16 กรกฎาคม 2567
เศรษฐกิจต่างประเทศ
... อ่านต่อ
FileSize KB
11 กรกฎาคม 2567
24 มิถุนายน 2567
13 มิถุนายน 2567
17 เมษายน 2567
14 มีนาคม 2567
11 มีนาคม 2567
5 มีนาคม 2567
29 กุมภาพันธ์ 2567
17 มกราคม 2567
19 ตุลาคม 2566
18 กรกฎาคม 2566
19 เมษายน 2566
17 กรกฎาคม 2563
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 2/2563 พลิกกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 (YoY) จากที่ติดลบถึงร้อยละ 6.8 (YoY) ในไตรมาสที่ 1/2563 อันเป็นผลจากประสิทธิผลของทางการจีนในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศกลับมาดำเนินได้เป็นปกติมากขึ้น โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) สามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ร้อยละ 4.8 (YoY) ในเดือนมิ.ย. 2563 จากที่ติดลบถึงร้อยละ 8.4 (YTD, YoY) ในไตรมาสที่ 1/2563 ขณะที่การส่งออกในไตรมาสที่ 2/2563 พลิกกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยร้อยละ 0.14 (YoY) จากที่ติดลบถึงร้อยละ 13.4 (YoY) ในไตรมาสที่ 1/2563 โดยได้อานิสงส์จากปัจจัยชั่วคราวจากการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางแพทย์ที่ขยายตัวสูง อาทิ หน้ากากอนามัย ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศที่ยังรุนแรง... อ่านต่อ
17 เมษายน 2563
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 หดตัวถึงร้อยละ 6.8 (YoY) เป็นครั้งแรกที่เศรษฐกิจจีนหดตัวนับตั้งแต่มีการจัดเก็บสถิติมาตั้งแต่ปี 2535 โดยสาเหตุหลักมาจากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของทางการจีนที่เข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งปิดเมืองหรือคำสั่งให้บริษัทนำเที่ยวทั่วประเทศหยุดจำหน่ายแพ็คเกจท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนชะงักงัน โดยผลกระทบบางส่วนได้สะท้อนผ่านตัวเลขการค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2563 ที่หดตัวร้อยละ 19.64 (YTD, YoY) และร้อยละ 8.4 (YTD, YoY) ตามลำดับ... อ่านต่อ
30 มกราคม 2563
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ยังคงส่อเค้าความรุนแรงต่อเนื่อง นำมาซึ่งมาตรการสูงสุดของทางการจีนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคคาบเกี่ยวกับช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ชาวจีนมีการเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยเป็นจำนวนมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ต่อเศรษฐกิจจีนเบื้องต้นในกรอบระยะเวลา 1 เดือน อาจสูงถึง 3 แสนล้านหยวน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP จีนทั้งปี ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2563 อาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.5-5.9 โดยมีผลกระทบหลักๆ ผ่านทางภาคค้าปลีก ภาคขนส่ง และภาคบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคและการท่องเที่ยว ... อ่านต่อ
17 มกราคม 2563
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 2562 ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้าโดยขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 (YoY) ซึ่ง ปัจจัยบวกจากการเจรจาทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ส่งผลให้ภาคการส่งออกและภาคการผลิตของจีนพลิกกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 4/2562 โดยมีการเร่งส่งออกหลังจากที่สหรัฐฯ ส่งสัญญาณระงับการขึ้นภาษีและเจรจากับจีน อย่างไรก็ดี ตัวเลขเศรษฐกิจจีนโดยรวมในปี 2562 นั้นชะลอลงจากปี 2561 ค่อนข้างมาก โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 6.1 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 6.6 ในปี 2561 ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในไตรมาส 4/2562 ถูกผลักดันจากปัจจัยชั่วคราวและฐานที่ต่ำเป็นหลัก ทั้งนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ช่วยประคองเศรษฐกิจจีนในปี 2562 ได้ในระดับหนึ่ง ท่ามกลางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีความเปราะบาง ... อ่านต่อ
21 ตุลาคม 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.0 (YoY) ในไตรมาส 3 ปี 2562 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี โดยชะลอลงจากร้อยละ 6.2 (YoY) ในไตรมาส 2 ปี 2562 ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แย่ลงและอยู่ที่กรอบล่างของกรอบเป้าหมายของทางการจีนจะเป็นปัจจัยกดดันให้ทางการจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 6.0-6.5 (YoY) ทั้งนี้ อุปสงค์ภายในและภายนอกที่อ่อนแรงลงต่างเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ทางการจีนนำออกมาใช้อาจไม่เพียงพอในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงในภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ทางการจีนจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้นโยบายการเงิน... อ่านต่อ
20 กันยายน 2562
ธนาคารกลางจีนประกาศแผนการออก Central Bank Digital Currency ในเร็ววันนี้ โดยเงินดิจิทัลที่ว่าจะมีความแตกต่างโดยนัยสำคัญจากคริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับความสนใจในช่วงหลัง หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของทางการจีนในการออกเงินสกุลดิจิทัลคงหนีไม่พ้น การที่ทางการจีนต้องการจะเพิ่มบทบาทของเงินหยวนในตลาดโลก และการพยายามควบคุมกิจการที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน อย่างไรก็ตาม CBDC ไม่น่าจะกระทบประสิทธิภาพของนโยบายการเงินของจีน CBDC มีแนวโน้มจะได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายโดยผู้บริโภคและผู้ประกอบการจีน ทำให้ในอนาคต ผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจกับจีนคงต้องคำนึงถึงการเชื่อมต่อของธุรกิจตนกับ CBDC ของจีน ... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2562
ทางการจีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงมาอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนเพิ่มเติมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าทางการจีนพร้อมที่จะตอบโต้สงครามการค้ากับสหรัฐฯ ด้วยการลดค่าเงิน ซึ่งทางการจีนอาจใช้มาตรการลดค่าเงินเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ และเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการจีนน่าจะไม่ปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่ามากจนเกินไป เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของจีนและบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ จัดให้จีนเป็นประเทศที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) เปิดช่องให้สหรัฐฯ สามารถขึ้นภาษีสินค้านำเข้ากับจีนได้อีกเพิ่มเติม ซึ่งหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายคงหยิบมาตรการด้านอื่นออกมาใช้ตอบโต้กันอย่างร้อนแรงซึ่งจะยิ่งกดดันให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแรงลงและมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในระยะอันใกล้ สำหรับไทย คงยากที่จะหลบเลี่ยงผลกระทบที่ตามมา โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนมากขึ้น ในขณะที่ การส่งออกของไทยที่อ่อนแรงอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยชะงักงันในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยจำเป็นต้องเร่งพิจารณามาตรการเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายกระตุ้นทางการคลัง เช่น การปรับลดภาษีต่างๆ ที่ยังพอมีช่องว่างให้สามารถทำได้... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงไม่ได้บทสรุปที่พึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่าย อีกทั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า จะเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นร้อยละ 25 จากที่ร้อยละ 10 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคมนี้ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อภาพทางการค้าโลก ซึ่งการขึ้นภาษีครั้งนี้สะท้อนแรงกดดันที่สหรัฐฯ ต้องการเร่งให้จีนเจรจาตามแนวทางที่คาดหมายไว้ เพื่อนำไปสู่บทสรุปที่พึงใจแก่ทั้งสองฝ่ายจนสามารถยุติสงครามการค้านี้ได้ภายในสิ้นปี 2562... อ่านต่อ
17 เมษายน 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.4 (YoY) ในไตรมาส 1 ปี 2562 ทรงตัวจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 โดยแม้ว่าการส่งออกของจีนจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแรง อย่างไรก็ดี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเริ่มส่งผลเป็นรูปธรรม อีกทั้งความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นดีขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ช่วยประคองโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงปลายไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจจีนปี 2562 ยังคงอ่อนแรง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 จะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 (กรอบคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.0-6.4) โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนน่าจะผ่านจุดสูงสุดที่ไตรมาสแรก และคงชะลอตัวลงในช่วงที่เหลือของปี โดยปัจจัยเชิงบวกจะมีจำกัดจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาหนี้ที่เร่งตัวสูงขึ้น ในขณะที่ปัจจัยภายนอกยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไทยไปจีนจะหดตัวในกรอบร้อยละ (-)0.5-3.0 ในปี 2562 หลังจากที่การส่งออกไทยไปจีนหดตัวถึงร้อยละ (-)9.2 (YoY) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ โดยการส่งออกไทยไปจีนมีแนวโน้มที่จะหดตัวน้อยลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากข้อพิพาททางการค้าที่เริ่มคลี่คลาย และมาตรการกระตุ้นการเศรษฐกิจของทางการจีน สำหรับในด้านการท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2562 ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยมีแนวโน้มเติบโตได้และตลาดนักท่องเที่ยวจีนจะยังเป็นตลาดสำคัญอันดับหนึ่งของไทย แต่อัตราการขยายตัวของตลาดนักท่องเที่ยวจีนคงจะไม่แตะระดับสูงเท่าในอดีตที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
5 มีนาคม 2562
ในการประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (National People’s Congress) ครั้งที่ 13 ทางการจีนได้มีการตั้งเป้าหมายของการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 ที่ยืดหยุ่นขึ้นจากเดิมที่ตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจที่ประมาณ ร้อยละ 6.5 ในปีก่อนหน้า เป็นเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในกรอบร้อยละ 6.0-6.5 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยการส่งสัญญาณดังกล่าวเป็นการสื่อความว่าทางการคาดการณ์ถึงโมเมนตัมเศรษฐกิจจีนที่น่าจะชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางปัจจัยท้าทายทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้น อย่างไรก็ดี ทางการจีนคงเป้าหมายการสร้างตำแหน่งงานในเขตเมืองไว้ที่ 11 ล้านคน เสมือนเป็นการให้คำมั่นในการประคองกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ให้ชะงักงันอย่างรุนแรง ภายใต้เครื่องมือเชิงนโยบายต่างๆ ที่เริ่มทยอยประกาศใช้ มองไปข้างหน้า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 น่าจะสามารถบรรลุระดับเป้าหมายของทางการได้ จากแรงหนุนของภาคการบริโภคที่ได้รับอานิสงส์ จากมาตรการปรับลดอัตราภาษีเพิ่มเติมมูลค่าเกือบ 2 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 2 ของจีดีพี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าว่าเศรษฐกิจจีนคงเติบโตได้ร้อยละ 6.2 (ช่วงประมาณการร้อยละ 6.0 ถึงร้อยละ 6.4) ทั้งนี้ ทางการจีนได้มีการตั้งเป้าหมายของการขยายตัวของเศรษฐกิจ (Real Term) ให้เติบโตเป็น 2 เท่าในรอบทุกๆ 10 ปี โดยระดับการขยายตัวต่ำสุดที่จะส่งผลให้ขนาดของเศรษฐกิจจีนในปีค.ศ. 2020 มีขนาดเป็น 2 เท่าของเศรษฐกิจในปีค.ศ. 2010 จีนจะต้องรักษาระดับการขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 6.2 ในปีนี้ ซึ่งทางการจีนคงจะพยายามที่อย่างเต็มที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งสัญญาณถึงเสถียรภาพของการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ... อ่านต่อ
22 มกราคม 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.6 ในปี 2561 ชะลอลงค่อนข้างรวดเร็วจากปี 2560 ที่เติบโตร้อยละ 6.8 โดยโมเมนตัมของเศรษฐกิจจีนให้สัญญาอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไตรมาส 4/2561 ที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 6.4 อันเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี จากประเด็นทางด้านสงครามการค้าที่ยังไม่มีความแน่นอน พัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ให้สัญญาณถึงโมเมนตัมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของจีนเติบโตได้เพียงร้อยละ 4.3 (YoY) เทียบกับร้อยละ 11.1 (YoY) ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนถึงผลกระทบจากสงครามการค้าที่เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น อันส่งผลต่อเนื่องไปยังความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจให้ลดลงและกลับมาหดตัวร้อยละ (-)1.8 ในเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจจีนในปี 2562 คงจะชะลอในอัตราเร่ง จากผลของสงครามการค้าที่จะชัดเจนมากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 จะเติบโตในกรอบร้อยละ 6.0-6.4 ขณะที่ ทางการจีนคงเผชิญโจทย์ที่ท้าทายในการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ตลอดจนความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2561
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ซึ่งขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 YoY และเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 นั้น เป็นผลมาจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 อย่างไรก็ดี ผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มีช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 YoY โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 YoY... อ่านต่อ
19 ธันวาคม 2560
จากข้อมูลตัวชี้วัดเศรษฐกิจล่าสุด เศรษฐกิจจีนยังคงรักษาโมเมนตัมได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่ากิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศมีสัญญาณชะลอลงเล็กน้อย ทว่า... อ่านต่อ
17 พฤศจิกายน 2560
ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนมีการชะลอลง ไม่ว่าจะเป็นในเชิงการผลิต การลงทุน หรือการใช้จ่ายจริงก็ตาม โดยผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือ... อ่านต่อ
20 ตุลาคม 2560
ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ดีในไตรมาสที่สาม โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) สำหรับไตรมาสที่ผ่านมามีการขยายต... อ่านต่อ
17 สิงหาคม 2560
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนสําหรับเดือนกรกฏาคมที่เผยแพร่ในวันที่ 14 สิงหาคมนั้น ส่วนใหญ่ต่ำกว่าความคาดหมาย ไม่ว่าจะเป็นดัชนีชี้วัดด้านอุปสงค์หรือด้านอุปทาน โด... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2560
ทางการจีนประกาศตัวเลขเศรษฐกิจประจำไตรมาส 2/2560 ขยายตัวร้อยละ 6.9 (YoY) เติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2560 ทั้งนี้ แรงส่งหลักๆ มาจากภาคการส่งออกของจี... อ่านต่อ
18 พฤษภาคม 2560
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในเดือน เม.ย. 2560 บ่งชี้ถึงสัญญาณที่เริ่มอ่อนแรงของภาคเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากความพยายามจัดการภาคการผลิตที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน แ... อ่านต่อ
16 ธันวาคม 2559
20 มกราคม 2559
13 สิงหาคม 2558
18 มีนาคม 2558
2 กุมภาพันธ์ 2558
22 ตุลาคม 2557
17 เมษายน 2557
21 มกราคม 2557
25 ธันวาคม 2556
18 ตุลาคม 2556
15 พฤษภาคม 2556
10 มกราคม 2556
13 กรกฎาคม 2555
25 เมษายน 2554
24 ธันวาคม 2553
17 มิถุนายน 2553
14 กันยายน 2552
22 มกราคม 2552
11 พฤศจิกายน 2551
21 ตุลาคม 2551
7 สิงหาคม 2551
18 กรกฎาคม 2551
15 พฤษภาคม 2551
9 เมษายน 2551
25 ธันวาคม 2550
17 มกราคม 2550
4 มกราคม 2549
20 เมษายน 2548
16 มีนาคม 2548
5 มกราคม 2548