21 เมษายน 2568
ตลาดการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
16 เมษายน 2568
8 เมษายน 2568
31 มีนาคม 2568
24 มีนาคม 2568
17 มีนาคม 2568
10 มีนาคม 2568
3 มีนาคม 2568
24 กุมภาพันธ์ 2568
17 กุมภาพันธ์ 2568
10 กุมภาพันธ์ 2568
3 กุมภาพันธ์ 2568
27 มกราคม 2568
20 มกราคม 2568
13 มกราคม 2568
6 มกราคม 2568
30 ธันวาคม 2567
23 ธันวาคม 2567
16 ธันวาคม 2567
9 ธันวาคม 2567
2 ธันวาคม 2567
25 พฤศจิกายน 2567
18 พฤศจิกายน 2567
11 พฤศจิกายน 2567
4 พฤศจิกายน 2567
28 ตุลาคม 2567
21 ตุลาคม 2567
15 ตุลาคม 2567
7 ตุลาคม 2567
30 กันยายน 2567
23 กันยายน 2567
16 กันยายน 2567
9 กันยายน 2567
2 กันยายน 2567
26 สิงหาคม 2567
19 สิงหาคม 2567
13 สิงหาคม 2567
5 สิงหาคม 2567
30 กรกฎาคม 2567
23 กรกฎาคม 2567
15 กรกฎาคม 2567
8 กรกฎาคม 2567
1 กรกฎาคม 2567
24 มิถุนายน 2567
17 มิถุนายน 2567
10 มิถุนายน 2567
4 มิถุนายน 2567
27 พฤษภาคม 2567
20 พฤษภาคม 2567
13 พฤษภาคม 2567
7 พฤษภาคม 2567
29 เมษายน 2567
22 เมษายน 2567
17 เมษายน 2567
9 เมษายน 2567
1 เมษายน 2567
25 มีนาคม 2567
18 มีนาคม 2567
11 มีนาคม 2567
4 มีนาคม 2567
27 กุมภาพันธ์ 2567
19 กุมภาพันธ์ 2567
12 กุมภาพันธ์ 2567
5 กุมภาพันธ์ 2567
29 มกราคม 2567
22 มกราคม 2567
15 มกราคม 2567
8 มกราคม 2567
2 มกราคม 2567
26 ธันวาคม 2566
18 ธันวาคม 2566
12 ธันวาคม 2566
4 ธันวาคม 2566
27 พฤศจิกายน 2566
20 พฤศจิกายน 2566
13 พฤศจิกายน 2566
6 พฤศจิกายน 2566
30 ตุลาคม 2566
24 ตุลาคม 2566
16 ตุลาคม 2566
9 ตุลาคม 2566
2 ตุลาคม 2566
25 กันยายน 2566
18 กันยายน 2566
11 กันยายน 2566
4 กันยายน 2566
28 สิงหาคม 2566
21 สิงหาคม 2566
15 สิงหาคม 2566
7 สิงหาคม 2566
31 กรกฎาคม 2566
24 กรกฎาคม 2566
17 กรกฎาคม 2566
11 กรกฎาคม 2566
3 กรกฎาคม 2566
26 มิถุนายน 2566
19 มิถุนายน 2566
12 มิถุนายน 2566
6 มิถุนายน 2566
29 พฤษภาคม 2566
22 พฤษภาคม 2566
15 พฤษภาคม 2566
8 พฤษภาคม 2566
2 พฤษภาคม 2566
24 เมษายน 2566
17 เมษายน 2566
10 เมษายน 2566
3 เมษายน 2566
27 มีนาคม 2566
20 มีนาคม 2566
13 มีนาคม 2566
7 มีนาคม 2566
27 กุมภาพันธ์ 2566
20 กุมภาพันธ์ 2566
13 กุมภาพันธ์ 2566
6 กุมภาพันธ์ 2566
30 มกราคม 2566
เงินบาทเคลื่อนไหวกรอบแคบ ก่อนอ่อนค่าปลายสัปดาห์ ขณะที่หุ้นไทยขยับขึ้นจากสัปดาห์ก่อน... อ่านต่อ
16 มกราคม 2566
9 มกราคม 2566
2 มกราคม 2566
26 ธันวาคม 2565
19 ธันวาคม 2565
12 ธันวาคม 2565
5 ธันวาคม 2565
28 พฤศจิกายน 2565
21 พฤศจิกายน 2565
14 พฤศจิกายน 2565
7 พฤศจิกายน 2565
31 ตุลาคม 2565
24 ตุลาคม 2565
17 ตุลาคม 2565
10 ตุลาคม 2565
3 ตุลาคม 2565
26 กันยายน 2565
19 กันยายน 2565
12 กันยายน 2565
5 กันยายน 2565
29 สิงหาคม 2565
22 สิงหาคม 2565
15 สิงหาคม 2565
8 สิงหาคม 2565
1 สิงหาคม 2565
25 กรกฎาคม 2565
18 กรกฎาคม 2565
11 กรกฎาคม 2565
4 กรกฎาคม 2565
27 มิถุนายน 2565
20 มิถุนายน 2565
13 มิถุนายน 2565
6 มิถุนายน 2565
30 พฤษภาคม 2565
23 พฤษภาคม 2565
16 พฤษภาคม 2565
9 พฤษภาคม 2565
2 พฤษภาคม 2565
25 เมษายน 2565
18 เมษายน 2565
11 เมษายน 2565
4 เมษายน 2565
28 มีนาคม 2565
21 มีนาคม 2565
14 มีนาคม 2565
7 มีนาคม 2565
28 กุมภาพันธ์ 2565
21 กุมภาพันธ์ 2565
11 กุมภาพันธ์ 2565
4 กุมภาพันธ์ 2565
28 มกราคม 2565
21 มกราคม 2565
14 มกราคม 2565
7 มกราคม 2565
30 ธันวาคม 2564
24 ธันวาคม 2564
17 ธันวาคม 2564
10 ธันวาคม 2564
3 ธันวาคม 2564
26 พฤศจิกายน 2564
16 พฤศจิกายน 2564
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์สอดคล้องกับสัญญาณเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรไทย (นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทยประมาณ 4.76 หมื่นล้านบาทระหว่างวันที่ 8-12 พ.ย.) ประกอบกับน่าจะมีอานิสงส์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้ส่งออกตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก อย่างไรก็ดีเงินบาทลดช่วงแข็งค่าลงบางส่วนช่วงระหว่างสัปดาห์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นหลังจากอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ เพิ่มแตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งทำให้นักลงทุนเริ่มให้น้ำหนักต่อความเป็นไปที่เฟดอาจจะจำเป็นต้องส่งสัญญาณคุมเข้มเร็วขึ้น ... อ่านต่อ
5 พฤศจิกายน 2564
เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแกว่งตัวผันผวนตามจังหวะการลงทุนในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงก่อนการประชุมเฟด แต่กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ กลับมาได้รับแรงหนุนจากตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง (เช่น ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน) แม้จะเผชิญแรงขายช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ หลังเฟดปรับลด QE ตามที่ตลาดคาด และส่งสัญญาณอดทนต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย... อ่านต่อ
29 ตุลาคม 2564
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบผันผวน แต่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ขาดแรงหนุนหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ย่อตัวลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 1.60% อย่างไรก็ดีเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ตามค่าเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียท่ามกลางความกังวลต่อสัญญาณเปราะบางของตลาดอสังหาริมทรัพย์จีน แต่เงินบาทสามารถพลิกกลับมาแข็งค่าอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ หลังเงินดอลลาร์ฯ ถูกดดันจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาด... อ่านต่อ
21 ตุลาคม 2564
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ แต่ขยับอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้นำเข้า ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนเพิ่มเติมจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยบอนด์ยีลด์อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ขยับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับประมาณ 1.67% อย่างไรก็ดีกรอบการอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดไว้บางส่วนตามจังหวะการสลับเข้าซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ ... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2564
เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 33.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ รับข่าวการเปิดประเทศที่ทางการไทยมีแผนจะดำเนินการต่อเนื่อง ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสัญญาณซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงตามการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทชะลอลงช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกประคองไว้จากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงมากกว่าที่คาด ... อ่านต่อ
8 ตุลาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 ปีครั้งใหม่ที่ 33.99 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในระหว่างสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับหลายสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ โดยมีแรงหนุนจากข้อมูลดัชนี ISM ภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวขึ้นในระยะนี้เพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ... อ่านต่อ
1 ตุลาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 ปีที่ 33.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ แต่สามารถฟื้นตัวได้บางส่วนช่วงท้ายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงสิ้นไตรมาส ประกอบกับมีแรงกดดันจากสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เพิ่มช่วงบวกได้ต่อตามกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการถอยออกจากมาตรการผ่อนคลายของเฟดในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ช่วงปลายสัปดาห์ หลังเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่เพิ่มมากกว่าที่คาด ประกอบกับตลาดยังติดตามปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
28 กันยายน 2564
เงินบาททยอยอ่อนค่าสอดคล้องกับแรงขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวมท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของจีน นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ก็ได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่สะท้อนว่า เฟดอาจเริ่มชะลอวงเงินมาตรการ QE ในเร็วๆ นี้ (อาจเป็นเดือนพ.ย.) ขณะที่ dot plot ชุดใหม่ของเฟดบ่งชี้ว่า ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อาจมีการปรับขึ้นในปีหน้า อย่างไรก็ดีเงินบาทฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ตามสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ... อ่านต่อ
17 กันยายน 2564
เงินบาทอ่อนค่าผ่านแนว 33.00 มาแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ที่ 33.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับแรงขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ (ภาพรวมทั้งสัปดาห์ขายสุทธิทั้งสิ้น 26,800 ล้านบาท) ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังจากข้อมูลยอดค้าปลีก และผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียที่ออกมาดีกว่าที่คาด กระตุ้นให้มีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ เนื่องจากประเมินว่า เฟดอาจให้สัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับการปรับลดวงเงิน QE ในการประชุมวันที่ 21-22 ก.ย.นี้... อ่านต่อ
10 กันยายน 2564
เงินบาทขยับแข็งค่ากลับมาได้เล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากปรับตัวในทิศทางอ่อนค่าในระหว่างสัปดาห์ตามจังหวะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ขยับแข็งค่าขึ้นในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า อย่างไรก็ดีเงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและทยอยปรับตัวแข็งค่ากลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ตามเงินหยวนและเงินเอเชียอื่นๆ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และการส่งสัญญาณปรับระดับการซื้อสินทรัพย์ผ่านโครงการซื้อสินทรัพย์ฉุกเฉินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ... อ่านต่อ
3 กันยายน 2564
