้น ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน กนง. จึงน่าจะให้น้ำหนักกับเป้าหมายด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องอื่นๆ ซึ่งนโยบายเหล่านี้น่าจะช่วยลดภาระทางการเงินของธุรกิจให้ประคองตัวผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้ นอกจากนี้ จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยที่ติดลบ 2 เดือนติดต่อกันในเดือนมี.ค. และเม.ย. ท่ามกลางแรงกดดันจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแรงลงจากรายได้ครัวเรือนที่ลดลง และภาวะว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มที่จะยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้แนวโน้มเงินเฟ้อของไทยในปี 2563 คาดว่าจะหดตัวที่ -0.5% ซึ่งก็จะเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ กนง. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. รวมถึงอาจจะมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอื่นๆ เพิ่มเติมในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
20 มีนาคม 2563
เศรษฐกิจไทยปี 2563 เผชิญกับความเสี่ยงเชิงลบที่สูงมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งยังส่อเค้าความรุนแรงและกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นทั่วโลก โดยแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในจีนจะเริ่มชะลอตัว แต่จำนวนผู้ติดเชื้อนอกจีนกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทย เผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะทรุดตัวลงอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะหดตัวทางเทคนิคจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 2 ไตรมาสติดต่อกัน อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยืดเยื้อไปเกินครึ่งปีแรก ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยปี 2563 อาจเติบโตในอัตราติดลบก็จะมีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ... อ่านต่อ
17 ธันวาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยน่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.25% ในการประชุมนโยบายการเงินรอบสุดท้ายของปี 2562 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 เพื่อรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่าภายใต้บริบทที่อัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่อง ยังบ่งชี้ว่ายังมีช่องว่างเพียงพอสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติม อันหมายความว่า ข้อมูลเศรษฐกิจไทยที่จะทยอยรายงานออกมาในช่วงข้างหน้า โดยเฉพาะ เครื่องชี้จีดีพี เงินเฟ้อและตัวเลขการส่งออก คงจะมีน้ำหนักต่อการประเมินสถานการณ์และการตัดสินใจของ กนง. ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2563... อ่านต่อ
1 พฤศจิกายน 2562
ท่ามกลางสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวทั้งภาคการส่งออก การใช้จ่ายในประเทศ รวมทั้ง แนวโน้มเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำสะท้อนความเปราะบางทางเศรษฐกิจของไทย แม้ว่าภาครัฐจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แต่มาตรการดังกล่าวเป็นการประคับประคองสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ให้ไถลลงไปมากกว่านี้ ซึ่งมองไปข้างหน้า ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับสูงทั้งประเด็นด้านสงครามการค้า ตลอดจน Brexit ที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แม้ว่าประเด็นดังกล่าวจะเริ่มมีสัญญาณบวกบ้างก็ตาม ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากระดับ 1.50% เหลือ 1.25% ในการประชุม กนง. วันที่ 6 พฤศจิกายนนี้... อ่านต่อ
19 กันยายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยน่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 6 ของปี 2562 ในวันที่ 25 กันยายน 2562 โดยน้ำหนักในการตัดสินในเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินคงขึ้นอยู่กับน้ำหนักจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่าทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2562
คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5:2 เสียงให้ “ลด” อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี มาที่ 1.50% จาก 1.75% ในการประชุมวันที่ 7 ส.ค. 2562 เนื่องจากประเมินว่า ภาคการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณชะลอตัว ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ... อ่านต่อ
5 สิงหาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยน่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุมครั้งที่ 5 ของปี 2562 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2562 โดยประเด็นเสถียรภาพระยะยาว ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่คณะกรรมการนโยบายการเงินให้น้ำหนักในช่วงนี้ ทั้งนี้คณะกรรมการนโยบายการเงินคงจะเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นในการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินภายใต้ปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงเชิงเสถียรภาพการเงินจากการเร่งตัวขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่อาจเป็นปัจจัยกดดันศักยภาพของการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศใช้มาตรการดูแลความเสี่ยงเฉพาะทาง (Macro และ Micro prudential) อาทิ การกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) ตลอดจน มาตรฐานดูแลคุณภาพสินเชื่อ อาทิ การจำกัดอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Service Coverage Ratio: DSCR) ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ในสิ้นปีนี้ ต้องอาศัยระยะเวลากว่าจะสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ในการปรับลดปัจจัยเสี่ยงเชิงเสถียรภาพ... อ่านต่อ
