23 กรกฎาคม 2567
เกษตรกรรม
... อ่านต่อ
FileSize KB
20 พฤษภาคม 2567
7 กุมภาพันธ์ 2567
30 ตุลาคม 2566
17 พฤษภาคม 2566
วันพืชมงคล นับเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นฤดูฝนและการเพาะปลูกข้าวนาปีของไทย โดยราคาข้าวที่ยืนสูง จะจูงใจให้เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปลูกข้าว แม้จะเผชิญต้นทุนการผลิตที่สูง ... อ่านต่อ
20 มีนาคม 2566
ราคาข้าวและมันสำปะหลังของไทยปี 2566 ปรับเพิ่มขึ้น ตามแรงหนุนด้านอุปสงค์จากจีนเปิดประเทศ... อ่านต่อ
29 กันยายน 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าความเสียหายของข้าวนาปีจากผลกระทบของน้ำท่วมในช่วงเดือนส.ค.-ต.ค.2565 น่าจะอยู่ที่ราว 2,900-3,100 ล้านบาท และน่าจะดันราคาข้าวให้ประคองตัวในระดับสูงได้ในช่วงนี้ มองต่อไป ในช่วงเดือนต.ค.2565 ไทยน่าจะยังได้รับอิทธิพลจากพายุเขตร้อนอยู่ ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณน้ำฝนให้อยู่ในระดับสูง เนื่องจากยังไม่สิ้นสุดฤดูฝน และอาจมีพายุเข้ามาเพิ่มเติมได้อีก จึงยังคงต้องจับตาถึงระดับความรุนแรง/จำนวนลูกของพายุที่อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปี เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมากขึ้น ซึ่งหากมีความรุนแรงเพิ่มจนทำให้พื้นที่ข้าวนาปีได้รับผลกระทบและเสียหายขยายเป็นวงกว้างขึ้น ก็อาจทำให้มูลค่าความเสียหายของข้าวนาปีในปี 2565 สูงกว่ากรอบบนที่ประเมินไว้ในเบื้องต้น... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2565
ปี 2565 ไทยอาจมีความเสี่ยงต้องเผชิญอุปทานข้าวในประเทศที่ตึงตัวมากขึ้น จากจุดเปลี่ยนสำคัญคือ ราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ขณะที่ในฝั่งของอุปสงค์คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นตามการส่งออกข้าวที่ดีขึ้น จะยิ่งกดดันอุปทานข้าวที่เหลือในประเทศให้ลดลง ซึ่งภาพอุปทานที่ตึงตัวมากขึ้นนี้ คงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น มองต่อไปข้างหน้า คาดว่า ในปี 2566 ภาพของความเสี่ยงที่ไทยจะมีอุปทานข้าวตึงตัวน่าจะยังคงอยู่ ตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่อาจลากยาว ดันราคาปุ๋ยเคมีให้ยังยืนสูงต่อเนื่อง ภาวะ Climate Change ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ล้วนกดดันผลผลิตข้าวให้ลดลง ขณะที่ในฝั่งอุปสงค์แม้จะให้ภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ด้วยผลผลิตที่ลดลง จะทำให้ไทยมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีอุปทานข้าวเหลือในประเทศที่ตึงตัวมากขึ้น และดันให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน... อ่านต่อ
13 ธันวาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ราคาข้าวไทยในปี 2565 น่าจะให้ภาพการเติบโตที่กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยหลังจากผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 แต่คงเป็นการเติบโตบนฐานที่ต่ำ คาดว่าอาจอยู่ที่ราว 8,900-9,400 บาทต่อตัน หรือหดตัวร้อยละ 1.6 ถึงขยายตัวร้อยละ 4.0 จากปัจจัยหนุนด้านอุปทานที่คาดว่าปัญหา Supply Disruption จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งออกน่าจะคลี่คลายมากขึ้นหลังกลางปี 2565 อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาปัจจัยท้าทายที่ยังคงรุมเร้าต่อเนื่องจากปีก่อน อย่างการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงโดยเฉพาะอินเดียและเวียดนาม รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากเชื้อกลายพันธุ์ จะทำให้ราคาข้าวอาจเคลื่อนไหวได้ในกรอบแคบๆ... อ่านต่อ
