23 กุมภาพันธ์ 2567
บริการ
... อ่านต่อ
FileSize KB
22 ธันวาคม 2566
8 พฤษภาคม 2566
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจบริการที่เป็นความหวังต่อการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้ ยังอยู่ท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุนที่คาสูงถึงขยับตัวขึ้น ... อ่านต่อ
16 ธันวาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดของธุรกิจ Food Delivery ในปี 2566 จะมีมูลค่าประมาณ 8.1 – 8.6 หมื่นล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.8 ถึงหดตัวร้อยละ 6.5 (จากฐานที่สูงในปี 2565) โดยปัจจัยหลักมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาขับเคลื่อนได้ตามปกติ และผู้บริโภคมีการปรับพฤติกรรมมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคกลับมานั่งทานอาหารในร้าน และซื้อกลับมาทานด้วยตนเองมากขึ้น ส่งผลให้บทบาทของธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ปรับลดลง อย่างไรก็ดี มูลค่าตลาดดังกล่าวยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิดอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความคุ้นชินการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคและการทำตลาดของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร รวมถึงแนวโน้มราคาต่อออเดอร์ที่เพิ่มขึ้น... อ่านต่อ
25 ตุลาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า มูลค่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2566 จะมีการขยายตัว 2.7%-4.5% (ขณะที่ปี 2565 คาดว่ามีการขยายตัว 12.9%) จากราคาสินค้าที่มีการปรับตัวขึ้น ประกอบกับกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศที่ขับเคลื่อนได้ตามปกติ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหารยังมีความเปราะบาง จากกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่ต้นทุนการดำเนินธุรกิจยังมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารที่ยังคงสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการยังคงต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง... อ่านต่อ
14 กันยายน 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดขายค้าปลีก Convenience store (CVS) ปี 2565 จะกลับมาฟื้นตัวราว 13-15% (YoY) จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหนุนทั้งการกลับมาของลูกค้าหลักอย่างพนักงานออฟฟิศและนักท่องเที่ยวต่างชาติภายหลัง สถานการณ์โควิดคลี่คลาย ราคาสินค้าบางรายการที่ปรับสูงขึ้น และการเปลี่ยนรูปแบบสาขาจากโชห่วยมาเป็นพันธมิตรหรือเครือข่ายของค้าปลีกรายใหญ่ อย่างไรก็ดี ท่ามกลางกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงและการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ยอดขายค้าปลีก Convenience store ปี 2566 อาจขยายตัวชะลอลง และเมื่อมองไปข้างหน้า ภายใต้แผนการขยายสาขาที่ยังคงเพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การรักษายอดขายสาขาเดิม (SSSG) ให้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นับเป็นโจทย์ท้าทายสำคัญ เนื่องจากตลาดมีจำนวนร้านค้าหรือสาขาที่หนาแน่นมากแล้วหากเทียบกับฐานการบริโภคโดยรวม ซึ่งร้านค้าที่ได้ทราฟฟิกจากลูกค้าประจำอย่างสม่ำเสมอ จะมีโอกาสไปต่อในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็ว... อ่านต่อ
21 มีนาคม 2565
แม้ธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) น่าจะยังได้รับแรงหนุนจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดยังสูงและสถานประกอบการยังใช้ระบบการทำงานแบบ Hybrid Work ประกอบกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มและร้านอาหารยังคงทำการตลาดและอัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นการสั่งอาหารควบคู่ไปกับการขยายการใช้งานไปยังผู้ใช้งานใหม่ๆ แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พักในปี 2565 มีแนวโน้มเผชิญโจทย์ท้าทายมากขึ้น หลังในช่วงต้นปี 2565 เริ่มปรากฏสัญญาณที่สะท้อนถึงการปรับตัวในพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านความถี่ ราคา และประเภทอาหารที่สั่ง และหากมองต่อไปในช่วงข้างหน้ายังมีผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนเข้ามาเพิ่มเติมด้วย... อ่านต่อ
