8 พฤศจิกายน 2567
เศรษฐกิจต่างประเทศ
... อ่านต่อ
FileSize KB
1 พฤศจิกายน 2567
28 ตุลาคม 2567
14 มีนาคม 2566
ส่องมาตรการรับมือปัญหาแบงก์ในสหรัฐฯ ... ทำไมถึงไม่เรียกว่าเป็นการ Bailout แบงก์... อ่านต่อ
13 มีนาคม 2566
เป็นที่แน่นอนว่า ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ รอบนี้ไม่มีสถานการณ์ Too Big to Fail เกิดขึ้น เพราะมีการปิดตัวลงจริงของสถาบันการเงินที่เผชิญปัญหา ขณะหน่วยงานของทางการสหรัฐฯ และธนาคารกลางสหรัฐฯ เร่งออกมาตรการมุ่งเป้าดูแลในส่วนของผู้ฝากเงินและสถาบันการเงินอื่นๆ ที่ยังดำเนินการอยู่เพื่อสกัดไม่ให้ผลกระทบขยายวงจนกลายเป็นชนวนให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ โดยในส่วนของมาตรการดูแลผู้ฝากเงินนั้น ได้มีการคลายข้อจำกัดด้านการคุ้มครอง โดยทางการสหรัฐฯ มองว่า ปัญหาของ Silicon Valley Bank และ Signature Bank สามารถเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบได้ เลยให้ผู้ฝากเงินทุกรายสามารถเข้าถึงเงินฝากของตัวเองได้นับตั้งแต่วันจันทร์ 13 มี.ค. 2566 ขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ผ่อนปรนเกณฑ์เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน ได้แก่ 1) การตั้ง Bank Term Funding Program (BTFP) เพื่อทำการปล่อยเงินกู้แบบมีหลักประกันอายุไม่เกิน 1 ปีให้กับธนาคาร และสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เผชิญปัญหาด้านสภาพคล่อง และ/หรือจากเงินฝากไหลออก และ 2) อาจจะมีการปรับลดเงื่อนไขของ Discount Window ซึ่งเป็นช่องทางการกู้เงินของสถาบันการเงินจากเฟด ... อ่านต่อ
10 พฤศจิกายน 2565
ผลการเลือกตั้งกลางเทอมในเบื้องต้น พรรครีพับลิกันมีแนวโน้มสูงที่จะครองสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่วุฒิสภายังมีคะแนนสูสี ทำให้การผ่านร่างกฎหมายสำคัญหลังจากนี้ไม่ง่าย รัฐบาลเผชิญข้อจำกัดในการขยายเพดานหนี้ซึ่งอาจต้องแลกมาด้วยปรับลดการใช้จ่ายจำนวนมาก ขณะที่นโยบายประชานิยมที่จะช่วยเพิ่มคะแนนเสียงสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยถัดไปจะกลายมาเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองในช่วง 2 ปีข้างหน้า อาทิ การผ่านกฎหมายทำแท้งเสรี นโยบายการปรับเพิ่ม/ลดภาษี การถกเถียงในเรื่องสิทธิครอบครองอาวุธปืน แต่นโยบายกดดันจีนยังคงเดินหน้าต่อไปเหมือนเดิม... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2564
ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเฟดอาจพิจารณาปรับแผนลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นกว่าเดิม และมีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่เคยส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปีที่ 6.8% YoY ซึ่งท่ามกลางปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานและปัญหาขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ ที่ไม่น่าจะคลี่คลายลงในระยะเวลาอันใกล้ ทำให้มองว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะข้างหน้า ในขณะที่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ก็มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ คาดว่าเฟดคงเผชิญแรงกดดันให้ถอนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินเป็นแบบตึงตัวเร็วกว่าขึ้นกว่าเดิม โดยเฟดอาจพิจารณาปรับแผนลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นเพื่อให้วงเงิน QE ทั้งหมดสิ้นสุดลงเร็วกว่าเดือนมิ.ย. 2566 ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า อีกทั้งเฟดอาจเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่เคยส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ... อ่านต่อ
26 เมษายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% สำหรับการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 27-28 เม.ย. นี้ โดยมองว่า แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ดี หลังจากมีการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติมากขึ้น ประกอบกับมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี คาดว่าตลาดแรงงานจะใช้เวลายาวนานในการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ตามเป้าหมายของเฟด เนื่องจากโดยรวมยังคงมีคนว่างงานที่ขอสวัสดิการว่างงานมากกว่า 17.4 ล้านคน ขณะที่ แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ จะบรรเทาลง แต่ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่ โดยจะเห็นว่าหลายประเทศยังคงเผชิญการแพร่ระบาดระลอกใหม่ อีกทั้งมีการเกิดไวรัสกลายพันธุ์ในหลายประเทศ ดังนั้น ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังอ่อนแรง ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ยังมีอยู่ คาดว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงนโยบายแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2563
สถานการณ์ล่าสุดที่สหรัฐฯ ยุติสิทธิพิเศษกับฮ่องกงเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 เป็นอีกชนวนกระตุ้นสงครามการค้ากับจีนให้กลับมาร้อนแรงในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปีนี้สหรัฐฯ ยังคงนำประเด็นอ่อนไหวของจีน มาใช้เป็นเครื่องมือกดดันจีนผ่านความตกลงทางการค้าเฟส 1 (Phase 1) ประกอบกับเงื่อนเวลาการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามายิ่งทำให้ทุกเรื่องผูกโยงกันอย่างซับซ้อน ทำให้สงครามการค้าครั้งนี้คงจะยืดเยื้อและไม่น่าจะเกิดความตกลงในเฟส 2 (Phase 2) ได้ ถึงแม้การเลือกตั้งสหรัฐฯ จะได้บทสรุปเป็นผู้นำคนใหม่ แต่การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในด้านภูมิรัฐศาสตร์จะคงมีอยู่ต่อไป และคงไม่ทำให้สงครามการค้าสงบได้อย่างมีนัยสำคัญ ... อ่านต่อ
6 มกราคม 2563