20 มิถุนายน 2562
คณะกรรมการโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 4 ของปี 2562 ในวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ทั้งนี้ ประเด็นเสถียรภาพของระบบการเงินเป็นประเด็นที่คณะกรรมการนโยบายการเงินน่าจะยังคงให้น้ำหนักในการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กนง. น่าจะยังคงส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ในช่วงที่เหลือของปีนี้... อ่านต่อ
30 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยน่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุมครั้งที่ 3 ของปี 2562 เพื่อรอประเมินประเมินพัฒนาการเศรษฐกิจไทย รวมทั้ง ผลของดำเนินนโยบายการเงินแบบเฉพาะเจาะจง ทั้ง Macro และ Micro Prudential อาทิ การกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio)ตลอดจน มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ (Credit underwriting standards) ต่อการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในช่วงกลางปีของรัฐบาล น่าจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยลงบางส่วน... อ่านต่อ
18 มีนาคม 2562
คณะกรรมการโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 2 ของปี 2562 ในวันที่ 20 มีนาคม 2562 โดยจะยังคงส่งสัญญาณพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ (data dependent) ซึ่งทิศทางเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความไม่แน่นอนจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำ ขณะที่ประเด็นความเสี่ยงเชิงเสถียรภาพ น่าจะถูกจัดการโดยเครื่องมือเฉพาะจุด (Macro Prudential) ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ คณะกรรมการนโยบายการเงินมีโอกาสที่จะพิจารณาคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% จนถึงครึ่งแรกของปีนี้เป็นอย่างน้อย... อ่านต่อ
20 ธันวาคม 2561
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จากระดับร้อยละ 1.50 เป็นระดับร้อยละ 1.75 อันเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี เพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ในอนาคต ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ ไม่น่าจะส่งผลต่อภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 อย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางระดับสภาพคล่องในตลาดการเงินไทยที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่มองว่า กนง. น่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระยะข้างหน้าอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้คงเป็นไปในลักษณะที่ไม่ต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินคงจะประเมินความพร้อมของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ก่อนที่จะมีการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ... อ่านต่อ
9 พฤศจิกายน 2561
กนง.น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50%ในการประชุม ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 และต่อเนื่องไปถึงช่วงปลายปี 2561 เป็นอย่างน้อย หลังจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศเริ่มส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศของไทยเริ่มมีสัญญาณชะลอลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงด้านเสถียรภาพของไทยจากการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเป็นระยะเวลานานยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล อันส่งผลให้ กนง. ยังสามารถดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในปีหน้า ที่อาจจะมีน้ำหนักต่อการพิจารณาจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย คงมาจาก 2 ปัจจัยหลัก กล่าวคือ พัฒนาการของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึง ผลกระทบต่อความผันผวนของตลาดการเงินในประเทศตลาดเกิดขึ้น จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของเฟด ตลอดจน ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่คงจะมีความแตกต่างกันมากขึ้น ... อ่านต่อ
14 กันยายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมครั้งนี้แม้ว่าพัฒนาการของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะสนับสนุนถึงทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และปัจจัยความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดเกิดใหม่ ทำให้ความจำเป็นในการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ยังมีไม่มาก มองไปข้างหน้า จุดสนใจของตลาดคงอยู่ที่จังหวะเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะทำให้เงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อาจทวีความแรงมากขึ้น ส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค แต่จากปัจจัยเสถียรภาพภายนอกประเทศที่ยังแข็งแกร่งของไทย ทำให้ความเสี่ยงที่เงินทุนไหลออกอย่างรวดเร็วยังจำกัด ประกอบกับ ทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังมีไม่มาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า กนง. น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ สำหรับประเด็นผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า คงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ กนง. ยังคงระมัดระวังในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน เพื่อรอติดตามพัฒนาการของปัจจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