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ตามแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ ยังคงเผชิญแรงกดดัน หลังจากประธานเฟดส่งสัญญาณไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย แม้สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้นจะทำให้เฟดพร้อมเริ่มลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ผ่าน QE ภายในปีนี้ก็ตาม อย่างไรก็ดีเงินบาททยอยอ่อนค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางเทคนิค และเพื่อปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
27 สิงหาคม 2564
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 6 สัปดาห์ที่ 32.61 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นจากแรงซื้อตามปัจจัยทางเทคนิค และการปรับโพสิชันของตลาดในระหว่างที่รอสุนทรพจน์ของประธานเฟดจากที่ประชุมเฟดประจำปีที่แจ๊กสัน โฮล เพื่อประเมินสัญญาณเกี่ยวกับการชะลอมาตรการ QE นอกจากนี้เงินบาทยังได้รับอานิสงส์บางส่วนจากกระแสเงินทุนไหลเข้าที่สะท้อนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ท่ามกลางการคาดหวังว่า สถานการณ์การระบาดของโควิดอาจมีแนวโน้มคลี่คลายลงบ้างเมื่อเทียบกับจุดที่น่ากังวลในช่วงก่อนหน้านี้... อ่านต่อ
23 สิงหาคม 2564
เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยซึ่งยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ยืดเยื้อของการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวแข็งค่ากลับมาช่วงสั้นๆ ในเวลาต่อมาตามการปรับโพสิชันในระหว่างที่รอบันทึกการประชุมเฟด เงินบาทกลับมามีทิศทางอ่อนค่าอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ตามจังหวะสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากกระแสการคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะมีการเริ่มปรับลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ภายใต้มาตรการ QE ลงภายในสิ้นปีนี้เป็นอย่างเร็ว หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ... อ่านต่อ
13 สิงหาคม 2564
เงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่า หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปีที่ 33.49 บาทต่อดอลลาร์ฯ ระหว่างสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลต่อการระบาดของโควิดในประเทศ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่ระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการทยอยปรับลดวงเงินการทำ QE ต่อเดือนลงภายในปีนี้ อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวขึ้นช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ตามแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อทำกำไร ก่อนจะกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ตามความเสี่ยงของโควิดที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนอีกครั้งจากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่สะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่อง ... อ่านต่อ
6 สิงหาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 3 ปีที่ 33.39 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าท่ามกลางสัญญาณเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในประเทศ ที่มีผลกระทบต่อเนื่องไปยังแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้า นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งกระตุ้นให้เกิดกระแสการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่เฟดจะเริ่มทยอยลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการ QE ภายในปีนี้เป็นอย่างเร็ว อนึ่ง ในช่วงระหว่างวันที่ 2-6 ส.ค. เงินบาทอ่อนค่าลงแล้ว 1.4%... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 15 เดือนครึ่งที่ 32.99 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงท่ามกลางความกังวลต่อการเร่งตัวขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่สร้างแรงกดดันต่อความสามารถในการรองรับสถานการณ์ของระบบสาธารณสุขไทย นอกจากนี้เงินบาทยังเผชิญแรงขายตามค่าเงินหยวนและบางสกุลเงินในภูมิภาคในช่วงต้นสัปดาห์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วน หลังผลการประชุมเฟดที่สะท้อนว่า เฟดน่าจะยังไม่รีบคุมเข้มนโยบายการเงินในอนาคตอันใกล้กดดันเงินดอลลาร์ฯ ให้อ่อนค่าลง... อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2564
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 15 เดือนครั้งใหม่ที่ 32.94 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่อง หลังข้อมูลยอดผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้นและอยู่ในระดับที่สูงกว่าหมื่นรายต่อวันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงจากวิกฤตโควิด 19 ที่กำลังมีผลกระทบต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้สกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียก็กลับมามีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
16 กรกฎาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 15 เดือน ที่ 32.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททรงตัวในกรอบแคบในช่วงแรก ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดัน หลังประธานเฟดส่งสัญญาณไม่รีบคุมเข้มนโยบายการเงิน แม้ว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะขยับสูงขึ้น อย่างไรก็ดีเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ท่ามกลางสถานการณ์ที่น่ากังวลของโควิด 19 ประกอบกับไทยยังคงมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการวัคซีน นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนให้สามารถฟื้นตัวได้ในช่วงปลายสัปดาห์จากข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาดด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
9 กรกฎาคม 2564
เงินบาทเผชิญแรงขายอย่างหนัก โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 15 เดือนที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์โควิดในประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากจะทำให้ทางการไทยต้องยกระดับมาตรการควบคุมสถานการณ์และจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแล้ว ความเสี่ยงจากโควิดที่ยืดเยื้อยังมีผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีภาพการอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งต่างก็เผชิญกับวิกฤตโควิดกลายพันธุ์เช่นเดียวกัน ... อ่านต่อ
2 กรกฎาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 13 เดือนที่ระดับ 31.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลง ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนเป็นระยะจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่สะท้อนความเป็นไปได้ว่าสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ อาจมาเร็วกว่าที่คาด นอกจากนี้เงินบาทยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากความกังวลต่อความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประเทศ และมุมมองของ กนง. ที่ระมัดระวังมากขึ้นในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้า ... อ่านต่อ
21 มิถุนายน 2564
14 มิถุนายน 2564
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับมีปัจจัยบวกตั้งแต่ในช่วงต้นสัปดาห์จากข่าวการปูพรมเร่งฉีดวัคซีนทั่วประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ทยอยอ่อนค่าลงตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ร่วงลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 1.50% เนื่องจากตลาดประเมินว่า แม้เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะขยับขึ้น แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็อาจจะยังไม่รีบส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินในเร็วๆ นี้ ... อ่านต่อ
7 มิถุนายน 2564
เงินบาททยอยอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสัญญาณซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดีเงินบาทลดช่วงบวกลง และทยอยอ่อนค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูล PMI และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค. กระตุ้นความกังวลของตลาดเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และหนุนให้บอนด์ยีลสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์ฯ ปรับตัวขึ้น... อ่านต่อ
28 พฤษภาคม 2564
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และข้อมูลการส่งออกเดือนเม.ย. ของไทยที่เติบโตดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังเผชิญแรงกดดันระหว่างสัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดออกมากล่าวย้ำว่า เฟดจะยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง และมองว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเป็นภาวะชั่วคราว ... อ่านต่อ
21 พฤษภาคม 2564
เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปี ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ขยับแข็งค่าขึ้น หลังบันทึกการประชุมเฟดระบุว่า คณะกรรมการเฟดมีการหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ และกรรมการบางท่านเสนอให้เริ่มหารือเกี่ยวกับการชะลอวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวแข็งค่ากลับมาได้ช่วงปลายสัปดาห์ หลังแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงกระตุ้นให้มีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ที่เป็นสกุลเงินปลอดภัยออกมา... อ่านต่อ
14 พฤษภาคม 2564
เงินบาทอ่อนค่าลง หลังขยับแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์รับข่าวตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่เพิ่มน้อยกว่าที่ตลาดคาด ทั้งนี้เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงตั้งแต่ในช่วงกลางสัปดาห์ สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ฟื้นตัวขึ้นตามทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังข้อมูลเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นมากกว่าที่คาด และทำให้ตลาดกังวลว่า สัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟดอาจจะมาเร็วกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มจำกัดลงช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายหลังรองประธานเฟดออกมาย้ำสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง และมองว่า ภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะเป็นเพียงภาวะชั่วคราว ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2564