29 ตุลาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลกระทบในเบื้องต้นต่อมูลค่าความเสียหายของข้าวจากผลของน้ำท่วมในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมปี 2564 อาจอยู่ที่ราว 6,300-8,400 ล้านบาท จากอิทธิพลของพายุที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางของไทยที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปี ซึ่งเกษตรกรได้ดำเนินการปลูกไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และเป็นช่วงที่ข้าวกำลังเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาด เมื่อผนวกกับการไหลของน้ำที่ท่วมหลาก และในบางพื้นที่มีการแช่ขังของน้ำในระดับสูงนานหลายวัน ทำให้ในภาพรวมคาดว่าผลผลิตข้าวนาปีจะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้การประเมินตัวเลขความเสียหายดังกล่าวในปีนี้ที่อาจมีมูลค่าไม่มากเมื่อเทียบกับในอดีตที่มีน้ำท่วมรุนแรงล่าสุดของไทยเช่นในปี 2560 แต่ในระดับภูมิภาค เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อคนในพื้นที่ที่ครัวเรือนก็เผชิญความยากลำบากอยู่ก่อนแล้ว... อ่านต่อ
15 มีนาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2564 ภาพการส่งออกข้าวของไทยน่าจะสามารถประคองตัวต่อไปได้ที่ราว 5.8-6.0 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3-4.8 (YoY) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการเติบโตของความต้องการข้าวทั้งหมดในตลาดโลกที่ร้อยละ 1.7 โดยมีตัวผลักดันจากข้าวหอมมะลิที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกามีการเติบโตได้เป็นอย่างดีอยู่ที่ 0.54-0.56 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7-14.8 (YoY) จนสามารถผลักดันให้การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปตลาดโลกอยู่ที่ 1.3-1.35 ล้านตัน หรือเติบโตได้ถึงร้อยละ 9.3-13.5 ขณะที่ตลาดข้าวประเภทอื่น (ข้าวขาว ข้าวนึ่ง) คาดว่าอาจทำได้เพียงมีการเติบโตเท่ากับความต้องการข้าวทั้งหมดในตลาดโลกเท่านั้น ไทยจึงอาจจะยังไม่สามารถแข่งขันในตลาดข้าวประเภทอื่นได้ ดังนั้น ข้าวหอมมะลิจึงน่าจะเป็นตลาดที่ไทยทำได้ดีที่สุดหรือมีความสามารถในการแข่งขันส่งออกมากที่สุด และเป็นตลาดพรีเมียมที่ไม่ได้แข่งขันด้านราคา สุดท้าย จะทำให้ไทยยังคงประคองตัวเลขการส่งออกข้าวไว้ได้มากกว่าปีก่อนและสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดข้าวในโลกไว้ได้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ราวร้อยละ 12.8... อ่านต่อ
2 กันยายน 2563
จากภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ น่าจะไม่กระทบต่อผลผลิตข้าวนาปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ยังไม่ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว เมื่อผนวกกับการไหลของน้ำที่ท่วมหลาก ไม่มีการแช่ขังของน้ำที่ยาวนานเกินไป และเป็นลักษณะของการไหลผ่านของน้ำ ทำให้คาดว่า ผลผลิตข้าวนาปีจะยังไม่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของน้ำท่วมดังกล่าว โดยในภาพรวมปี 2563 คาดว่า ผลผลิตข้าวทั้งหมดอาจอยู่ที่ราว 29-30 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.3-7.5 (YoY) ขณะที่ราคาข้าวอาจอยู่ที่ราว 11,000-11,300 บาทต่อตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0-6.0 (YoY) มองต่อไปในเดือนก.ย.- กลางต.ค.2563 ไทยน่าจะยังได้รับอิทธิพลจากพายุเขตร้อนอยู่ จึงยังคงต้องจับตาถึงระดับความรุนแรงของพายุที่อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาดบ้างแล้ว และเมื่อผนวกกับปริมาณน้ำที่ไหลมาจากภาคเหนือในช่วงเวลาก่อนหน้า ซึ่งน่าจะไหลผ่านมาถึงภาคกลาง จนอาจกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปีในภาคกลางได้... อ่านต่อ
1 เมษายน 2563
การส่งออกข้าวไทยในปี 2563 อาจลดลงมาอยู่ที่ราว 6.2-6.6 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 12.9-18.1 (YoY) นับเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี จากปัจจัยลบที่รุมเร้ารอบด้านปัจจัยเดิมที่ยังมีอยู่ให้เห็นต่อเนื่องจากปีก่อน โดยเฉพาะตลาดข้าวขาว (ข้าวพื้นแข็ง) ที่มีปัญหามากที่สุด ดังนั้น ไทยจึงต้องหาทางออกด้วยการใช้ข้าวขาวพื้นนิ่ม ชูขึ้นมาเป็น Fighting Product เพื่อเข้ามาทำตลาดใหม่ๆ ในระดับกลางที่ผู้บริโภคมักมีกำลังซื้อ โดยหากไทยสามารถส่งเสริมการปลูกข้าวขาวพื้นนิ่มในปี 2563 ได้ที่ราว 0.8 ล้านไร่ ด้วยการมีนโยบายของภาครัฐสนับสนุนแก่ชาวนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ก็จะทำให้ไทยสามารถมีผลผลิตข้าวขาวพื้นนิ่มเพื่อส่งออกที่ราว 7 ล้านตันได้ในปี 2570 และเป็นระดับที่ทำให้ไทยสามารถทวงส่วนแบ่งตลาดของข้าวขาวและข้าวหอมมะลิที่หายไปร้อยละ 5.2 คืนกลับมาได้ โดยไทยจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดข้าวในโลกได้มากกว่าร้อยละ 24.5 เนื่องจากปริมาณส่งออกข้าวขาวพื้นนิ่มที่เพิ่มขึ้นจะสามารถชดเชยปริมาณส่งออกข้าวขาวและข้าวหอมมะลิที่ลดลงได้... อ่านต่อ
