29 พฤศจิกายน 2565
เศรษฐกิจต่างประเทศ
การเดินทางเยือนไทยของผู้นำฝรั่งเศสในรอบ 16 ปี สะท้อนมุมมองยุโรปที่ต้องการเพิ่มบทบาททางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งฝรั่งเศสมีโอกาสพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทยได้อย่างน่าสนใจ ... อ่านต่อ
FileSize KB
3 กุมภาพันธ์ 2564
การเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมากับประเทศมหาอำนาจชาติตะวันตกต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน และอาจเป็นชนวนนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2563
สถานการณ์ล่าสุดที่สหรัฐฯ ยุติสิทธิพิเศษกับฮ่องกงเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 เป็นอีกชนวนกระตุ้นสงครามการค้ากับจีนให้กลับมาร้อนแรงในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปีนี้สหรัฐฯ ยังคงนำประเด็นอ่อนไหวของจีน มาใช้เป็นเครื่องมือกดดันจีนผ่านความตกลงทางการค้าเฟส 1 (Phase 1) ประกอบกับเงื่อนเวลาการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามายิ่งทำให้ทุกเรื่องผูกโยงกันอย่างซับซ้อน ทำให้สงครามการค้าครั้งนี้คงจะยืดเยื้อและไม่น่าจะเกิดความตกลงในเฟส 2 (Phase 2) ได้ ถึงแม้การเลือกตั้งสหรัฐฯ จะได้บทสรุปเป็นผู้นำคนใหม่ แต่การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในด้านภูมิรัฐศาสตร์จะคงมีอยู่ต่อไป และคงไม่ทำให้สงครามการค้าสงบได้อย่างมีนัยสำคัญ ... อ่านต่อ
16 มกราคม 2563
ความตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในเฟส 1 (Phase 1) การที่สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้จีนบางส่วนเท่านั้น ทว่าสินค้าส่วนใหญ่ของจีนยังต้องเผชิญภาษีในปี 2563 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงแทบไม่ต่างจากปี 2562 ซึ่งไม่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใด นอกจากนี้ จีนยังต้องปฏิบัติตามข้อแลกเปลี่ยนในการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อีก 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงื่อนไขอื่นที่มาพร้อมกันที่ยังต้องติดตามความคืบหน้าของเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะต่อไป... อ่านต่อ
5 กันยายน 2562
สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่เข้มข้นขึ้น ทั้งในแง่ของมูลค่าสินค้าที่เรียกจัดเก็บและระดับความรุนแรงของอัตราภาษีนำเข้า อาจทำให้ผลกระทบต่อการส่งออกไทยในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นมาแตะมูลค่าใกล้เคียง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2562
ทางการจีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงมาอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนเพิ่มเติมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าทางการจีนพร้อมที่จะตอบโต้สงครามการค้ากับสหรัฐฯ ด้วยการลดค่าเงิน ซึ่งทางการจีนอาจใช้มาตรการลดค่าเงินเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ และเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการจีนน่าจะไม่ปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่ามากจนเกินไป เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของจีนและบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ จัดให้จีนเป็นประเทศที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) เปิดช่องให้สหรัฐฯ สามารถขึ้นภาษีสินค้านำเข้ากับจีนได้อีกเพิ่มเติม ซึ่งหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายคงหยิบมาตรการด้านอื่นออกมาใช้ตอบโต้กันอย่างร้อนแรงซึ่งจะยิ่งกดดันให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแรงลงและมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในระยะอันใกล้ สำหรับไทย คงยากที่จะหลบเลี่ยงผลกระทบที่ตามมา โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนมากขึ้น ในขณะที่ การส่งออกของไทยที่อ่อนแรงอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยชะงักงันในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยจำเป็นต้องเร่งพิจารณามาตรการเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายกระตุ้นทางการคลัง เช่น การปรับลดภาษีต่างๆ ที่ยังพอมีช่องว่างให้สามารถทำได้... อ่านต่อ