6 สิงหาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ "คง" อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบที่ห้าของปี 2561 ในวันที่ 8 ส.ค. 2561 นี้เพื่อช่วยให้การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจในประเทศมีการกระจายตัวมากขึ้น ตลอดจน ช่วยส่งเสริมให้พัฒนาการของเงินเฟ้อไทยขยับขึ้นสู่เป้าหมายอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาทและการไหลออกของเงินทุนยังไม่น่าจะนำมาสู่ประเด็นความเสี่ยงเชิงเสถียรภาพ มองไปในระยะข้างหน้า สภาพคล่องของตลาดการเงินโลกที่ปรับลดลง ส่งผลให้ทิศทางของต้นทุนการเงินอยู่ในช่วงขาขึ้น ขณะที่สถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อาจเพิ่มความท้าทายในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางในอาเซียน... อ่านต่อ
18 มิถุนายน 2561
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ต่อปี ในการประชุม กนง. ในวันที่ 20 มิ.ย. 2561 นี้ แต่จุดสนใจของการประชุมในรอบนี้คงอยู่ที่การประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยสภาวะเศรษฐกิจไทยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในภาคการบริโภคและการลงทุน จากตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1/2561 ที่สะท้อนถึงการขยายตัวเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบ GDP ในทุกองค์ประกอบ ในขณะที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 1.0-4.0 ทั้งนี้ หากภาพเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2561 ยังสามารถรักษาระดับการเติบโตไว้ได้อย่างต่อเนื่อง กนง. อาจจะมีการพิจารณาทบทวนถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจไทย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของภาพตลาดการเงินของโลกในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบที่สามของปี 2561 ในวันที่ 16 พ.ค. 2561 นี้ เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการขยายตัวเศรษฐกิจไทย โดยการใช้จ่ายในประเทศยังพื้นตัวได้ไม่เต็มที่ แรงหนุนจากนโยบายการคลังที่จำกัด และแรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับต่ำบ่งชี้ถึงความเหมาะสมของการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอยู่ สำหรับประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยที่เริ่มมีสัญญาณทยอยปรับขึ้นในทุกช่วงอายุ จากแรงกดดันของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการและประชาชน อาจจะต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการเงินที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า ขณะที่ทิศทางของการดำเนินนโยบายการเงินของไทยน่าจะมีสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นในช่วงหลังของปี... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบที่สองของปี 2561 ในวันที่ 28 มี.ค. 2561 นี้ เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความเสี่ยงจากนอกประเทศโดยเฉพาะความเสี่ยงในการเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอันอาจกลายเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงกรอบล่างของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อยังคงสนับสนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายอยู่ มองไปข้างหน้า คณะกรรมการนโยบายการเงินไทย คงจะส่งสัญญาณในการตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกระยะ เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังคงอาศัยเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ นอกจากนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงจะเป็นการช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มเติม จากส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ที่ปรับแคบลง ทำให้แรงจูงใจในการดึงดูดเงินทุนต่างต่างชาติมีน้อยลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเงินทุนไหลออกอย่างฉลับพลันของไทยจำกัด เนื่องจากประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของอยู่ในระดับสูง จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดี ดังนั้นโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้ายังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม หากภาพรวมของการขยายตัวของเศรษฐกิจปรับดีขึ้นเข้าใกล้ระดับศักยภาพและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มทรงตัวหรืออ่อนค่าลง ก็จะเปิดโอกาสให้คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2561 เป็นอย่างเร็ว ... อ่านต่อ
7 กุมภาพันธ์ 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมรอบแรกของปี 2561 วันที่ 14 ก.พ. 2561 โดยการฟื้นตัวที่ยังไม่เต็มที่ของเศรษฐกิจในประเทศ ยังสนับสนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายอีกระยะ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมทุกภาคส่วนโดยกระจุกในภาคต่างประเทศเป็นหลัก ขณะภาคเศรษฐกิจในประเทศยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะภาคการลงทุนเอกชนที่อาจต้องรอแรงส่งจากการลงทุนภาครัฐ ทำให้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยนโยบายการเงินผ่อนคลายในการช่วยหนุนให้การลงทุนสามารถที่จะฟื้นตัวอย่างมั่นคง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเริ่มมีสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น นอกจากนี้ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อทั่วไปในประเทศที่ยังทรงตัวในระดับค่อนข้างต่ำ อันสะท้อนถึงกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ กนง.น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง จนกว่าพัฒนาการการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยจะส่งสัญญาณที่ดีขึ้นในวงกว้างกว่านี้... อ่านต่อ
25 พฤศจิกายน 2556
15 ตุลาคม 2555