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด โดยหลังจากที่เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ตามการปรับโพสิชันหลังตลาดในประเทศกลับมาเปิดทำการ เงินบาทก็ขยับอ่อนค่าลงในช่วงต่อมาท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด 19 รอบสามในประเทศ อย่างไรก็ดีเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากการที่ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยรมว. คลังสหรัฐฯ ออกมากล่าวย้ำว่า ไม่ได้ต้องการแทรกแซงการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยของเฟด และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะเงินเฟ้อยังไม่ได้สร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ... อ่านต่อ
30 เมษายน 2564
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือน ที่ 31.135 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังแข็งค่าผ่านแนว 31.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นตามสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สะท้อนว่า เฟดจะยังคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป และจะไม่รีบลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนภายใต้มาตรการ QE เนื่องจากประเมินว่า สถานการณ์โควิดที่ไม่แน่นอนยังคงเป็นความเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
23 เมษายน 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 31.44 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประเทศระลอกสาม ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อเร่งตัวสูงขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมในช่วงท้ายๆ สัปดาห์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลต่อข้อเสนอแผนการปรับขึ้นภาษีของ ปธน. โจ ไบเดน ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด ซึ่งสะท้อนสัญญาณการทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
16 เมษายน 2564
เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 6 เดือนที่ 31.57 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงแรก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประเทศระลอกสาม ซึ่งยากต่อการควบคุมและอาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะที่เหลือของปี อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ตามจังหวะการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
9 เมษายน 2564
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 6 เดือน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับอานิสงส์จากข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเดือนมี.ค. ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด ซึ่งหนุนความหวังต่อแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นอกจากนี้เงินบาทยังเผชิญแรงขายต่อเนื่อง และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 6 เดือนที่ 31.51 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรอบสามของโควิด 19 ในประเทศ ซึ่งมีการแพร่กระจายออกไปในหลายจังหวัดอย่างรวดเร็ว ... อ่านต่อ
2 เมษายน 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 เดือนครึ่งที่ 31.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ได้รับแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับข่าวการผิดนัดชำระการเพิ่มเงินประกันของเฮดจ์ฟันด์รายหนึ่งในสหรัฐฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของปธน. โจ ไบเดน ขณะที่เงินบาทเผชิญแรงกดดันจากผลของการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติในช่วงก่อนสิ้นไตรมาส 1/64 ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
26 มีนาคม 2564
เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค แต่สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงที่สะท้อนความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของประธานเฟดและรมว.คลังสหรัฐฯ และจากข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด นอกจากนี้เงินบาทยังถูกกดดันเพิ่มเติมจากตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนก.พ. ที่อ่อนแอ อย่างไรก็ดีกรอบการอ่อนค่าของเงินบาทชะลอลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ท่ามกลางบรรยากาศการฟื้นตัวขึ้นของตลาดหุ้นและสกุลเงินเอเชียในภาพรวม... อ่านต่อ
19 มีนาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 เดือนที่ 30.99 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ขยับแข็งค่าขึ้นทั้งเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ท่ามกลางอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยบอนด์ยีลด์อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ กลับมาทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 เดือนที่ 1.75% ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าเฟดจะย้ำมุมมองว่าเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นภาวะชั่วคราว และเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและวงเงิน QE ไว้ตามเดิมต่อไป ... อ่านต่อ
12 มีนาคม 2564
เงินบาทขยับอ่อนค่า แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือนที่ 30.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (บอนด์ยีลด์) ซึ่งมีแรงหนุนมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีเงินบาทฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนตามจังหวะการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งและหนุนเงินดอลลาร์ฯ... อ่านต่อ
5 มีนาคม 2564
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือนที่ 30.51 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (บอนด์ยีลด์) ซึ่งได้อานิสงส์หลักๆ หลังประธานเฟดไม่ส่งสัญญาณว่าจะมีเครื่องมือเพิ่มเติมในการชะลอการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ นอกจากนี้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ยังมีแรงหนุนจากความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด... อ่านต่อ
25 กุมภาพันธ์ 2564
เงินบาทขยับกลับมายืนในฝั่งอ่อนค่ากว่าแนว 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลางความหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลงบางส่วนในระหว่างสัปดาห์ตามสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินจากถ้อยแถลงของประธานเฟด แต่เงินบาทก็กลับมาอ่อนค่าอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่บันทึกยอดขาดดุลในเดือนม.ค. ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2564
เงินบาทขยับอ่อนค่า แต่ฟื้นตัวได้บางส่วนปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงแรก ก่อนจะเริ่มอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าลงได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากกรอบขาขึ้นของเงินดอลลาร์ฯ ถูกจำกัดลง หลังจากตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด ... อ่านต่อ
11 กุมภาพันธ์ 2564
เงินบาททยอยแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับทิศทางของหลายสกุลเงินในเอเชียและแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงโดยมีแรงหนุนจากความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่องของประธานเฟด ขณะที่การปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และข้อมูลที่สะท้อนว่า แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
5 กุมภาพันธ์ 2564
เงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อย โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ขณะที่มติของกนง. ซึ่งคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% มีผลต่อเงินบาทในกรอบจำกัด เนื่องจากเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดีเงินบาททยอยอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาด และความหวังต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังประธานาธิบดี โจ ไบเดนส่งสัญญาณเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเร่งการฉีดวัคซีนให้ประชาชนสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
29 มกราคม 2564
เงินบาทกลับมาแข็งค่าช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์เพื่อรอปัจจัยใหม่มากระตุ้น ก่อนจะขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังเงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากผลการประชุมเฟดที่มีมติคงดอกเบี้ยและวงเงิน QE ตามเดิม โดยไม่ได้ผ่อนคลายมาตรการใดๆ เพิ่มเติม แม้จะมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับตลาดกังวลว่า ปธน.โจ ไบเดนอาจเผชิญอุปสรรคในการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสภาคองเกรส อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ... อ่านต่อ
22 มกราคม 2564
เงินบาทขยับแข็งค่าเล็กน้อย หลังอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียท่ามกลางความกังวลต่อหลายปัจจัยเสี่ยง อาทิ ผลกระทบจากโควิดต่อเศรษฐกิจโลก ประเด็นปัญหาของวัคซีนที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงความกังวลต่อปัจจัยทางการเมืองก่อนพิธีสาบานตนของปธน. คนใหม่ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีเงินบาททยอยแข็งค่าในช่วงต่อมา ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าจากสัญญาณเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ของปธน. โจ ไบเดน ... อ่านต่อ
15 มกราคม 2564
เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบ แต่ขยับแข็งค่าเล็กน้อยช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ประกอบกับมีแรงซื้อดอลลาร์ฯ ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางปัญหาทางการเมืองภายในของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยลดช่วงอ่อนค่าและกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังประธานเฟดยังคงส่งสัญญาณเดินหน้ามาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะยังไม่ปรับขึ้นในเร็วๆนี้ ... อ่านต่อ
8 มกราคม 2564