26 มิถุนายน 2562
ผลการประชุม ASEAN Summit 2019 ที่ผ่านมา มีแผนผลักดันกรอบความตกลง RCEP ให้ได้บทสรุปภายในปี 2562 ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญของไทยในฐานะประธานอาเซียนในการผลักดันการเจรจาเปิดเสรีในมิติต่างๆ ที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ โดยเฉพาะการเปิดตลาดของอินเดียกับประเทศสมาชิก ซึ่งอาเซียนอาจเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยและผสานผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกให้สามารถยอมรับเงื่อนไขการเปิดเสรีระหว่างกันจน RCEP สามารถเกิดขึ้นได้ในที่สุด ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียนกลายเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ... อ่านต่อ
16 มกราคม 2562
นับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีบทบาททางเศรษฐกิจใน CLMV (KR CLMV Economic Presence Index: CLMV-EPI) โดยรวมของไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2560 เป็นต้นมา ไม่ติด 1 ใน 3 อันดับสูงสุด โดยญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 แทนไทย โดยมีบทบาทในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สนใจลงทุนใน CLMV มากขึ้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า รูปแบบการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นใน CLMV เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต โดยเน้นการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิต (Non-manufacturing sector) มากขึ้น โดยเฉพาะในกัมพูชาและเมียนมา อาทิ อุตสาหกรรมค้าปลีก ภาคการเงินการธนาคาร โลจิสติกส์ เพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคทางเลือกที่มีศักยภาพสูง อย่างไรก็ดี การเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิตในกลุ่มประเทศ CLM เป็นภาพที่สวนทางกับการเลือกลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมการผลิตในไทยและเวียดนาม จนอาจเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความท้าทายของการพัฒนาศักยภาพทางด้านการแข่งขันของกลุ่มประเทศ CLM โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการผลิตต่าง ๆ ซึ่งไทยสามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางพัฒนาทักษะแรงงานและวิชาชีพ (Capacity building and skill development) ในภูมิภาค ไม่เพียงแต่นักลงทุนญี่ปุ่นที่หันมาให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการผลิตใน CLMV มากขึ้น แต่นักลงทุนไทยก็ได้มีความพยายามในการเข้าทำตลาด CLMV มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยถึงแม้ว่าการลงทุนในภาคบริการดั้งเดิมใน CLMV ของผู้ประกอบการไทยนับได้ว่าเป็นการเข้าทำการตลาดที่เหมาะสมกับระดับการบริโภคของ CLMV ในปัจจุบันที่ยังไม่สูงและซับซ้อน อย่างไรก็ดี หากมองไปในอนาคต ภาพรวมการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การผลิตจะเริ่มถูกขับเคลื่อนด้วยกระแสการลงทุนและการส่งออกบริการที่เป็นภาคบริการสมัยใหม่ (Modern service) ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและแรงงานที่มีทักษะสูงมากขึ้น อาทิ การบริการทางด้าน IT การบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ หรือการบริการโลจิสติกส์สมัยใหม่ โดยในช่วงที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้เริ่มรุกการลงทุนดังกล่าวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น บริการเรียกรถ (Ride hailing) ของ Grab ของมาเลเซีย หรือ Go-Jek ของอินโดนีเซีย หรือแพลตฟอร์ม e-Commerce ซึ่งรวมถึง Online Travel Agency (OTA) อย่าง Lazada ของสิงคโปร์ หรือ Traveloka ของอินโดนีเซีย จึงนับเป็นความท้าทายของไทยในการเร่งพัฒนาศักยภาพด้านภาคบริการสมัยใหม่ให้เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถรักษาบทบาทของไทยใน CLMV ให้ยังคงอยู่ ... อ่านต่อ
3 ธันวาคม 2561
จากการประชุมนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ของอาร์เจนติน่าเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้ตกลงระงับการเก็บภาษีสินค้านำเข้าของแต่ละฝ่ายเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 90 วัน หลังจากการประชุม เพื่อเปิดทางสู่การเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้า โดยทรัมป์ตกลงที่จะเลื่อนการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2562 นี้ออกไปอีก 60 วัน เป็นวันที่ 1 มีนาคม 2562 การตกลงครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่าทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะประนีประนอมกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างมากที่การเจรจาจะไม่สำเร็จภายใน 90 วัน ดังนั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่สหรัฐฯ จะยังคงขึ้นภาษีนำเข้าจาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มีนาคม 2562... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2561
ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อาจทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ผ่านการกระจายการลงทุนจากจีนไปยังประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามการค้า อย่างไรก็ดี อานิสงส์ทางตรงจะเกิดขึ้นต่อไทยในระดับที่จำกัด เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ในฐานะผู้รับการลงทุนที่ใช้แรงงานเข้มข้นอยู่แล้ว ขณะที่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนขึ้น สินค้าหลายประเภทจีนยังคงมีความได้เปรียบทางการแข่งขันทางด้านราคาจนยากที่จะเกิดการเบี่ยงเบนการลงทุน ผลที่อาจเกิดขึ้นกับไทยนั้น ไทยอาจได้อานิสงส์เฉพาะการลงทุนในสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน ในผลิตภัณฑ์ที่ไทยนับได้ว่ามีศักยภาพในการแข่งขันค่อนข้างสูงในเวทีโลก ซึ่งคาดว่ากระจุกอยู่ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่าง HDDs, ICs, PCB ที่ไทยเองก็มีบทบาทในเวทีโลกค่อนข้างมาก นอกจากนี้ สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบอย่างการแปรรูปยางพาราซึ่งจีนนำเข้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อไปผลิตต่อและส่งออกไปสหรัฐฯ ก็อาจมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยเพิ่มเติมได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลบวกทางตรงของการกระจายฐานการผลิตสินค้าขั้นปลายน้ำและสินค้าขั้นกลางที่ซับซ้อนในไทยกับการกระจายการลงทุนในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทต่างชาติที่ประกาศเจตนารมณ์แล้วและบางส่วนที่มีแนวโน้มย้ายฐานมาไทยเพิ่มจากสงครามการค้าอาจช่วยเพิ่มมูลค่า FDI ในไทยในช่วง 3 ปีแรกของสงครามการค้า (2562-2564) ได้อย่างน้อย 800 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งคิดเป็นเพียงราวร้อยละ 1 ของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิโดยเฉลี่ยต่อปีในไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ค่าเฉลี่ย FDI ปี 2558-2560) เท่านั้น อย่างไรก็ดี หากพิจารณาควบคู่กับผลกระทบด้านการค้าที่ไทยอาจได้รับจากสงครามการค้าที่เคยประเมินก่อนหน้านี้ ผลกระทบสุทธิ (Net impact) ต่อไทยยังคงอยู่ในเชิงลบ อนึ่ง ไทยอาจได้รับอานิสงส์ทางอ้อมผ่านการส่งออกสินค้าขั้นกลางอย่างเม็ดพลาสติกหรือสิ่งทอเพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำในกลุ่ม CLMV ที่อาจได้อานิสงส์ FDI ในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นมากขึ้น ... อ่านต่อ
7 พฤศจิกายน 2561
จากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ที่พรรครีพับลิกันสูญเสียคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรคเดโมแครต ในขณะที่ยังสามารถรักษาคะแนนเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะมีนัยต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป โดยเฉพาะการผ่านร่างกฎหมายที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะทำได้ยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่านร่าง พรบ. งบประมาณ รวมทั้งความเสี่ยงในเรื่องเพดานหนี้สาธารณะที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งอาจส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจนมีผลต่อจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในขณะที่นโยบายการค้ากับจีนคงยังดำเนินต่อไปได้ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีที่เคยประกาศมาก่อนหน้านี้ และจะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกให้ต้องเผชิญความยากลำบากในปี 2562 ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ไทยอาจสูญเสียประโยชน์ทางการค้าสุทธิคิดเป็นมูลค่า 3,100-4,500 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2562 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.6-0.9 ของ GDP ไทย ... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2561
