7 เมษายน 2566
อุตสาหกรรม
การปรับห่วงโซ่อุปทานใหม่ … เพิ่มต้นทุนและกดดันมาร์จิ้นธุรกิจกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ... อ่านต่อ
FileSize KB
17 มีนาคม 2566
... อ่านต่อ
29 เมษายน 2564
นับแต่ปลายปี 2563 อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกประสบกับปัญหาขาดแคลนชิป (Chip) โดยมีสาเหตุพื้นฐานมาจากความเปราะบางของโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตชิปสำหรับการผลิตรถยนต์ ทำให้เมื่อเกิดสถานการณ์อุปสงค์และอุปทานชิปที่ผันผวนจากหลายฉนวนเหตุ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเหตุเพลิงไหม้โรงงานชิปในญี่ปุ่น เป็นต้น จึงทำให้เกิดภาวะขาดแคลนชิปรถยนต์ขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะเริ่มคลี่คลายชั่วคราวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่ทว่าการแก้ปัญหาในระยะยาวยังคงต้องรอการปรับโครงสร้างอุปทานชิปในรถยนต์ที่ยังคงอยู่ในภาวะเปราะบาง... อ่านต่อ
16 กันยายน 2563
ประกาศกระทรวงพาณิยชย์ว่าด้วยเรื่องการห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 84 และตอนที่ 85 เฉพาะรหัสสถิติ 899 หรือก็คือการห้ามนำเข้าของเสียอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้อนุสัญญาบาเซล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประกาศดังกล่าวเป็นการห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของไทย แต่กระนั้นก็ดี หากจะลดการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างแท้จริง ทางการต้องเพิ่มความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใช้แล้ว (มือสอง) ที่รัดกุมให้สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นการนำเข้ามาใช้ประโยชน์จริงๆ ก็จะทำให้ไทยลดต้นทุนการกำจัดขยะและสร้างผลบวกต่อสิ่งแวดล้อมไทยได้ในระยะยาว เพราะสินค้ามือสองเหล่านี้มีมูลค่านำเข้าสูงถึง 59.1 ล้านดอลลาร์ฯ มีอายุการใช้งานสั้น และสุดท้ายก็จะกลายเป็นขยะที่ไทยต้องกำจัดทิ้งอยู่ดี... อ่านต่อ
30 เมษายน 2563
การระบาดของไวรัสโควิดในปี 2563 น่าจะส่งผลกดดันให้มูลค่าการส่งออก PCB ของไทยโดยรวมหดตัวราวร้อยละ 20.9 ถึง 23.6 หรือมีมูลค่าส่งออกราว 927.4 ถึง 960.8 ล้านดอลลาร์ฯ ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ลดต่ำลง ซึ่งเป็นผลหลักมาจากเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอย และการชะลอการลงทุนครั้งใหญ่ในโครงสร้างพื้นฐาน 5G ในหลายประเทศ อย่างไรก็ดี หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดคลี่คลาย และทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นในช่วงปี 2564 บวกกับการกลับมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5G ในหลายประเทศเพื่อแข่งขันกันเป็นผู้นำในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลยุคใหม่ จะทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์โลกในปีหน้าน่าจะเริ่มฟื้นตัว และส่งผลให้การส่งออก PCB ของไทยสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งราวร้อยละ 3.0 ถึง 5.5 หรือมีมูลค่าส่งออกราว 955.4 ถึง 1,013.5 ล้านดอลลาร์ฯ ในปีหน้า ... อ่านต่อ
3 ตุลาคม 2562
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยโดยรวมกำลังอยู่ในช่วงอิ่มตัว และมีบทบาทลดลงเรื่อยๆ ในห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลให้ไทยจำเป็นต้องเร่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีในตลาดโลก แทนที่จะพยายามกลับไปแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านค่าแรงและผลิตภัณฑ์เดิมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มเท่าที่ควร โดยอาจต่อยอดจากจุดแข็งและความพร้อมของไทยที่ยังคงเป็นฐานผลิตหลักของผลิตภัณฑ์ที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโตในตลาดโลกอย่างรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสู่รถยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า IoT ทั้งนี้ การยกระดับห่วงโซ่อุปทานสู่เทคโนโลยีใหม่ดังกล่าว จะส่งผลให้การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทยพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ร้อยละ 0.2 ในปี 2565 คิดเป็นมูลค่าส่งออกส่วนเพิ่มราว 1,298 ล้านดอลลาร์ฯ จากที่คาดว่าจะติดลบต่อเนื่องในช่วงดังกล่าว... อ่านต่อ
23 กันยายน 2562
ไทยมีแนวโน้มที่จะสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันและถูกแทนที่ด้วยประเทศเกิดใหม่ เช่น เวียดนาม เนื่องจากไทยไม่สามารถแข่งขันทางด้านต้นทุนค่าแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขณะที่อุตสาหกรรมที่ไทยยังคงรักษาความสามารถทางการแข่งขันไว้ได้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ก็มีแนวโน้มที่จะเผชิญความท้าทายมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นกับประเทศเกิดใหม่ต่างๆ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลยุทธ์ที่ไทยควรดำเนินต่อไปในอนาคตคือไทยควรมุ่งเน้นยกระดับตนเองและเพิ่มศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อให้ไทยยังสามารถแข่งขันในเวทีโลกและทิ้งห่างเวียดนามได้ อีกทั้งไทยควรเร่งปิดช่องว่างในเรื่องแรงงานทักษะสูงและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมถึงเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ ซึ่งหากไทยไม่สามารถยกระดับตนเองได้เท่าที่ควร ไทยก็อาจจะติดกับดักอยู่ที่เดิม และเผชิญการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นกับเวียดนามและประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ภาคการผลิตและภาคการส่งออกของไทยชะลอตัวลงไปเรื่อยๆ และมีแนวโน้มที่จะติดกับดักอยู่ในอัตราการขยายตัวที่ต่ำต่อไป... อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2562