เงินบาทอ่อนค่าลง หลังจากขยับแข็งค่าเล็กน้อยช่วงต้นสัปดาห์ตามเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังขาดปัจจัยใหม่ๆ มาสนับสนุน อย่างไรก็ดีเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงตามสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ประกอบกับมีปัจจัยลบจากแรงขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาดหนุนให้มีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ เพิ่มเติม (ก่อนรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร) ในระหว่างสัปดาห์ ธปท. มีการผ่อนคลายการทำธุรกรรมเงินบาทภายใต้โครงการ NRQC เพื่อช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินบาทที่เกิดจากการทำธุรกรรมในต่างประเทศ ... อ่านต่อ
25 ธันวาคม 2563
เงินบาทอ่อนค่า แต่ฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ตามสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกและในไทย ซึ่งในอีกด้านหนึ่งก็เป็นปัจจัยที่หนุนเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัย อย่างไรก็ดีเงินบาทสามารถลดช่วงอ่อนค่า และทยอยฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงท้ายๆ สัปดาห์ตามแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชัน หลังจากที่ประชุม ศบค. กำหนดมาตรการดูแลสถานการณ์โควิดในประเทศ โดยให้มีการคุมเข้มเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ได้ล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ... อ่านต่อ
18 ธันวาคม 2563
เงินบาทแข็งค่าทะลุแนว 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงแรก ก่อนจะพลิกแข็งค่าขึ้นในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 ปีครึ่งที่ 29.76 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยมีแรงหนุนอย่างต่อเนื่อง หลังรายงานการประเมินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ จัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มจับตาใกล้ชิด ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงกดดันเพิ่มเติมจากผลการประชุมเฟดที่ยังคงดอกเบี้ยและวงเงินซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนที่ 1.2 แสนล้านดอลลาร์ฯ ตามเดิม ซึ่งสะท้อนสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่องในช่วงปีหน้า ... อ่านต่อ
11 ธันวาคม 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น และเข้าทดสอบแนว 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงกลางสัปดาห์ก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศ โดยการแข็งค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสัญญาณอ่อนแอของเงินดอลลาร์ฯ และแรงขายเงินดอลลาร์ฯของกลุ่มผู้ส่งออก ประกอบกับมีจังหวะการสลับเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยวันอังคาร และซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทยในวันพุธของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
4 ธันวาคม 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค แต่สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย โดยเงินดอลลาร์ฯเผชิญแรงขายท่ามกลางความหวังต่อการใช้วัคซีนต้านโควิด-19 ประกอบกับมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่องที่สะท้อนจากถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ การจ้างงานภาคเอกชนและดัชนี ISM ภาคบริการเดือนพ.ย. ที่ออกมาดีน้อยกว่าที่ตลาดคาดก็เป็นปัจจัยกดดันเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
27 พฤศจิกายน 2563
เงินบาทกลับมาแข็งค่า แม้ธปท. เพิ่มมาตรการดูแลเงินบาท ทั้งนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์แตะระดับแข็งค่าสุดรอบ 10 เดือนที่ 30.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับสกุลเงินเอเชียก็มีแรงหนุนจากการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีเงินบาททยอยอ่อนค่ากลับมาช่วงกลางสัปดาห์หลังทางการส่งสัญญาณเตือนถึงการแข็งค่าที่เร็วเกินไป ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตลาดมองว่า มาตรการธปท. ... อ่านต่อ
20 พฤศจิกายน 2563
เงินบาทกลับมาแข็งค่า แม้ธปท. เพิ่มมาตรการดูแลเงินบาท ทั้งนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์แตะระดับแข็งค่าสุดรอบ 10 เดือนที่ 30.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับสกุลเงินเอเชียก็มีแรงหนุนจากการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีเงินบาททยอยอ่อนค่ากลับมาช่วงกลางสัปดาห์หลังทางการส่งสัญญาณเตือนถึงการแข็งค่าที่เร็วเกินไป ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตลาดมองว่า มาตรการธปท. ทั้ง 3 เรื่อง ได้แก่ ปรับเกณฑ์ FCD คลายเกณฑ์ลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย และกำหนดลงทะเบียนแสดงตัวตนซื้อ-ขายตราสารหนี้ เป็นมาตรการที่เน้นดูแลสมดุลเงินทุนเคลื่อนย้าย ไม่ใช่การสกัดเงินทุนไหลเข้า ... อ่านต่อ
13 พฤศจิกายน 2563
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดรอบ 10 เดือนที่ 30.175 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะลดช่วงบวกลงบางส่วน เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียตอบรับชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของนายโจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครตและความคืบหน้าของวัคซีนต้านโควิด-19 นอกจากนี้เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติเช่นกัน เงินบาทรักษาทิศทางแข็งค่า แม้ว่าสัญญาณการระบาดของโควิด-19 เริ่มรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ... อ่านต่อ
6 พฤศจิกายน 2563
เงินบาทแข็งค่าขึ้นผ่านแนว 31.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยได้รับแรงหนุนในช่วงแรกจากทิศทางการแข็งค่าของเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางแรงกดดันเงินดอลลาร์ฯ หลังมีการคาดการณ์ว่า นายโจ ไบเดนผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคเดโมแครตอาจชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ นอกจากนี้เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติเช่นกัน (ตลอดสัปดาห์ซื้อสุทธิ 2.586 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 9 เดือนที่ 30.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ตลาดรอติดตามสัญญาณความไม่แน่นอนหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ และปัจจัยทางการเมืองในประเทศของไทย ... อ่านต่อ
30 ตุลาคม 2563
22 ตุลาคม 2563
16 ตุลาคม 2563
9 ตุลาคม 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 31.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการแข็งค่าของเงินบาทสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขาย หลังรายงานข่าวระบุว่า ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์สามารถออกจากโรงพยาบาล กลับมากักตัวต่อที่ทำเนียบขาว ประกอบกับตลาดเริ่มมีความหวังอีกครั้งในเรื่องมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากโควิด-19 หลังปธน. ทรัมป์ เปิดโอกาสสำหรับการผ่านบางมาตรการออกมาก่อนเลือกตั้ง นอกจากนี้ภาพรวมสกุลเงินเอเชียยังได้อานิสงส์เพิ่มเติมในช่วงปลายสัปดาห์ตามสัญญาณการแข็งค่าของเงินหยวนหลังตลาดการเงินจีนกลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลังจากช่วงวันหยุดยาว... อ่านต่อ
25 กันยายน 2563
เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าบางส่วน หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือนที่ 31.67 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเกือบตลอดสัปดาห์สอดคล้องกับแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงและสกุลเงินในภูมิภาค ประกอบกับตลาดรอติดตามปัจจัยทางการเมืองในประเทศอย่างใกล้ชิด ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังข้อมูล PMI เดือนก.ย. ของสหรัฐฯ และยูโรโซนมีสัญญาณอ่อนแอ รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป อย่างไรก็ดีกรอบการอ่อนค่าของเงินบาทจำกัดลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามหลายปัจจัยสำคัญในสัปดาห์ถัดไป... อ่านต่อ
18 กันยายน 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น ตามทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ซึ่งมีแรงหนุนจากข่าวการพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายตามการส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงิน และยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำเป็นเวลานานของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (อาทิ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านที่หดตัวลง) ก็อ่อนแอกว่าที่คาดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับจังหวะการซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
11 กันยายน 2563
เงินบาททรงตัวในกรอบแคบ แม้ขยับแข็งค่าเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับสัญญาณซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางแข็งค่าของเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโร หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังไม่ผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพิ่มเติม ประกอบกับมีปัจจัยลบจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดีกรอบการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยทางการเมืองในประเทศ... อ่านต่อ
3 กันยายน 2563
เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยแตะระดับ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนวันหยุดยาวของตลาดการเงินในประเทศ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสัญญาณขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกในระหว่างสัปดาห์จากข้อมูล PMI/ISM ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด นอกจากนี้ตลาดยังคงรอติดตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และประเด็นการเมืองในประเทศของไทยอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2563
เงินบาทแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินเอเชียและเงินหยวน (หลังการหารือของสหรัฐฯ-จีนในเรื่องดีลการค้าเฟสแรกมีความคืบหน้า) ประกอบกับมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิคหลังเงินบาทแข็งค่าผ่านหลายแนวสำคัญระหว่างสัปดาห์ ทั้งนี้เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจนถึงปลายสัปดาห์ และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 31.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ กลับมาอ่อนค่าลง (จากที่ฟื้นตัวช่วงสั้นๆ หลังปาฐกถาของประธานเฟดเป็นไปตามที่ตลาดคาด) เนื่องจากตลาดมองว่า การเปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยของเฟด จะทำให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นเวลานาน และจะไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยล่วงหน้าเพื่อสกัดความเสี่ยงเงินเฟ้อ ... อ่านต่อ