3 พฤศจิกายน 2564
การผ่อนคลายมาตรการให้บริการในร้านอาหาร ช่วยหนุนธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการแบบเต็มรูปแบบ (Full-Service Restaurants) โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผลจากมาตรการดังกล่าวน่าจะช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท ส่งผลทำให้ทั้งปี 2564 มูลค่าธุรกิจร้านอาหารให้บริการแบบเต็มรูปแบบอยู่ที่ประมาณ 1.13 แสนล้านบาท หดตัวร้อยละ 28.5 จากปี 2563 ... อ่านต่อ
1 กันยายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2564 มูลค่าการใช้จ่ายสำหรับบริการทางการแพทย์ที่บ้านของไทย จะอยู่ที่ 2,200 – 2,300 ล้านบาท เติบโตได้เล็กน้อยที่ 2.4% (YoY) แม้ว่าตลาดจะเติบโตได้จากการเพิ่มขึ้นของผู้ให้บริการ ประเภทการบริการที่หลากหลายขึ้น รวมทั้งสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้มีความต้องการรับบริการทางการแพทย์ที่บ้านทดแทน ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีความจำเป็นและกลุ่มที่ต้องการบริการทางเลือก เนื่องจากไม่สามารถไปรับบริการที่สถานพยาบาลได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้านการจัดสรรบุคลากรและมาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้ภาพรวมตลาดยังขยายตัวได้ไม่มากนัก... อ่านต่อ
19 สิงหาคม 2564
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่ยังไม่คลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่ยังทรงตัวสูง ทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องยกระดับของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งรวมถึงการจำกัดการให้บริการของร้านอาหารเหลือเพียงช่องทางการสั่งซื้อที่หน้าร้านและการสั่งผ่านแอปพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร (Food Delivery) ข้อจำกัดดังกล่าวส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งคาดว่ามูลค่ารวมของรายได้ธุรกิจร้านอาหารทั้งปี 2564 จะหายไปไม่ต่ำกว่า 6.0 หมื่นล้านบาท ... อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2564
ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มที่พึ่งพารายได้จากคนไข้ต่างชาติที่เป็น Medical Tourism ซึ่งไม่สามารถเดินทางเข้ามาใช้บริการในประเทศได้เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศระลอกนี้ที่สถานการณ์ยังคงรุนแรง น่าจะส่งผลให้ภาพรวมของตลาด Medical Tourism ของไทยในปี 2564 ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าไม่ต่ำกว่า 90% (YoY) หรือมีจำนวนราว 10,000-20,000 คน (ครั้ง) ขณะที่ปี 2565 Medical Tourism อาจจะฟื้นตัวขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า แต่ยังคงไม่กลับเข้าสู่ช่วงปกติก่อนเกิดโควิด จึงทำให้ยังคงมีมุมมองที่ค่อนข้างระมัดระวังต่อการสร้างรายได้ของธุรกิจ และการกลับมาของตลาด Medical Tourism จะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการโควิดและการฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศเป็นสำคัญ... อ่านต่อ
14 กรกฎาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เม็ดเงินการใช้จ่ายสำหรับ Health Tech ในไทยปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 300-400 ล้านบาท โดยมูลค่าตลาดส่วนใหญ่ยังเป็นรูปแบบ B2B ซึ่งให้บริการผ่านสถานพยาบาลรายใหญ่เป็นหลัก และเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในระยะ 3 -5 ปีข้างหน้า ตลาด Health Tech ของไทยยังคงเติบโตได้ในแง่ของผู้ใช้บริการทั้ง B2B ที่ครอบคลุมไปยังกลุ่มธุรกิจ Non-hospital รวมถึง B2C ที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่ครอบคลุมทั้งผู้สูงอายุ และวัยทำงานที่มีกำลังซื้อ แต่ในแง่ของเทคโนโลยีมองว่า ยังคงเป็น Health Tech ที่ใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ขณะที่ Health Tech ที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนอย่างการใช้ AI วิเคราะห์โรค หุ่นยนต์ผ่าตัด ยังต้องอาศัยเวลาในการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย และอาศัยเงินลงทุนสูง... อ่านต่อ
