14 มีนาคม 2567
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
... อ่านต่อ
FileSize KB
2 สิงหาคม 2566
23 มิถุนายน 2566
12 พฤษภาคม 2566
30 ธันวาคม 2564
ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 ยังเป็นปีแห่งการประคับประคองธุรกิจ แม้ตลาดที่อยู่อาศัยจะมีปัจจัยหนุนจากการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยและค่าธรรมเนียมการจดจำนองที่อยู่อาศัยในอัตราจัดเก็บที่ 0.01% สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 65 ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกของตลาดที่อยู่อาศัย หลังจากที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนคลายมาตรการ LTV ไปเมื่อเดือน ต.ค. 64 ซึ่งน่าจะทำให้กิจกรรมการซื้อขายปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2564 ... อ่านต่อ
5 กรกฎาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า มาตรการกึ่งล็อกดาวน์ที่ให้มีการหยุดการก่อสร้าง 1 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน จนถึง 28 กรกฎาคม 2564) น่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีสัดส่วน 51% ของมูลค่าก่อสร้างทั้งประเทศ และเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นหลัก ทั้งนี้ แม้ว่าภาครัฐจะมีการผ่อนคลายกลุ่มงานก่อสร้างบางประเภท แต่ผลจากการระบาดของโควิดที่ยังไม่คลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังสูง ก็น่าจะยังคงกดดันการลงทุนก่อสร้างในปีนี้และคาดว่ามูลค่าการลงทุนก่อสร้างทั้งปี 2564 อาจจะหดตัวที่ -3.8% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ขยายตัว 1.2%... อ่านต่อ
25 มีนาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในปี 2564 ยอดขายร้านค้าวัสดุก่อสร้างอาจฟื้นตัวเล็กน้อยจากปีก่อนประมาณ 0.2%-1.9% หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 8.03-8.17 แสนล้านบาท โดยมีแรงหนุนจากความต่อเนื่องของการลงทุนก่อสร้างของภาครัฐที่อาจเติบโต 3.3%-4.7% ซึ่งชดเชยการชะลอการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวประมาณ -6% ถึง -3.8% ทั้งนี้ ประเภทร้านค้าวัสดุก่อสร้างที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่ากลุ่มอื่น คือ กลุ่มค้าส่งและตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิต ที่มีฐานลูกค้าเป้าหมายสอดคล้องไปกับงานภาครัฐและภาคเอกชนรายใหญ่ รวมทั้งกลุ่มร้านค้าวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ (Modern Trade) ที่พยายามหาโอกาสสร้างยอดขายผ่านช่องหน้าร้านสาขาและช่องทางออนไลน์... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2563
สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างต้องปรับตัวในการทำงาน และเกิดต้นทุนฉับพลันในไซต์ก่อสร้าง ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเชิงป้องกันเพื่อลดการแพร่ของโรคระบาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า มาตรการป้องกันโรคระบาดจะส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างของผู้รับเหมาน่าจะเพิ่มขึ้น 0.2-0.5% ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค หรือ ตั้งแต่มีนาคม 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการใช้วัคซีนอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีต้นทุนจากการเพิ่มรอบการทำงานของคนงานเพื่อลดความหนาแน่นในไซต์ก่อสร้างและค่าแรงที่สูงขึ้นจากสภาวะการขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง ทำให้อาจมีต้นทุนก่อสร้างที่สูงขึ้นอีก 0.83% โดยรวมในปี 2563 ต้นทุนรวมที่อาจจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.03-1.33% ต่อโครงการ และจากสถานการณ์ความผันผวนของราคาเหล็กที่เป็นผลมาจากภาวะขาดแคลนแร่เหล็ก ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ต้นทุนก่อสร้างมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีก 1.4-1.9%... อ่านต่อ
30 ตุลาคม 2563
อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในอนาคตเนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงานก่อสร้างในช่วงหลัง เทคโนโลยีที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาข้างต้นได้คือ การก่อสร้างแบบใช้วัสดุสำเร็จรูปยกมาติดตั้ง (Pre-fabrication) โดยวิธีการก่อสร้างนี้น่าจะทำให้ต้นทุนรวมของโครงการก่อสร้างลดลงโดยเฉลี่ย 15% ต่อโครงการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าสัดส่วนงานก่อสร้างที่จะใช้งานก่อสร้างรูปแบบ Precast ในกลุ่มอาคารที่พักอาศัยแนวราบของเอกชนน่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% จนถึงปี 2568 ซึ่งเป็นผลมาจากแรงงานก่อสร้างที่หาได้ยากขึ้นและมีค่าแรงที่สูงขึ้นเป็นหลักและในอนาคตอาจจะเห็นสัดส่วนการใช้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการบ้านผู้สูงอายุ ที่ Pre-cast มีคุณสมบัติที่เหมาะสมหลายประการ... อ่านต่อ
5 สิงหาคม 2562
ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลช่วงที่เหลือของปี 2562 ยังมีความท้าทายรอบด้านรออยู่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการน่าจะมีความระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่รวมถึงปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดมากยิ่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยหันมาเปิดโครงการในระดับราคาที่ใกล้กับความสามารถซื้อของกำลังซื้อกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (Mass Customer) โดยทำเลที่ผู้ประกอบการน่าจะยังให้ความสำคัญ ได้แก่ บริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่กำลังสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพรอบนอก อย่างไรก็ดีจากการที่ Segment ระดับกลางนี้มีความหนาแน่นของการลงทุนของผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก-รายใหญ่ รวมถึงมีสัดส่วนจำนวนค้างขายที่สูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการเองก็อาจพบกับความท้าทายในเวลาเดียวกัน... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2561
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ... ซึ่งร่างกฎหมายจะมีผลบังคับใช้วันถัดไปจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และการจัดเก็บภาษีจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ ทางการมุ่งหวังสร้างผลดีต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ผลจากการเปลี่ยนการคำนวณภาษีจากฐานรายได้มาเป็นฐานทรัพย์สิน อาจจะสร้างความท้าทายโดยเฉพาะต่อผู้ครอบครองทรัพย์สินมากแต่มีรายได้น้อยที่อาจจะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาจเป็นแรงกดดันให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินแต่มีศักยภาพจำกัดในการพัฒนา ต้องขายทรัพย์สินในภาวะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เผชิญหลากประเด็นท้าทาย ทั้งกำลังซื้อครัวเรือน ทิศทางอัตราดอกเบี้ย ผลจากมาตรการ LTV เป็นต้น ... อ่านต่อ
21 กรกฎาคม 2560
ภาพรวมของตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ชะลอตัว สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยน่าจะทรงตัวจากในช่วงครึ่งแรกของปี... อ่านต่อ
10 เมษายน 2558
6 ตุลาคม 2557
25 มิถุนายน 2557
9 มกราคม 2557
23 กันยายน 2556
15 มีนาคม 2556
15 กุมภาพันธ์ 2556
26 เมษายน 2555
22 ธันวาคม 2553
18 มกราคม 2553
8 เมษายน 2552
3 เมษายน 2552
5 กันยายน 2551
5 สิงหาคม 2551
25 มิถุนายน 2551
9 ตุลาคม 2550
19 มิถุนายน 2549
28 ธันวาคม 2548
21 ตุลาคม 2548