21 สิงหาคม 2563
เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นได้เพียงช่วงสั้นๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เนื่องจากการปรับตัวลงของบอนด์ยิลด์สหรัฐฯ หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าผิดหวัง อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยถูกกดดันจากความไม่แน่นอนของปัจจัยในประเทศ ทั้งประเด็นทางการเมือง และสถานการณ์ของโควิด-19 รวมถึงแรงขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังสามารถฟื้นตัวขึ้นได้บางส่วน หลังรายงานการประชุมเฟดไม่ได้สะท้อนว่า สหรัฐฯ จะมีโอกาสใช้ Yield Curve Control ในระยะใกล้ๆ นี้... อ่านต่อ
14 สิงหาคม 2563
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนก่อนกำหนดการหารือความคืบหน้าของการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรก นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายจากความไม่แน่นอนของบทสรุปของมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ของสหรัฐฯ ซึ่งทำเนียบขาวและสภาคองเกรสยังมีจุดยืนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามท่าทีระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/63 ของไทยในช่วงสัปดาห์ถัดไป ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจหดตัวลงในอัตราตัวเลขสองหลัก... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงท้ายสัปดาห์ หลังจากที่เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับภาพรวมของสกุลเงินเอเชีย ประกอบกับเงินบาทน่าจะได้รับอานิสงส์บางส่วนเพิ่มเติมจากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำด้วยเช่นกัน โดยเงินบาทแข็งค่าผ่านแนว 31.00 แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 30.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะลดช่วงบวกลงบางส่วนตามการปรับโพสิชัน หลังจากที่ธปท. เปิดเผยว่า เงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งธปท. จะติดตามการเคลื่อนไหวของเงินบาทอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แรงขายเงินดอลลาร์ฯ ยังชะลอลงช่วงท้ายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค.... อ่านต่อ
24 กรกฎาคม 2563
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนครึ่งครั้งใหม่ แต่ภาพรวมการเคลื่อนไหวของเงินบาทตลอดสัปดาห์ยังคงเป็นกรอบแคบ โดยเงินบาทมีปัจจัยกดดันด้านอ่อนค่าจากปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ ประกอบกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียถูกกระทบเป็นระยะจากสัญญาณที่มีความตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดีแรงเทขายเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงที่สินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัวจากข่าวการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทไว้ได้บางส่วน ... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2563
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนครึ่งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากปัจจัยในประเทศ ทั้งความกังวลต่อความเสี่ยงของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในประเทศ และปัจจัยทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางเทคนิค หลังเงินบาทอ่อนค่าผ่านระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ไปได้ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนครึ่งที่ระดับ 31.76 บาทต่อดอลลาร์ฯ ช่วงปลายสัปดาห์ ก่อนฟื้นกลับมาบางส่วน แต่ภาพรวมเงินบาทยังเป็นทิศทางอ่อนค่าสอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย หลังสหรัฐฯ-จีนมีประเด็นตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น... อ่านต่อ
3 กรกฎาคม 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่ากว่าแนว 31 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทในสัปดาห์นี้ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียบางส่วน ประกอบกับเงินบาทเริ่มทยอยอ่อนค่าลง หลังธปท. ส่งสัญญาณว่า การแข็งค่าของเงินบาทเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีมาตรการเข้ามาดูแล ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อคืนของนักลงทุน ประกอบกับความเสี่ยงที่ COVID-19 จะระบาดซ้ำในสหรัฐฯ และสัญญาณตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนในประเด็นฮ่องกง ช่วยหนุนแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
26 มิถุนายน 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยมีอานิสงส์จากสัญญาณทยอยคลายล็อกดาวน์เศรษฐกิจ และการออกมายืนยันว่า ข้อตกลงทางการค้าสหรัฐฯ และจีนในเฟสแรกยังเป็นไปตามเดิม นอกจากนี้เงินบาทยังแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องหลังกนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตามเดิม อย่างไรก็ดีกรอบการแข็งค่าของเงินบาทชะลอลงบางส่วน เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนเป็นระยะจากสถานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสัญญาณเสี่ยงต่อการระบาดซ้ำของโรคในหลายประเทศ... อ่านต่อ
19 มิถุนายน 2563
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัย หลังมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการระบาดของโควิด-19 ระลอกสองในสหรัฐฯ และจีนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ยอดค้าปลีกที่ออกมาดีกว่าที่คาดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าลง และฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่ตลาดยังคงรอปัจจัยใหม่ๆ มากระตุ้น โดยเฉพาะสัญญาณการระบาดซ้ำของโควิด-19 ในหลายๆ ประเทศ... อ่านต่อ
12 มิถุนายน 2563
เงินบาทแข็งค่าทะลุแนว 31.00 ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 4 เดือนที่ 30.83 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับคาดว่ามีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากกลุ่มผู้ส่งออก และผลจากปัจจัยทางเทคนิคที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องในระหว่างสัปดาห์ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังเผชิญแรงขาย หลังเฟดย้ำสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่อง พร้อมกับประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวรุนแรงถึง 6.5% ในปีนี้ อย่างไรก็ดีช่วงแข็งค่าของเงินบาทเริ่มจำกัดในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากตลาดรอติดตามท่าทีการเข้าดูแลค่าเงินของธปท. อย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
5 มิถุนายน 2563
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนครึ่งใกล้ๆ ระดับ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ประกอบกับน่าจะมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น แม้ว่าธปท. ได้ออกมาส่งสัญญาณดูแลเงินบาทให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน ขณะที่ฝั่งเงินดอลลาร์ฯ เองก็ไม่ได้รับแรงหนุนมากนักจากตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงน้อยกว่าที่คาดในเดือนพ.ค. เนื่องจากตลาดยังรอประเมินสัญญาณของตลาดแรงงานสหรัฐฯ จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
29 พฤษภาคม 2563
เงินบาททยอยแข็งค่า หลังขยับอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางท่าทีที่ตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อมา โดยมีแรงหนุนจากทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้นรับข่าวการพัฒนาวัคซีนรักษาโควิด-19 และการทยอยปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ (รวมไทย) ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทชะลอลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามแนวนโยบายของสหรัฐฯ ต่อกรณีที่จีนประกาศบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ในฮ่องกง ... อ่านต่อ
22 พฤษภาคม 2563
เงินบาททยอยแข็งค่า แต่ลดช่วงบวกเล็กน้อยปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงแรกสอดคล้องกับการฟื้นตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงรับข่าววัคซีนรักษาโควิด-19 ที่หนุนภาพรวมของสกุลเงินในภูมิภาค นอกจากนี้เงินบาทน่าจะมีปัจจัยบวกจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก และจากปัจจัยทางเทคนิคหลังแข็งค่าผ่านแนว 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกและกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ตามสัญญาณเงินทุนไหลออก ขณะที่นักลงทุนน่าจะซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจจะกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง... อ่านต่อ
15 พฤษภาคม 2563
เงินบาททยอยแข็งค่า และเข้าแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.02 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ สัญญาณเปิดเศรษฐกิจของหลายประเทศ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากข้อมูลเงินเฟ้อเดือนเม.ย. ที่ติดลบมากสุดในรอบ 11 ปีที่ -0.8% จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ช่วงแข็งค่าของเงินบาทจำกัดลงบางส่วน หลังนักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิพันธบัตรไทยในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นได้เล็กน้อย หลังประธานเฟด ยืนยันว่า สหรัฐฯ จะไม่มีการใช้อัตราดอกเบี้ยที่ติดลบ ... อ่านต่อ
8 พฤษภาคม 2563
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนครึ่งช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงแรกสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนในฐานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก อย่างไรก็ดีเงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางภาพรวมของสกุลเงินในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายเพื่อทำกำไรและปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
24 เมษายน 2563
