23 กรกฎาคม 2567
เกษตรกรรม
... อ่านต่อ
FileSize KB
5 มีนาคม 2567
16 กุมภาพันธ์ 2567
30 ตุลาคม 2566
22 สิงหาคม 2566
20 กรกฎาคม 2566
9 พฤษภาคม 2566
20 มีนาคม 2566
ราคาข้าวและมันสำปะหลังของไทยปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้น ตามแรงหนุนด้านอุปสงค์จากจีนเปิดประเทศ... อ่านต่อ
13 มีนาคม 2566
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการส่งออกกุ้งของไทยปี 2566 อาจอยู่ที่ 1.06-1.10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออยู่ในกรอบ -3.5% ถึง 0.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักอย่าง สหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาจปรับลดลง แม้จะมีแรงซื้อจากจีน ที่เข้ามาหนุนความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศ โดยเฉพาะสินค้ากุ้งสดแช่แย็นแช่แข็ง รวมถึงตลาดใหม่ๆ ที่ทางภาครัฐของไทยเข้าไปเจรจาการค้าในกลุ่มสินค้าเกษตรด้วย อาทิ ไต้หวัน ฮ่องกง ทำให้ผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยมีแนวโน้มจะส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่ยังน้อย จึงช่วยชดเชยการหดตัวของตลาดหลักได้ไม่มากนัก... อ่านต่อ
2 ธันวาคม 2565
ภาพรวมรายได้เกษตรกรสุทธิในปี 2566 น่าจะเผชิญความท้าทายมากขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทสินค้าเกษตร เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงชะลอลง จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งความต้องการสินค้าเกษตรและกดดันราคา โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในคำสั่งซื้อจากจีน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า รายได้เกษตรกรในปี 2566 อาจหดตัวอยู่ที่ราวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่น่าจะขยายตัวร้อยละ 13.5 ขณะที่ต้นทุนการผลิตอย่างราคาน้ำมันและราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลก แม้คาดว่าจะย่อลงจากปี 2565 แต่ยังคงอยู่บนฐานสูง ทำให้รายได้เกษตรกรสุทธิอยู่ในกรอบที่แคบลง โดยกลุ่มสินค้าเกษตรที่มีความท้าทายสูง คือ ยางพารา และทุเรียน ส่วนกลุ่มที่ประคองตัวได้ คือ ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย และกลุ่มที่เผชิญความท้าทายน้อย คือ ข้าว และมันสำปะหลัง... อ่านต่อ
19 พฤษภาคม 2565
ราคาปุ๋ยเคมีปรับพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ ตามราคาวัตถุดิบและอุปทานปุ๋ยในตลาดโลกที่ตึงตัวจากผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ผนวกกับภาครัฐได้อนุญาตให้ปรับเพิ่มราคาขายปุ๋ยเคมีในประเทศให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ราคาปุ๋ยยูเรียนำเข้าของไทยในปี 2565 จะยืนอยู่ในระดับสูงที่กรอบ 950-1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เร่งขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2564 โดยเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากจากราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอัตราการใช้ปุ๋ยต่อไร่สูง ตามมาด้วยยางพาราและอ้อย ขณะที่ ข้าว แม้จะมีอัตราการใช้ปุ๋ยต่อไร่ที่น้อยกว่า แต่ด้วยฤดูเพาะปลูกหลักของข้าวนาปีที่เพิ่งเริ่มต้น ทำให้หากเกษตรกรที่ปลูกข้าวจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวได้ ก็อาจจะกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวทั้งปีนี้ให้ลดลงกว่าที่คาดไว้... อ่านต่อ
13 มกราคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยในปี 2565 น่าจะให้ภาพการขยายตัวต่อไปได้อยู่ที่มูลค่าราว 84,600-87,900 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 1.6-5.6 (YoY) จากปัจจัยหนุนด้านอุปสงค์เป็นสำคัญ แต่คงเป็นการขยายตัวแบบชะลอลง เนื่องจาก Pent Up Demand ที่คลี่คลายมากขึ้น และอุปสงค์ของแรงงานกลับถิ่นที่น่าจะมีจำนวนน้อยกว่าปีก่อนจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรคงเติบโตสอดคล้องไปกับภาพรวมราคาสินค้าเกษตรที่ยังยืนอยู่ในเกณฑ์ดี ท่ามกลางสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ขณะที่ในฝั่งของอุปทานยังต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคากับเครื่องจักรกลการเกษตรของจีนที่มีราคาถูก รวมถึงต้นทุนการผลิตอย่างราคาน้ำมันและเหล็กที่อยู่ในระดับสูง อันจะทำให้ตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยเติบโตต่อไปได้อย่างระมัดระวัง... อ่านต่อ