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 2/2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 YoY อันเป็นผลจากนโยบายของทางการในการดูแลความเสี่ยงภาคอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนของรัฐบาลท้องถิ่น ขณะที่การส่งออกของจีนในไตรมาส 2/2561 ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อจีนในปีนี้ ยังคงอยู่ในระดับจำกัด แต่หากสถานการณ์ข้อพิพาทการค้าลากยาวออกไปอาจจะส่งผลต่อการลงทุนใหม่ของภาคอุตสาหกรรมจีนปรับลดลง อันจะส่งผลกระทบที่ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไป ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะสามารถขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 ในปี 2561 สำหรับผลต่อการส่งออกของไทยไปจีน เนื่องจากความเชื่อมโยงกันผ่านห่วงโซ่การผลิตคาดว่าจะอยู่ในระดับที่จำกัดทำให้ผลกระทบโดยรวมมีไม่มาก โดยมองว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนในปี 2561 น่าจะขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 5.5-6.5... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
ในที่สุดจีนกับสหรัฐฯ ก็มีสัญญาณบวกว่าจะคลี่คลายความตึงเครียดทางการค้าระหว่างกันได้ด้วยดี ด้วยการเริ่มลดภาษีสินค้านำเข้าให้แก่สหรัฐฯ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการจีนน่าจะทยอยประกาศแผนลดภาษีให้แก่สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นมูลค่าการนำเข้าให้สูงขึ้น โดยสินค้าอุปโภคบริโภคตลอดจนสินค้าขั้นกลางน่าจะมีการลดภาษีอีก อาทิ เนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เลนส์ เครื่องใช้ทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น รวมทั้งทางการจีนน่าจะเร่งการนำเข้าโดยโยกคำสั่งซื้อจากประเทศอื่นเพื่อมาสั่งซื้อสินค้าสหรัฐฯ แทน สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูงอย่างเครื่องบิน ถั่วเหลือง และพลังงาน ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าของจีนจากสหรัฐฯ น่าจะเพิ่มขึ้นราว 25,000-35,000 ล้านดอลลาร์ฯ ต่อปี... อ่านต่อ
14 มีนาคม 2561
สหรัฐฯ เดินเกมกดดันทางการค้ากับนานาชาติต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการประกาศใช้มาตรการ Safeguard กับสินค้าแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องซักผ้าขนาดใ... อ่านต่อ
2 มีนาคม 2561
มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังคงประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะ ทวีความตึงเครียดต่อการค้าโลกมากขึ้นตลอดปี 2561 โดยมาตร... อ่านต่อ
18 กันยายน 2560
ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจจีนที่สำคัญเปิดเผย ณ วันที่ 14 ก.ย. 2560 บ่งชี้การชะลอตัวของทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. ขยายต... อ่านต่อ
24 มกราคม 2560
การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ คนที่ 45 อย่างเป็นทางการของนายโดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ภายใต้วิสัยทัศน์ 'Make America Great Again' ... อ่านต่อ
9 กันยายน 2559
... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2559
20 พฤศจิกายน 2556
13 กุมภาพันธ์ 2556
14 กุมภาพันธ์ 2554
18 สิงหาคม 2553
23 มิถุนายน 2553
26 มีนาคม 2553
12 กุมภาพันธ์ 2553
22 กันยายน 2552
25 สิงหาคม 2552
9 กรกฎาคม 2552
3 มิถุนายน 2552
10 เมษายน 2552
1 เมษายน 2552
4 พฤศจิกายน 2551
21 กรกฎาคม 2551
26 พฤษภาคม 2551
28 พฤศจิกายน 2550
31 สิงหาคม 2549
15 สิงหาคม 2549
12 เมษายน 2549
28 ตุลาคม 2548
2 กันยายน 2548
27 กรกฎาคม 2548
8 กรกฎาคม 2548
16 มิถุนายน 2548
4 พฤษภาคม 2548
21 เมษายน 2548
19 เมษายน 2548
15 กุมภาพันธ์ 2548
14 มกราคม 2548