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงแรก ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์โดยมีแรงหนุนจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกและสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้เงินบาทและสกุลเงินเอเชียยังได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากการฟื้นตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยง นำโดย ราคาน้ำมันในตลาดโลก หลังมีสัญญาณตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่านในช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ดีเงินบาทลดช่วงแข็งค่าลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ กลับมาได้รับแรงหนุนอีกครั้งจากความกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19... อ่านต่อ
17 เมษายน 2563
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ แต่ขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันให้อ่อนค่าลงท่ามกลางความหวังว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหลายๆ ประเทศจะเริ่มชะลอลง ซึ่งอาจนำไปสู่การเตรียมแผนที่จะยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์และกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง ... อ่านต่อ
10 เมษายน 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทได้รับอานิสงส์ในช่วงต้นสัปดาห์จากบรรยากาศของตลาดสินทรัพย์เสี่ยงฝั่งเอเชียที่มีแรงหนุนจากความหวังว่าการระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศอาจเริ่มมีสัญญาณนิ่งมากขึ้น ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ กลับมาเผชิญแรงขายในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่เฟดประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินหลายมาตรการวงเงินรวม 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งจะอัดฉีดเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี สถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ มีส่วนชะลอทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทไว้บางส่วน ... อ่านต่อ
3 เมษายน 2563
เงินบาททยอยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงท่ามกลางความกังวลต่อผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ประกอบกับยังมีแรงกดดันจากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทยังคงเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับหลายสกุลเงินในภูมิภาค เงินบาทสามารถลดช่วงอ่อนค่าลงได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นการปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
27 มีนาคม 2563
เงินบาททยอยแข็งค่ากลับมา หลังขยับอ่อนค่าช่วงสั้นๆ แตะระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลต่อผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ประกอบกับมีปัจจัยลบจากเงินทุนไหลออก อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่ากลับมาช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศทำ QE แบบไม่จำกัดวง นอกจากนี้ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ การพุ่งขึ้นของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์แตะ 3.28 ล้านราย ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา ก็เพิ่มแรงกดดันต่อเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
20 มีนาคม 2563
เงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับสัญญาณเงินทุนไหลออก ทั้งในส่วนของตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ความกังวลต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยจากความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศ ทั้งนี้ เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 15 เดือนที่ 32.74 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะลดช่วงอ่อนค่าลงได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางสกุลเงินในภูมิภาค โดยได้รับอานิสงส์บางส่วนจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกประชุมฉุกเฉินเพื่อลดดอกเบี้ย และออกมาตรการด้านสภาพคล่องบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ... อ่านต่อ
13 มีนาคม 2563
เงินบาทอ่อนค่าลง โดยได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินทั่วโลกและไทย ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นจากไวรัสโควิด-19 ที่เข้าสู่ภาวะการแพร่ระบาดใหญ่ (Pandemic) ในหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยในระหว่างสัปดาห์ 2.47 หมื่นล้านบาท และ 3.3 หมื่นล้านบาทตามลำดับ นอกจากนี้เงินบาทที่อ่อนค่าลงยังเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ 32.09 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะลดช่วงอ่อนค่าลงได้บางส่วน ตามการฟื้นตัวของตลาดหุ้นท้ายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
6 มีนาคม 2563
แม้เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นปลายสัปดาห์ แต่ภาพรวมทั้งสัปดาห์ยังเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค) ประกอบกับมีปัจจัยกดดันในระหว่างสัปดาห์จากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและสามารถฟื้นตัวขึ้นได้บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% แบบฉุกเฉินนอกรอบการประชุมตามวาระปกติ นอกจากนี้เงินบาทยังได้รับอานิสงส์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
28 กุมภาพันธ์ 2563
เงินบาทอ่อนค่าในช่วงแรก ก่อนจะกลับมาแข็งค่าช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาททยอยอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ตามทิศทางสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกประเทศจีน นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าได้ในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแรงซื้อคืนเงินบาทเพื่อปรับโพสิชันของนักลงทุน หลังจากที่เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือนที่ 31.93 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในระหว่างสัปดาห์... อ่านต่อ
21 กุมภาพันธ์ 2563
เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางแรงกดดันจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีรายงานสะท้อนว่า จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในหลายๆ ประเทศแถบเอเชีย นอกเหนือจากจีน นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันจากแรงขายตามปัจจัยทางเทคนิค (หลังอ่อนค่าทะลุ 31.50) ความกังวลต่อสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย และสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งสวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่ได้รับแรงหนุนในระหว่างสัปดาห์จากมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากบันทึกการประชุมเฟด ... อ่านต่อ
14 กุมภาพันธ์ 2563
เงินบาทขยับแข็งค่าเล็กน้อย โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนในช่วงแรกจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับสกุลเงินเอเชียในภาพรวมปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังมีรายงานที่สะท้อนว่าจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่) ในจีนเพิ่มในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อในจีนที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในมณฑลหูเป่ย ตลอดจนความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจากไวรัสดังกล่าว ทำให้สกุลเงินเอเชีย รวมถึงเงินบาท กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
7 กุมภาพันธ์ 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงแรกตามการปรับโพสิชันก่อนการประชุมกนง. อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังกนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาที่ 1% ขณะที่ผู้ว่าการธปท. ระบุว่า แม้เงินบาทได้อ่อนค่าลงมาแล้วตั้งแต่ต้นปี แต่ยังไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่มีความอ่อนไหวอยู่มาก ทั้งนี้เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ซึ่งสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน) ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
27 ธันวาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบแนว 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่ อย่างไรก็ดี กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทยังค่อนข้างแคบ ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายเริ่มเบาบาง เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงวันหยุดของเทศกาลปลายปี... อ่านต่อ
20 ธันวาคม 2562
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบตลอดสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าช่วงสั้นๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนการประชุมกนง. ซึ่งมีจุดสนใจอยู่ที่การทบทวนประมาณการเศรษฐกิจและสัญญาณดอกเบี้ยในปีหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ แม้ว่ากนง. จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ระดับเดิมตามที่ตลาดคาด เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ กลับมาเผชิญแรงขาย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสกุลเงินปลอดภัย (ทั้งเงินเยนและเงินบาท) หลังปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ถูกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ลงมติถอดถอนจากตำแหน่ง ประกอบกับมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย. และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนธ.ค.... อ่านต่อ
13 ธันวาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้แนว 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค นำโดย เงินหยวนของจีน หลังจากมีรายงานข่าวระบุว่าสหรัฐฯ และจีนใกล้ที่จะบรรลุดีลการค้าเฟสแรกระหว่างกัน ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายอย่างหนักหลังเฟดส่งสัญญาณภายหลังการประชุมรอบนี้ว่า จะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้าหากไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่หนุนเงินบาทเช่นกัน... อ่านต่อ