5 กรกฎาคม 2564
การระบาดของโควิด-19 ในรอบนี้ที่ยาวนานและการยกระดับมาตรการควบคุมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมา ต่อธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจร้านอาหารที่รายได้หลักมาจากการให้บริการนั่งทานในร้าน (Full Service) กอปรกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจและกำลังซื้อของผู้บริโภค ... อ่านต่อ
30 เมษายน 2564
ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ โดยการประกาศยกระดับห้ามรับประทานอาหารภายในร้านของพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อการเลิกจ้างงาน กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศให้มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการรายได้ของธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 ลงเหลือ 3.82 – 3.94 แสนล้านบาท (จากคาดการณ์เดิม ณ ธันวาคม 2563 ก่อนการแพร่ระบาดรอบใหม่ที่ 4.1 แสนล้านบาท) โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิดรอบนี้คงจะเป็นกลุ่มร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ขณะที่กลุ่มร้านอาหารที่มีการให้บริการอย่างจำกัด (Limited Service Restaurant) และร้านอาหารข้างทางที่มีพื้นที่หน้าร้าน (Street Food) น่าจะยังมีการขยายตัวเล็กน้อย... อ่านต่อ
30 กันยายน 2563
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้กระตุ้นให้ภาคธุรกิจต่างๆ ต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้ภูมิทัศน์การดำเนินธุรกิจในตลาดดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจไทย (B2B) เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มุ่งเน้นเพียงการยกระดับประสิทธิภาพและสร้างช่องทางการดำเนินธุรกิจใหม่ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ลูกค้าองค์กรธุรกิจของตน หันมาสู่การสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจในทุกด้านให้แก่องค์กรธุรกิจผ่านช่องทางดิจิทัล ... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2563
สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา เปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมการแสดงโชว์ของผู้บริโภค จากที่รับชมในสถานที่สาธารณะ เป็นการรับชมการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเมื่อผนวกกับการมาถึงของเทคโนโลยีไร้สาย 5G ในปัจจุบัน จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมบุกเบิกตลาดธุรกิจบันเทิงเสมือนจริง (VR Entertaining Business) และคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยโดยรวมกว่า 1.7 พันล้านบาท หรือเพิ่มการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมดังกล่าวราวร้อยละ 0.64 ต่อปี... อ่านต่อ
16 เมษายน 2563
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทั้งเชิงบวกและลบต่อธุรกิจ On-Demand ส่งผลให้มีการขยายตัวของมูลค่าตลาดในบริการบางประเภท ขณะที่บางส่วนกลับมีการหดตัวตัวลงอย่างมาก อย่างไรก็ดีศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในกลุ่ม On-Demand ที่ได้รับความนิยมในปี 2563 จะมีมูลค่าสุทธิที่ 1.42 แสนล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 32.5 จากสถานการณ์ปกติ ซึ่งหลังจากนี้คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ว่าจะคลี่คลายเมื่อไร... อ่านต่อ
9 มีนาคม 2563
ธุรกิจร้านอาหารหนึ่งในภาคบริการที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ซึ่งไม่เพียงแต่ชะลอการเดินทางของชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในประเทศไทย แต่ยังทำให้ผู้บริโภคชาวไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางท่องเที่ยวรวมถึงออกไปทานอาหารในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน นอกจากนี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อการเลิกจ้างงาน กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศทำให้มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวคาดว่าจะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตามประเภทของร้านอาหารและปัจจัยรอบด้านอื่นๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารจำเป็นต้องปรับตัวโดยขยายช่องทางการขาย บริหารจัดการต้นทุน เพิ่มความยืดหยุ่นของระบบในร้าน รวมถึงยกระดับการรักษาความสะอาดของร้านอาหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค... อ่านต่อ