13 ธันวาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ราคาข้าวไทยในปี 2565 น่าจะให้ภาพการเติบโตที่กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยหลังจากผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 แต่คงเป็นการเติบโตบนฐานที่ต่ำ คาดว่าอาจอยู่ที่ราว 8,900-9,400 บาทต่อตัน หรือหดตัวร้อยละ 1.6 ถึงขยายตัวร้อยละ 4.0 จากปัจจัยหนุนด้านอุปทานที่คาดว่าปัญหา Supply Disruption จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งออกน่าจะคลี่คลายมากขึ้นหลังกลางปี 2565 อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาปัจจัยท้าทายที่ยังคงรุมเร้าต่อเนื่องจากปีก่อน อย่างการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงโดยเฉพาะอินเดียและเวียดนาม รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากเชื้อกลายพันธุ์ จะทำให้ราคาข้าวอาจเคลื่อนไหวได้ในกรอบแคบๆ... อ่านต่อ
6 สิงหาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า พืชเกษตรที่มีศักยภาพเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโปรตีนจากพืชที่เป็นอาหารแห่งอนาคตของไทย คือ ถั่วเขียว ต้นอ่อนทานตะวัน งาดำ ข้าวกล้องหอมมะลิ และเห็ดฟาง ภายใต้เกณฑ์การวิเคราะห์ที่กำหนด คือ 1) เป็นพืชที่มีระดับโปรตีนสูงใกล้เคียงกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์คือ มีปริมาณโปรตีนร้อยละ 13-23 ต่อน้ำหนักอาหาร 2) เป็นพืชที่ไทยมีศักยภาพในเชิงผลผลิต/ขายได้ราคาดี/ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวสั้น/มีสายพันธุ์ไทย และ 3) เป็นพืชที่รัฐบาลให้การสนับสนุน อันจะทำให้เกิดความยั่งยืนด้านอุปทาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย และยังสร้างผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกแห่งอนาคตเป็นของไทยเอง นอกจากนี้ ยังเป็นการลดการใช้ถั่วเหลืองที่ต้องนำเข้า โดยคาดว่า ในปี 2564 มูลค่าถั่วเหลืองที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตโปรตีนจากพืชที่เป็นอาหารแห่งอนาคตของไทย อาจมีมูลค่าราว 300-500 ล้านบาท ... อ่านต่อ
8 มกราคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ภาพรวมสินค้าเกษตรไทยในปี 2564 น่าจะให้ภาพที่ดีขึ้น โดยคาดว่า รายได้เกษตรกรจะขยายตัวอยู่ในกรอบร้อยละ 1.0-1.5 (YoY) จากแรงผลักด้านผลผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0-2.5 (YoY) เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกจากปรากฏการณ์ลานีญาที่อาจต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ขณะที่ราคาอาจปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5-1.0 (YoY)... อ่านต่อ
28 ตุลาคม 2563
จากการที่ไทยมีการบริโภคน้ำและใช้น้ำในปริมาณมากเพื่อผลิตสินค้าโดยเฉพาะในภาคเกษตร ขณะที่ปริมาณน้ำก็มีแนวโน้มลดลงจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทำให้ Water Footprint จะเป็นเทรนด์การผลิตสินค้าของโลกเรื่องหนึ่งที่มีความเป็นไปได้สูงในการเข้ามามีบทบาทในภาคเกษตรมากขึ้นในระยะข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายประเทศต่างให้ความสำคัญและตระหนักมากขึ้นในแง่ของการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่จำกัดอย่างยั่งยืน และประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรอาจมีแนวโน้มกดดันให้มีการประกาศนำค่า Water Footprint มาใช้เป็นมาตรฐานบังคับให้ประเทศผู้ผลิตต้องดำเนินการไม่ให้สูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว และอาจหยิบยกมาใช้เป็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี (Non-Tariff Barriers: NTB) มากขึ้นในระยะข้างหน้า ดังนั้น จะเป็นแนวทางที่ดีมากขึ้นหากไทยสามารถเตรียมความพร้อมทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อรับมือกับมาตรฐานดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ... อ่านต่อ
28 พฤษภาคม 2563
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 สถานการณ์สินค้าเกษตรในภาพรวมจะยังประคองตัวไปได้ในกรอบจำกัด โดยจะเห็นภาพของราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ราวร้อยละ 3.8 (YoY) และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ในกรอบจำกัดราวร้อยละ 1.4 (YoY) สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สถานการณ์สินค้าเกษตรอาจให้ภาพที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี โดยในแง่ของราคาสินค้าเกษตรจะได้รับแรงกดดันเป็น Double Shock ทั้งในฝั่งของอุปทาน ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตมากขึ้น และในฝั่งของอุปสงค์ที่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 ที่จะฉุดรั้งความต้องการสินค้าเกษตรจากไทย ทำให้คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ราคาสินค้าเกษตรอาจหดตัวราวร้อยละ 4.5 (YoY) ผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (YoY) ส่งผลต่อรายได้เกษตรกรให้ต้องเผชิญความยากลำบากมากขึ้น โดยอาจหดตัวที่ร้อยละ 0.7 (YoY)... อ่านต่อ
26 ธันวาคม 2562
