29 พฤษภาคม 2566
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
3 เมษายน 2566
12 มกราคม 2566
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ว่าเทศกาลตรุษจีนปี 2566 น่าจะมีบรรยากาศที่ดีขึ้นจากปีก่อน โดยมีแรงหนุนจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลายและมาตรการช้อปดีมีคืน แต่อยู่ภายใต้การวางแผนปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับงบประมาณที่มีอยู่ เนื่องจากทิศทางราคาเครื่องเซ่นไหว้ส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับตรุษจีนปีก่อน จากปัจจัยต้นทุนการผลิตที่ยังสูง โดยเฉพาะผัก-ผลไม้บางรายการที่นิยมในช่วงตรุษจีนยังมีราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% ขณะที่กลุ่มเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ ราคาน่าจะปรับขึ้นราว 10% ส่วนเนื้อหมู แม้จะมีราคาย่อลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่โดยรวมแล้วราคาก็ยังยืนตัวสูง จึงอาจส่งผลให้คนกรุงเทพฯ ที่เข้าร่วมกิจกรรมตรุษจีนในปีนี้ ยังคงเผชิญกับปัจจัยกดดันที่มาจากราคาสินค้าที่มีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้น ท่ามกลางภาระค่าครองชีพที่สูง ... อ่านต่อ
1 ธันวาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการศึกษาข้อมูลบัญชีลูกหนี้ธุรกิจจากฐานข้อมูลสถิตินิติบุคคลซึ่งไม่สามารถระบุตัวตนได้ของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) โดยจากการศึกษาและประมวลผล พบว่า แม้จะพ้นช่วงวิกฤตจากไวรัสโควิด-19 และเศรษฐกิจกิจกำลังทยอยฟื้นตัว แต่กลุ่มธุรกิจขนาดจิ๋วอย่างไมโครและซุปเปอร์ไมโครยังเป็นกลุ่มที่เปราะบางต่อการฟื้นตัว... อ่านต่อ
11 ตุลาคม 2565
ในเดือนก.ย.65 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปัจจุบัน และ 3 เดือนข้างหน้าทรงตัวอยู่ที่ 33.9 และ 35.2 โดยสถานการณ์ราคาพลังงานที่เริ่มทรงตัวส่งผลให้ครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อระดับราคาสินค้าในหลายหมวด ยกเว้นในส่วนของอาหารและเครื่องดื่มที่ครัวเรือนกลับมามีความกังวลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่และสร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรต่าง ๆ ยังส่งผลให้ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์รายได้และการจ้างงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นหลังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งนี้ จากการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม พบว่า ครัวเรือนร้อยละ 19.2 มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 5,000 บาท (ผลสำรวจของจัดทำขึ้นในช่วง 21-27 ก.ย.65)... อ่านต่อ
8 เมษายน 2565
ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาที่คนไทยจะเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อกลับภูมิลำเนา เพื่อเข้าร่วมประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทย รวมไปถึงการเดินทางท่องเที่ยวทั้งแบบพักค้าง และแบบไปเช้า-เย็นกลับ สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2565 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า บรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยน่าจะดีขึ้น เนื่องจากประชากรในประเทศส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 รวมถึงเข็มกระตุ้น ทำให้คนส่วนหนึ่งมีความเชื่อมั่นที่จะเดินทางท่องเที่ยว ประกอบกับในปีนี้ ทางศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ผ่อนคลายให้สามารถจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ ขบวนแห่ การสาดน้ำ และการจัดกิจกรรมสันทนาการได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ก็ทำให้หน่วยงานท้องถิ่นในหลายพื้นที่มีแผนที่จะจัดงานเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวกลับมาทำโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องเที่ยวกันอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังมีปัจจัยหนุนจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน... อ่านต่อ
2 กุมภาพันธ์ 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนของคนกรุงเทพฯ ในปี 2564 ส่งผลให้คาดว่าเม็ดเงินใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนของคนกรุงเทพฯ ในปี 2564 น่าจะหดตัวประมาณร้อยละ 10.4 (กรอบประมาณการหดตัวร้อยละ 8-12) เมื่อเทียบกับปีก่อน ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิดมากนัก หรือคิดเป็นการใช้จ่ายกว่า 11,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลจากโควิด-19 ได้เร่งให้คนกรุงเทพฯ บางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยหันมาสั่งซื้อเครื่องเซ่นไหว้จัดชุดสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์ หรือโทรสั่งให้ร้านค้าส่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมีการปรับตัวควบคู่ไปกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในเรื่องของคุณภาพสินค้า รวมถึงความคุ้มค่าคุ้มราคาเมื่อเทียบกับการเดินทางไปเลือกซื้อเอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าวมากขึ้น... อ่านต่อ
27 พฤษภาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและผลกระทบจากโควิด-19 ของผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2563 จากผลสำรวจ พบว่า ผู้ปกครองกว่า 88.9% มีความกังวลต่อสภาพคล่องทางการเงินที่จะนำมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2563 จากหลายสาเหตุ อาทิ เงินออมไม่เพียงพอเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่กิจการต้องปิดให้บริการชั่วคราวมีผลต่อรายได้และผู้ปกครองบางรายถูกเลิกจ้างชั่วคราว โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2563 ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะมีการใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลาน (นักเรียนระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) เป็นมูลค่าประมาณ 28,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับผลสำรวจเมื่อช่วงเดียวกันของปีก่อน ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีการปรับลดค่าใช้จ่ายในกลุ่มเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนโดยซื้อเฉพาะที่มีความจำเป็น อย่างไรก็ดี ผู้ปกครองกว่า 86% ยังมีความกังวลหากบุตรหลานกลับไปโรงเรียน และอยากเห็นสถาบันการศึกษามีมาตรการในการป้องกันเชื้อโควิด-19 อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง... อ่านต่อ