2 มกราคม 2563
ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคบริการและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมาก รวมถึงมีมูลค่าหมุนเวียนไม่น้อย ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของธุรกิจส่งผลต่อเนื่องไปยังธุรกิจเกี่ยวเนื่องอีกหลายระดับ ทั้งนี้ในปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าธุรกิจร้านอาหารจะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.37-4.41 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.4-2.4 จากปี 2562 ถึงแม้จะมีการขยายตัวแต่ก็มีแนวโน้มต้องเผชิญกับโจทย์ท้าทายรอบด้านที่รออยู่ อาทิ ยอดขายสาขาเดิม (Same Store Sales) ที่อาจยังหดตัวต่อเนื่อง ต้นทุนทางธุรกิจที่คาดว่าจะสูงขึ้น พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การแข่งขันในธุรกิจที่สูงขึ้น รวมถึงบทบาทที่มากขึ้นของเทรนด์เทคโนโลยี จึงนับเป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายกลาง-เล็ก จำเป็นต้องเร่งปรับตัว ... อ่านต่อ
11 พฤศจิกายน 2562
สังคมผู้สูงอายุกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทยอยเกิดขึ้นในหลายประเทศของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตามติดกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ส่วนใหญ่ต่างก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุไปแล้ว ในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) แล้วตั้งแต่ประมาณปี 2548 และกำลังเตรียมนับถอยหลังสำหรับการเข้าสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2565 เป็นอย่างเร็วหรือในอีก 3 ปีนับจากนี้ โดยปัจจุบันมีราว 6-8 จังหวัดของไทยได้ก้าวเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ไปแล้วก่อนหน้าจังหวัดอื่นๆ ได้แก่ ลำปาง แพร่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สมุทรสงคราม และอาจรวมถึงลำพูนและอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าไทยจะเป็นประเทศแรกในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ หลังจากนั้นในราวปี 2575 ไทยก็มีแนวโน้มที่จะขยับเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์อย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) ... อ่านต่อ
27 มีนาคม 2562
นับแต่ปี 2548 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หากมองในแง่ของภาคธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยดังกล่าว ได้กลายมาเป็นโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ตลาดของธุรกิจผู้สูงอายุมักกระจุกตัวอยู่กับผู้สูงวัยที่มีรายได้เพียงพอ ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดด้านรายได้ แต่มีทักษะความเชี่ยวชาญ หากมีแนวทางสร้างรายได้ให้คนกลุ่มนี้ ก็น่าจะกลายมาเป็นเป้าหมายทางธุรกิจได้อีกกลุ่มหนึ่ง... อ่านต่อ
4 มิถุนายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าปี 2561 จะมีคนไข้ชาวต่างชาติมาใช้บริการรักษาพยาบาลประมาณ 3.42 ล้านครั้ง โดยกลุ่มคนไข้ชาวเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น เมียนมาและจีน จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นทดแทนกลุ่มคนไข้ตะวันออกกลางที่มีบทบาทลดลง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบายรักษาพยาบาลภายในประเทศ รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุขในประเทศให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อรองรับหรือจูงใจให้คนในประเทศหันมาใช้บริการมากขึ้น ... อ่านต่อ
2 พฤศจิกายน 2559
27 พฤษภาคม 2559
9 พฤศจิกายน 2558
8 กันยายน 2557
19 กรกฎาคม 2556
22 เมษายน 2556
14 กุมภาพันธ์ 2556
15 ตุลาคม 2555
27 มกราคม 2555
3 ธันวาคม 2553
2 กันยายน 2553
26 สิงหาคม 2553
29 กรกฎาคม 2553
24 มิถุนายน 2553
29 ตุลาคม 2552
5 มิถุนายน 2552
26 มีนาคม 2552
12 ธันวาคม 2551
17 ตุลาคม 2551
24 กันยายน 2551
19 สิงหาคม 2551
12 เมษายน 2550