ภาคการเกษตรไทย ปี 2563 ยังมีความเปราะบางที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งต่อเนื่องจากปี 2562 โดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตรในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ภาพรวมปริมาณผลผลิตทั้งปี 2563 คาดว่าจะหดตัวที่ 2.0% (YoY) โดยเป็นผลฉุดรั้งจากการลดลงของปริมาณผลผลิตข้าวเป็นสำคัญ ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรภาพรวมมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีปัจจัยกดดันจากความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง กดดันให้ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรเติบโตในกรอบจำกัดที่ 1.5 – 2.0% (YoY) เมื่อพิจารณาจากปัจจัยความเสี่ยงด้านผลผลิตและความผันผวนด้านราคา ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า รายได้เกษตรกรในปี 25563 น่าจะให้ภาพรวมชะลอตัวที่ -0.5 ถึง 0.0% (YoY)... อ่านต่อ
24 ตุลาคม 2562
ระบบการตรวจสอบย้อนกลับและติดตามพืชผล (Traceability) เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงการผลิตตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำตามหลักการห่วงโซ่ความรับผิดชอบ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ระบบตรวจสอบย้อนกลับจะมีบทบาทในการสร้างความน่าเชื่อถือและช่วยขยายโอกาสทางการตลาดสินค้าออร์แกนิกของไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่ามูลค่าการผลิตสินค้าออร์แกนิก ของไทยในช่วงปี 2563-2567 เติบโตเฉลี่ย 6.5 % (CAGR) และจะเร่งขึ้นในช่วงปี 2568-2572 ให้เติบโตเฉลี่ยที่ 8.7% (CAGR) จากการผลิตเชิงพาณิชย์ในวงกว้าง... อ่านต่อ
23 กรกฎาคม 2562
สถานการณ์ภัยแล้งนอกฤดูกาลในปี 2562 (พ.ค.-ก.ค.2562) ได้ส่งผลกระทบต่อความแห้งแล้งเป็นอย่างมาก จากอิทธิพลของเอลนีโญกำลังอ่อนที่ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงและมีภาวะฝนน้อยน้ำน้อย พิจารณาได้จากปริมาณน้ำในเขื่อนที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลต่อความเสียหายของผลผลิตพืชเกษตรหลักอย่างข้าวนาปีที่ได้ปลูกไปแล้ว ทำให้ราคาข้าวนาปีเฉลี่ยขยับขึ้นได้ในช่วงนี้ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบจากภัยแล้งนอกฤดูกาลในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปีเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นราวร้อยละ 0.1 ของ GDP นอกจากนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ภัยแล้งนอกฤดูกาลที่อาจลากยาวได้อีกในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2562 ที่อาจกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่จะออกสู่ตลาดจำนวนมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ซึ่งอาจส่งผลต่อมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก... อ่านต่อ
10 มกราคม 2562
ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรของไทยในปี 2562 อาจจะยังคงถูกกดดันให้หดตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.2-0.6 เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับสูง และแรงฉุดจากความต้องการของจีนที่ชะลอลง แต่จากบทบาทของภาครัฐในการดำเนินงานด้านนโยบายการเกษตรที่มีความต่อเนื่องจากโครงการเดิมที่ได้ดำเนินการไปแล้วในปีก่อนโดยเฉพาะมาตรการระยะสั้นที่ช่วยภาคเกษตรโดยตรง และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย จะเป็นปัจจัยสำคัญในปี 2562 ที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตร และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น ส่งผลต่อภาพรวมรายได้เกษตรกรในปี 2562 ให้หดตัวอยู่ที่เพียงร้อยละ 0.4-0.8 สำหรับนโยบายการเกษตรของภาครัฐในระยะยาว คงต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างภาคการเกษตร ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการยกระดับภาคเกษตรไทย... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรหลักในปี 2561 จะให้ภาพที่ปะปนกัน โดยบางรายการอาจมีราคากระเตื้องขึ้นอย่างข้าวและมัน... อ่านต่อ
6 ตุลาคม 2560
โดรนเพื่อการเกษตรนับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในฐานะเครื่องมือทางการเกษตรที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งกำลังมาแรงใน... อ่านต่อ
27 ธันวาคม 2559
1 มิถุนายน 2559
11 กุมภาพันธ์ 2559
22 กรกฎาคม 2558
18 ธันวาคม 2557
19 กันยายน 2554
26 กรกฎาคม 2554
28 ตุลาคม 2553
28 กรกฎาคม 2553
24 มิถุนายน 2553
5 มีนาคม 2553
27 มกราคม 2553
17 กันยายน 2552
4 กันยายน 2552
3 พฤศจิกายน 2551
28 ตุลาคม 2551
14 ตุลาคม 2551
5 มิถุนายน 2551
21 มีนาคม 2551
27 กรกฎาคม 2550
9 มีนาคม 2550
15 พฤศจิกายน 2549
13 ตุลาคม 2549
28 พฤศจิกายน 2548