ตลาดรถยนต์ในปี 2562 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ในช่วงครึ่งแรกจะมีการขยายตัวดีขึ้นค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังมีปัจจัยลบเข้ามาฉุดรั้งตลาด โดยเฉพาะการเข้ามาควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่มากขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ยอดขายรถยนต์โดยรวมตลอดทั้งปีน่าจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 2 หรือคิดเป็นจำนวนรถยนต์ 1,060,000 คัน ทว่า แม้ตลาดโดยรวมจะขยายตัวได้เล็กน้อย แต่สำหรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศกลับเติบโตสูงสวนทางตลาด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของไทยปี 2562 นี้ น่าจะขยายตัวได้กว่าร้อยละ 61 หรือมียอดขายถึง 32,000 คัน เติบโตขึ้นจาก 19,880 คัน ในปีที่แล้ว ทั้งนี้มาจากปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ การตั้งราคารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่เข้าตลาดมาทำให้ผู้บริโภครู้สึกเข้าถึงได้มากขึ้น และมุมมองของผู้บริโภคบางส่วนต่อต้นทุนในการถือครองรถเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เมื่อผนวกกับปัจจัยบวกอื่นๆ เช่น การรับประกันคุณภาพรถยนต์และแบตเตอรี่ที่ยาวนาน เป็นต้น ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าของไทยเติบโตได้ดีในปีนี้ ... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2562
ความต้องการเซ็นเซอร์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนหลัก 3 ประการ คือ ปริมาณการผลิตรถยนต์ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง การยกระดับสมรรถนะและฟังก์ชั่นการทำงานของรถยนต์โดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าแห่งหนึ่งของโลก ส่งผลให้ผู้ผลิตเซ็นเซอร์สำหรับยานยนต์จากต่างประเทศมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อผลิตเซ็นเซอร์ที่มีระดับเทคโนโลยีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเซ็นเซอร์ในระบบควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และการปล่อยมลพิษ และเซ็นเซอร์ในระบบความปลอดภัย นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้คาดว่าผู้ผลิตเซ็นเซอร์น่าจะเริ่มเข้ามาลงทุนเซ็นเซอร์ในแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อทิศทางการลงทุนของค่ายรถในชิ้นส่วนขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ ความต้องการเซ็นเซอร์ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสำหรับรถยนต์ HEV/PHEV ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศและการส่งออกในอนาคต... อ่านต่อ
13 กุมภาพันธ์ 2562
หนึ่งแนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงปี 2562 คือ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการนำข้อมูลส่วนบุคคลเชิง Big Data มาประยุกต์ใช้ในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีความเฉพาะในแต่ละบุคคล ในมิติที่มากกว่าที่เคยทำได้ในอดีต Hyper-Personalization มีศักยภาพที่จะยกระดับการบริการในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรมการคมนาคม ไปจนถึงอุตสาหกรรมสุขภาพ แต่ กระแสดังกล่าวยังคงมีประเด็นภาคปฏิบัติ เช่น การคัดเลือกตัวแปรข้อมูลเพื่อการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การจัดการด้านคุณภาพของข้อมูล จนถึงประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการจะนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ต้องพิจารณาให้ดี ... อ่านต่อ
25 กันยายน 2561
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 ครม.ลงมติเห็นชอบในหลักการ ร่าง พ.ร.บ. Digital ID จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล การร่าง พ.ร.บ. Digital ID ปูทางสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งมีแนวโน้มจะส่งผลเชิงบวกในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงินการธนาคาร และสุขภาพ ขณะเดียวกัน คาดว่าจะช่วยภาครัฐประหยัดต้นทุนได้ถึง 127 ล้านบาทในปีแรก ... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2560 การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะพลิกฟื้นกลับขึ้นมาเป็นบวกอีกครั้งในรอบสองปี โดยคาดว่า การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ไทยจ... อ่านต่อ
3 กุมภาพันธ์ 2560
ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายในการรวบรวมและคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของขยะอิเล็กทริอนิกส์ในไทย เนื่องจาก... อ่านต่อ
5 กุมภาพันธ์ 2559
22 ธันวาคม 2557
27 ตุลาคม 2557
21 กุมภาพันธ์ 2557
17 กันยายน 2556
21 มิถุนายน 2556
28 ธันวาคม 2555
28 มิถุนายน 2555
3 พฤศจิกายน 2554
19 สิงหาคม 2554
1 เมษายน 2554
23 กรกฎาคม 2553
11 มกราคม 2553
29 กันยายน 2552
26 สิงหาคม 2552
9 มิถุนายน 2552
10 เมษายน 2552
5 กุมภาพันธ์ 2552
15 ตุลาคม 2551
15 พฤษภาคม 2551
19 กรกฎาคม 2550
29 พฤศจิกายน 2549
10 พฤษภาคม 2549
31 มีนาคม 2549
12 เมษายน 2548