6 ธันวาคม 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงขายในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากข้อมูล PMI ของจีนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนพ.ย. กระตุ้นแรงขายสินทรัพย์และสกุลเงินปลอดภัย เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบประมาณ 1 เดือนที่ 30.38 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังธปท. ส่งสัญญาณติดตามการเคลื่อนไหวของเงินบาท พร้อมกับระบุเตือนถึงแนวโน้มที่เงินบาทอาจผันผวนและไม่ได้แข็งค่าเพียงด้านเดียวเหมือนในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ สถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติก็เป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมที่กดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
29 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ หลังประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และจีนต่างแสดงท่าทีเชิงบวกต่อโอกาสการเกิดดีลการค้าเฟสแรกระหว่าง 2 ประเทศ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด (อาทิ จีดีพีไตรมาส 3 และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค.) ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าได้เป็นระยะในระหว่างสัปดาห์ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-และจีน โดยเฉพาะในประเด็นฮ่องกงและการเจรจารายละเอียดของดีลการค้า ขณะที่เส้นตายกำหนดการที่สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนวันที่ 15 ธ.ค. กำลังใกล้เข้ามา... อ่านต่อ
15 พฤศจิกายน 2562
เงินบาททยอยแข็งค่า โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ที่ได้รับแรงหนุนท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีสัญญาณเชิงลบตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากล่าวว่ายังไม่มีการตอบตกลงเรื่องการทยอยลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน และสหรัฐฯ อาจปรับเพิ่มภาษีอีกครั้ง หากสองประเทศไม่บรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอประเมินความคืบหน้าของดีลการค้าของสหรัฐฯ-จีนอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
8 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ระดับ 30.43 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาททยอยอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยเผชิญแรงขายเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ในช่วงกลางสัปดาห์จากมติ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมาที่ 1.25% ซึ่งเกิดขึ้นในจังหวะเดียวกับการประกาศปรับปรุงเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกของธปท. นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินและสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ อาทิ เงินเยนและทองคำ ท่ามกลางสัญญาณบวกจากการบรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
1 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ใกล้แนว 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีที่ทำไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับแรงขายเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย หลังมีรายงานข่าวระบุว่า สหรัฐฯ และจีนใกล้ที่จะบรรลุดีลการค้าเบื้องต้นระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต่อมา ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายต่อเนื่องหลังการประชุมเฟด ซึ่งมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ตามที่ตลาดคาดลงมาที่กรอบ 1.50-1.75% นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
25 ตุลาคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีครั้งใหม่ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียและสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายต่อเนื่อง หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณอ่อนแอตอกย้ำโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนต.ค.นี้ เงินบาทเพิ่มช่วงบวกและทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีครั้งใหม่ที่ 30.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิคหลังเงินบาทแข็งค่าทะลุแนว 30.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
18 ตุลาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้ระดับ 30.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุม FOMC ช่วงปลายเดือนต.ค.นี้ นอกจากนี้สัญญาณบวกของข้อตกลง BREXIT ก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันเงินดอลลาร์ฯ เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
11 ตุลาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่ากลับมาช่วงปลายสัปดาห์ หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีที่ 30.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนในประเด็นการเจรจาการค้า และระหว่างสหภาพยุโรปและอังกฤษในเรื่องรายละเอียดของข้อตกลง BREXIT อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่ธปท. ส่งสัญญาณเตรียมจะออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทใน 1-2 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ แรงหนุนสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นรับความคาดหวังเชิงบวกต่อผลการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยกดดันของเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
4 ตุลาคม 2562
เงินบาทกลับมาแข็งค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ตามการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงจากสงครามการค้า สถานการณ์ BREXIT และสัญญาณการชะลอตัวของภาคการผลิตในสหรัฐฯ และยูโรโซน นอกจากนี้ สถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยลบต่อเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ตอกย้ำทิศทางชะลอตัว อาทิ การจ้างงานภาคเอกชน และดัชนี ISM ภาคบริการในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
23 สิงหาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งนี้ แม้นักลงทุนต่างชาติจะมีสถานะขายสุทธิในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทยในระหว่างสัปดาห์ แต่เงินบาทก็ยังคงแข็งค่าได้ต่อเนื่องจนถึงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอประเมินสัญญาณดอกเบี้ยสหรัฐฯ จากสุนทรพจน์ของประธานเฟด... อ่านต่อ
16 สิงหาคม 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ เลื่อนเก็บภาษีจากวงเงินสินค้านำเข้าจากจีน 3 แสนล้านดอลลาร์ฯ เป็นวันที่ 15 ธ.ค. นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นไปตามภาพรวมของตลาดสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว ร่วงลงมาอยู่ต่ำกว่าระยะสั้น ซึ่งกระตุ้นความกังวลต่อภาวะถดถอยของสหรัฐฯ เงินบาทยังคงปรับตัวในกรอบอ่อนค่าในช่วงท้ายสัปดาห์ สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่มีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากยอดค้าปลีกเดือนก.ค. ของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
9 สิงหาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนในช่วงต้นสัปดาห์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ประกอบกับตลาดมีความกังวลต่อสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมากขึ้น เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ (แม้ว่าจะมีจังหวะอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังกนง. มีมติปรับลดดอกเบี้ยนอกเหนือการคาดการณ์ของตลาดลงมาที่ 1.50%) โดยเงินบาทน่าจะมีแรงหนุนบางส่วนจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก จังหวะการเข้าซื้อพันธบัตรไทยของต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ และทิศทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ยังอ่อนแอเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ขณะที่ สกุลเงินในภูมิภาคบางส่วนเริ่มฟื้นตัวขึ้น จากที่อ่อนค่าลงตามเงินหยวนในช่วงต้นสัปดาห์ ... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงหลังผลการประชุมเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ที่ชะลอลงระหว่างที่ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดและการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังจากที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดยังไม่สะท้อนถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป แม้เฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุดก็ตาม สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดของสงครามการค้า แต่ลดช่วงติดลบกลับมาได้เกือบทั้งหมด ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงในระยะใกล้ๆ นี้ ประกอบกับมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ในทางกลับกัน เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับงบประมาณของสหรัฐฯ และการที่ IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางส่วนที่ออกมาดีกว่าที่คาด ทำให้ตลาดระมัดระวังมากขึ้นในการประเมินมุมมองดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมสิ้นเดือนก.ค. ... อ่านต่อ
12 กรกฎาคม 2562
เงินบาทผันผวน และอ่อนค่าลงปลายสัปดาห์ หลังมาตรการธปท.โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสของประธานเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากตลาดตีความถ้อยแถลงของประธานเฟดว่า เป็นการส่งสัญญาณถึงโอกาสการลดดอกเบี้ยลงในเร็วๆ นี้ เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากธปท. ออกมาตรการเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น โดยปรับลดเกณฑ์ยอดคงค้าง ณ สิ้นวันของบัญชี NRBA และ NRBS และยกระดับการรายงานข้อมูลถือครองตราสารหนี้ไทยของต่างชาติ... อ่านต่อ
5 กรกฎาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อย หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีในช่วงต้นสัปดาห์ที่ 30.52 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันเพิ่มเติม หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ กระตุ้นการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนบางส่วนจากแรงซื้อคืนเพื่อปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในช่วงปลายสัปดาห์... อ่านต่อ
28 มิถุนายน 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีครั้งใหม่ที่ 30.62 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางการคาดการณ์ถึงโอกาสการลดดอกเบี้ยในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนก.ค.นี้ อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ตามการปรับโพสิชันของนักลงทุน ก่อนที่จะแข็งค่ากลับมาอีกครั้งหลังผลการประชุม กนง. ซึ่งมีมติยืนดอกเบี้ยที่ระดับ 1.75% ตามเดิม ประกอบกับตลาดรอติดตามผลเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯ-จีนนอกรอบการประชุม G20... อ่านต่อ