22 มกราคม 2563
จากสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน (PM2.5) ที่กลับมามีความรุนแรงอีกครั้งตั้งแต่ต้นปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ ในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว รวมถึงค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจอื่นๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการที่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 3,200–6,000 ล้านบาท (ภายในกรอบเวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 5 ม.ค.- 5 ก.พ. 2563) ซึ่งใกล้เคียงกับกรอบระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นค่าเสียโอกาสทางด้านสุขภาพ (ค่ารักษาพยาบาล ค่าหน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ) 2,000-3,000 ล้านบาท ค่าเสียโอกาสในด้านการท่องเที่ยว 1,000-2,400 ล้านบาท และค่าเสียโอกาสภาคธุรกิจอื่นๆ เช่น ร้านอาหารข้างทาง สวนอาหาร ตลาดนัด 200-600 ล้านบาท... อ่านต่อ
19 ธันวาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เม็ดเงินใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 จะอยู่ที่ 29,800 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีการประหยัดและระมัดระวังการใช้จ่าย ประกอบกับประชาชนมีการใช้จ่ายล่วงหน้าจากมาตรการกระตุ้นของทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม หากในช่วงที่เหลือของเทศกาล ภาครัฐและภาคเอกชนมีมาตรการหรือกลยุทธ์เพื่อสร้างความคึกคักให้กับเทศกาล จะหนุนให้เม็ดเงินค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ อาจกลับมาทรงตัวเทียบกับปีก่อนได้... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2562
เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวิธีการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินมาตรการตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. จนถึง 30 พ.ย. 2562 โดยในปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนสำเร็จบางส่วนได้เริ่มออกมาใช้สิทธิ์ตามจังหวัดปลายทางต่างๆ ที่ลงทะเบียนไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ “ชิมช้อปใช้” เฟส 1 โดยผลสำรวจมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ... อ่านต่อ
24 กันยายน 2562
เทศกาลกินเจปี 2562 ยังคงดึงดูดให้คนกรุงเทพฯ สนใจเข้าร่วมกินเจเพิ่มจาก 57.1% มาป็น 66.7% ในปีนี้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่สนใจเข้ามาทานเจเพื่อเหตุผลด้านสุขภาพ ขณะที่จำนวนมื้อที่ทานเฉลี่ยต่อคนมีแนวโน้มปรับลดลง ส่งผลให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2562 ของคนกรุงเทพฯ จะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 4,760 ล้านบาทขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้คนทานเจบางกลุ่มมีความตั้งใจที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มูลค่าการใช้จ่ายช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีก่อน... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
ในช่วงของการเปิดเทอมใหญ่ของทุกปี ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียนจะมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษามากเป็นพิเศษ จากผลสำรวจของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ปกครองกว่า 54.2% มีความกังวลต่อสภาพคล่องทางการเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในด้านการศึกษา แต่ยังมีแนวทางรองรับเนื่องจากการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ และเปิดเทอมใหญ่ในปีนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือในการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ปกครองที่ถือบัตรสวัสดิการของรัฐ ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาภาระรายจ่ายสำหรับผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีมาตรการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา สำหรับประชาชนผู้เสียภาษีเช่นกัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2562 ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะมีการใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลาน (ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) มูลค่าประมาณ 28,220 ล้านบาท ... อ่านต่อ
23 มกราคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2562 จะอยู่ที่ประมาณ 13,560 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 (YoY) โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มทางด้านค่าใช้จ่ายการทำบุญ/ท่องเที่ยวเป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องเซ่นไหว้ให้ภาพที่ทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน ส่วนเงินแต๊ะเอียมีแนวโน้มปรับลดลงค่อนข้างเด่นชัดกว่ากิจกรรมอื่น สำหรับในปี 2562 นี้มีปัจจัยพิเศษที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว อาทิ การเลือกตั้ง ที่น่าจะกำหนดขึ้นภายในเดือนมีนาคม 2562 นี้ ซึ่งอาจทำให้มีเม็ดเงินที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งลงสู่ภาคธุรกิจ รวมถึงช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชนและการลงทุนของภาคธุรกิจในระยะถัดไป และปัจจัยสำคัญคือ มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% สำหรับการใช้จ่ายในช่วงระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ถือเป็นมาตรการที่น่าจะช่วยจูงใจให้เกิดเม็ดเงินการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ได้พอสมควร... อ่านต่อ