13 กันยายน 2562
จากปัจจัยด้านปริมาณผลผลิตครึ่งปีหลังที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 (YoY) ประกอบกับผลของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า รายได้เกษตรกรทั้งปี 2562 จะเติบโตในช่วงร้อยละ 3.5 – 3.8 (YoY) สูงกว่ากรณีไม่มีโครงการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งคาดว่ารายได้เกษตรกรทั้งปีจะเติบโตในช่วงร้อยละ 1.8 – 2.2 (YoY) อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งหากยืดเยื้อยาวนานและมีจำนวนพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้รายได้เกษตรกรเติบโตได้น้อยกว่ากรอบล่างของประมาณการ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยจะประเมินผลกระทบเป็นระยะต่อไป... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2562
สถานการณ์ราคาข้าวเหนียวในท้องตลาดปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยหลักมาจากปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกเหนียวในรอบนาปี 2561/2562 ลดลงจากการที่เกษตรกรหันไปปลูกข้าวหอมมะลิแทน ประกอบกับผลกระทบจากภัยแล้งที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตในรอบนาปรัง ส่งผลให้ภาพรวมปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกเหนียวในปี 2561/2562 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 6.45 ล้านตัน ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี กดดันให้ราคาข้าวเปลือกเหนียวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ราคาข้าวเปลือกเหนียวน่าจะปรับลดลงในช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม 2562 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี 2562/2563 ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียวอาจปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ 11,900 บาทต่อตัน ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2562... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรหลักในปี 2561 จะให้ภาพที่ปะปนกัน โดยบางรายการอาจมีราคากระเตื้องขึ้นอย่างข้าวและมัน... อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2560
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 ราคาข้าวน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี เนื่องจากผลด้านจิตวิทยาจากปริมาณสต๊อกข้าวที่ทยอยปรับตัวลดลง ... อ่านต่อ
5 เมษายน 2560
จากผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังที่สูงเกินกว่าแผนจนปัจจุบันมีการปลูกข้าวนาปรังไปแล้วมากกว่า 11 ล้านไร่ทำให้กรมชลประทานต้องลดการปล่อยน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2558
3 มีนาคม 2558
14 สิงหาคม 2557
9 สิงหาคม 2556
5 มิถุนายน 2556
2 ตุลาคม 2555
14 กุมภาพันธ์ 2555
7 ตุลาคม 2554
8 กันยายน 2554
29 กรกฎาคม 2554
18 มีนาคม 2554
20 สิงหาคม 2553
10 สิงหาคม 2553
5 กรกฎาคม 2553
30 เมษายน 2553
1 ธันวาคม 2552
16 พฤศจิกายน 2552
27 ตุลาคม 2552
7 ตุลาคม 2552
1 ตุลาคม 2552
10 กันยายน 2552
28 สิงหาคม 2552
24 กรกฎาคม 2552
8 กรกฎาคม 2552
10 มีนาคม 2552
10 ตุลาคม 2551
19 กันยายน 2551
15 กันยายน 2551
15 พฤษภาคม 2551
9 พฤษภาคม 2551
2 พฤษภาคม 2551
25 เมษายน 2551
4 เมษายน 2551
3 เมษายน 2551
25 มีนาคม 2551
4 ตุลาคม 2550
31 สิงหาคม 2550
13 กรกฎาคม 2550
18 พฤษภาคม 2550
4 พฤษภาคม 2550
23 มีนาคม 2550
24 มกราคม 2550
10 พฤศจิกายน 2549
27 ตุลาคม 2549
11 เมษายน 2549
18 พฤศจิกายน 2548
19 ตุลาคม 2548
19 สิงหาคม 2548