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านได้ยกระดับสูงขึ้น หลังการลอบสังหารนายพลกัสเซ็ม โซไลมานี ของอิหร่านในวันที่ 3 ม.ค. 2563 โดยสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ยังขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และระยะเวลาที่ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง โดยการประเมินในเบื้องต้น หากราคาน้ำมันดิบดูไบยืนที่ระดับ 80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล เป็นเวลา 6 เดือน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 0.75% จากกรณีฐาน กล่าวคือ เงินเฟ้อทั่วไปจะขยับขึ้นมาเป็น 1.15%-1.65% ในขณะที่จะมีผลต่อ GDP ราว -0.08% ... อ่านต่อ
28 มิถุนายน 2562
การประชุม G20 ในครั้งนี้ ถือเป็นการดึงให้สหรัฐฯ และจีนกลับมาสู่เวทีเจรจาเพื่อหาทางออกของสงครามการค้าระหว่างกัน อย่างไรก็ดี ทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างก็มีจุดยืนที่ต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศและฐานเสียงที่ส่งผลต่อสถานะการเป็นผู้นำประเทศ ขณะที่ ข้อเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายต้องการกลับเป็นประเด็นที่อ่อนไหวของอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ยากที่การประชุม G20 จะนำไปสู่ข้อสรุปร่วมกันระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ซึ่งในท้ายที่สุดสหรัฐฯ อาจเดินหน้าเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และผลกระทบจากการเก็บภาษีครั้งนี้มากกว่าครั้งไหนๆ ... อ่านต่อ
14 มิถุนายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 18-19 มิถุนายน 2562 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะคงมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใกล้เคียงกับประมาณรอบก่อน (มี.ค. 62) ในขณะที่เฟดมีโอกาสปรับมุมมองเงินเฟ้อลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและอาจส่งสัญญาณแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น ในส่วนของมุมมองคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (dot-plot) ประมาณการอัตราดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่น่าจะส่งสัญญาณไปที่การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอาจจะมีมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งสัญญาณดังกล่าวของเฟดคงจะเป็นการเปิดช่องว่างในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า หากพัฒนาความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มเงินเฟ้อที่เฟดคาดการณ์ปรับเพิ่มสูงขึ้น ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงไม่ได้บทสรุปที่พึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่าย อีกทั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า จะเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นร้อยละ 25 จากที่ร้อยละ 10 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคมนี้ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อภาพทางการค้าโลก ซึ่งการขึ้นภาษีครั้งนี้สะท้อนแรงกดดันที่สหรัฐฯ ต้องการเร่งให้จีนเจรจาตามแนวทางที่คาดหมายไว้ เพื่อนำไปสู่บทสรุปที่พึงใจแก่ทั้งสองฝ่ายจนสามารถยุติสงครามการค้านี้ได้ภายในสิ้นปี 2562... อ่านต่อ
29 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 30 เมษายน-1 พฤษภาคม 2562 ทั้งนี้ การส่งสัญญาณผ่อนปรนในการดำเนินโยบายการเงินของเฟด จะช่วยประคองการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ แม้ตลาดมองว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดอาจจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในช่วงปลายปี 2562 แต่เฟดคงไม่น่าจะส่งสัญญาณถึงทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าวในระยะอันใกล้ เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอาจถูกตลาดตีความถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่วัฎจักรชะลอตัวในระยะข้างหน้าได้... อ่านต่อ
7 พฤศจิกายน 2561
จากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ที่พรรครีพับลิกันสูญเสียคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรคเดโมแครต ในขณะที่ยังสามารถรักษาคะแนนเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะมีนัยต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป โดยเฉพาะการผ่านร่างกฎหมายที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะทำได้ยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่านร่าง พรบ. งบประมาณ รวมทั้งความเสี่ยงในเรื่องเพดานหนี้สาธารณะที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งอาจส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจนมีผลต่อจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในขณะที่นโยบายการค้ากับจีนคงยังดำเนินต่อไปได้ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีที่เคยประกาศมาก่อนหน้านี้ และจะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกให้ต้องเผชิญความยากลำบากในปี 2562 ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ไทยอาจสูญเสียประโยชน์ทางการค้าสุทธิคิดเป็นมูลค่า 3,100-4,500 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2562 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.6-0.9 ของ GDP ไทย ... อ่านต่อ
10 มีนาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 0.50-0.75% สู่ระดับ 0.75-1.00% ในการประชุมรอบสองของปี 2560 เนื่องจาก... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2559
26 มกราคม 2558
18 กันยายน 2557
28 มกราคม 2557
13 กันยายน 2556
20 มิถุนายน 2556
22 ตุลาคม 2555
14 กันยายน 2555
9 มีนาคม 2555
20 มกราคม 2555
5 กันยายน 2554
2 มิถุนายน 2553
21 พฤศจิกายน 2551
9 เมษายน 2551
12 มีนาคม 2551