12 กันยายน 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ขยับขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับ 46.5 ในเดือนส.ค. เนื่องจากครัวเรือนเกษตรบางส่วนมีความกังวลลดลงในเรื่องภาระหนี้สิน ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากมาตรการลดภาระหนี้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เกษตรกรรายย่อยของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนส.ค. 2561 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากความกังวลเรื่องราคาสินค้าและค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้) ที่เพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยังต้องติดตามในเรื่องของระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศที่คาดว่าจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ทั้งในส่วนของราคาอาหารสดและราคาพลังงาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อภาวะการครองชีพของครัวเรือนในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
20 สิงหาคม 2561
ภาพเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2561 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปี จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี โดยการใช้จ่ายในประเทศได้กลายเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ตลอดจนปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ออกมามาก เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2561 ยังเผชิญความไม่แน่นอนหลายประการทั้งจากประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยืดเยื้อ ปัญหาเศรษฐกิจตุรกีที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งประเด็นดังกล่าวมองว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2561 อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน ยังต้องติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี ทั้งนี้ จากภาพเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกที่โตกว่าที่คาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2561 ในเบื้องต้นว่า มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนเข้าใกล้กรอบบนของประมาณการเศรษฐกิจที่ร้อยละ 4.0-5.0 (ค่ากลางที่ร้อยละ 4.5) ... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2561
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยในไตรมาส 1/2561 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 77.6% จากระดับ 78.0% ในไตรมาส 4/2560 อย่างไรก็ดี ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/2561 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 12.17 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.2% YoY เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และเช่าซื้อรถยนต์... อ่านต่อ
8 พฤษภาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.9 ในเดือนเม.ย. 2561 จากมุมมองของครัวเรือนที่เป็นบวกมากขึ้นต่อประเด็นทางด้านภาระค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะบรรเทาลง หลังผ่านพ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงครัวเรือนบางส่วนมีการใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานไปบ้างแล้ว ... อ่านต่อ
ท่ามกลางภาพรวมของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยที่เติบโตดี แต่มีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจากภูมิภาคตะวันออกกลางที่จำนวนนักท่องเที่ยวหลายประเทศเดินทางมาเที่ยวไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่ทิศทางตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยอาจจะยังติดลบ แม้คาดว่าราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นน่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจมีการเติบโต แต่ยังมีปัจจัยเฉพาะที่ต้องติดตามอย่างความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม GCC สถานการณ์ค่าเงินเรียล (Rial) ของอิหร่านที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น ... อ่านต่อ
11 เมษายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ... อ่านต่อ
12 มีนาคม 2561
จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนในเดือนก.พ. 2561 พบว่า ครัวเรือนไทยในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดยังมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพในช่วง 3 เดือนข้างหน้าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนก่อน สะท้อนจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 47.1 ในเดือนก.พ. 2561 โดยครัวเรือนยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อประเด็นเรื่องรายได้และการจ้างงานตามการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในเดือนเม.ย. 2561 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนกลับมีความกังวลต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สินมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาวะการเป็นหนี้ในปัจจุบันของครัวเรือน ... อ่านต่อ
7 พฤศจิกายน 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะมีแนวโน้มเติบโตดี หลายภาคส่วนมีการปรับประมาณการ GDP เพิ่มขึ้น ซึ่งการเติบโตดังกล่าว... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2559
30 พฤศจิกายน 2558
8 มกราคม 2558
17 พฤศจิกายน 2557
31 กรกฎาคม 2557
13 กุมภาพันธ์ 2557
31 พฤษภาคม 2556
2 พฤษภาคม 2556
31 มกราคม 2556
28 ธันวาคม 2555
31 พฤษภาคม 2555
29 กรกฎาคม 2554
30 มิถุนายน 2554
31 พฤษภาคม 2554
30 ธันวาคม 2553
30 ธันวาคม 2552
29 พฤษภาคม 2552
31 มีนาคม 2552
2 มิถุนายน 2551
25 ธันวาคม 2550