21 มิถุนายน 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นและแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีที่ 30.79 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังผลการประชุมเฟด ซึ่งแม้ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมรอบนี้ แต่ได้ส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นสงครามการค้าและแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ... อ่านต่อ
14 มิถุนายน 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่ 31.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยกดดันจากกระแสการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางที่อ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ เงินเฟ้อที่ชะลอลง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
7 มิถุนายน 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าสอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติระหว่างสัปดาห์ สวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่เผชิญแรงกดดันจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่กล่าวถึง การดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกระตุ้นกระแสการคาดการณ์ว่า เฟดมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงภายในปีนี้ นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ที่อ่อนแอก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
31 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียบางส่วนที่เผชิญแรงกดดันจากสัญญาณความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถทยอยแข็งค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่ง กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานทบทวนนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ซึ่งไทยไม่ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ถูกติดตาม (Monitoring List) ตามที่มีความกังวลในช่วงก่อนหน้านี้ ... อ่านต่อ
24 พฤษภาคม 2562
เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าเข้าใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาคท่ามกลางความตึงเครียดมากขึ้นของสถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบ และดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิค ประกอบกับตลาดหุ้นและสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ก็ฟื้นตัวขึ้นด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
17 พฤษภาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ก่อนจะดีดตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ตลาดในประเทศรอติดตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับรายงานนโยบายค่าเงินของประเทศคู่ค้าโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางความไม่แน่นอนของประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาด... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าทดสอบระดับ 31.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางสัญญาณที่ตึงเครียดขึ้นของประเด็นทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับน่าจะมีแรงซื้อคืนเงินบาทบางส่วนหลังตลาดกลับมาเปิดทำการจากช่วงวันหยุดยาว อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์หลังผลการประชุมกนง. แต่ฟื้นตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนได้ช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าผิดหวัง ประกอบกับนักลงทุนยังคงรอติดตามการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
3 พฤษภาคม 2562
เงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อย แต่ภาพรวมตลอดสัปดาห์ยังคงทรงตัวอยู่ในกรอบแคบใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ไม่ได้รับแรงหนุนมากนักก่อนการประชุมเฟดกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้นหลังการประชุมเฟด เนื่องจากเฟดยังไม่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
26 เมษายน 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าไปที่ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือน ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาบางส่วนปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติม หลังเงินยูโร ถูกกดดันจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีและยูโรโซนในภาพรวม อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและฟื้นตัวกลับมาได้เล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
19 เมษายน 2562
เงินบาทอ่อนค่ากลับมาเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังตลาดในประเทศกลับมาเปิดทำการจากช่วงวันหยุดยาว โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด (อาทิ ยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงในเดือนก.พ. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ยังคงปรับตัวลงตลอด 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา และยอดค้าปลีกในเดือนมี.ค. ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น)... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานของสหรัฐฯ เดือนก.พ. ที่หดตัวลง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ ขณะที่ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ของ IMF ลงมาที่ 3.3% เพิ่มแรงกดดันต่อสกุลเงินในภูมิภาค เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับค่าเงินหยวน หลังตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค. ของจีน ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
5 เมษายน 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค หลังจากที่ข้อมูล PMI ของจีนในเดือนมี.ค. ออกมาแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากตลาดยังคงรอประเมินภาพที่ชัดเจนของปัจจัยทางการเมืองในประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ กลับมาได้รับแรงหนุนบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากสัญญาณที่สะท้อนภาพการคลี่คลายของประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
29 มีนาคม 2562
เงินบาทฟื้นตัวท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าลงในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับสัญญาณไหลออกของเงินทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทย ขณะที่ นักลงทุนรอติดตามปัจจัยทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนบางส่วนจากความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เงินบาทปรับตัวแตะระดับอ่อนค่าสุดของสัปดาห์ที่ 31.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ หลังจากปัจจัยทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ ... อ่านต่อ
22 มีนาคม 2562
เงินบาทแกว่งตัวระหว่างสัปดาห์ตามผลการประชุมกนง. และเฟด โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ก่อนจะอ่อนค่าไปที่ 31.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ (อ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์) ช่วงกลางสัปดาห์หลังผลการประชุมกนง. ซึ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% และมีการปรับลดตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ลง อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าในช่วงต่อมา ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังผลการประชุมเฟด โดยเฟดส่งสัญญาณว่า อาจจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในปีนี้ เงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในประเทศ... อ่านต่อ
15 มีนาคม 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากอัตราเงินเฟ้อ (ที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต) ของสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดในเดือนก.พ. ซึ่งตอกย้ำแนวโน้มการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางแรงกดดันจากสถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติและปัจจัยในประเทศ ก่อนจะมีแรงหนุนให้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงท้ายสัปดาห์ตามการแข็งค่าของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดวันที่ 19-20 มี.ค. นี้ ... อ่านต่อ
8 มีนาคม 2562
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือน ที่ 31.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาท สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.พ. ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลงมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
1 มีนาคม 2562
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน โดยเงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ แต่ขยับแข็งค่าได้เล็กน้อยท่ามกลางสัญญาณคลี่คลายของประเด็นตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 31.76 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนให้แข็งค่าขึ้น จากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/61 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ... อ่านต่อ
22 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี ที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยง เงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความคาดหวังต่อสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาทางการค้าสหรัฐฯ-จีน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงกลางสัปดาห์อีกด้วย อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการพบกับระหว่างปธน. ทรัมป์ และรองนายกรัฐมนตรีของจีน ประกอบกับเงินบาทมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกไทยที่หดตัวลงมากกว่าคาดในเดือนม.ค.... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทขยับแข็งค่าในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของค่าเงินและตลาดหุ้นในภูมิภาค ท่ามกลางความหวังว่า สหรัฐฯ และจีนอาจสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างกันได้ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมระหว่างสัปดาห์จากความคิดเห็นที่สนับสนุนการชะลอเวลาการขึ้นดอกเบี้ยจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณอ่อนแอ โดยเฉพาะยอดค้าปลีก และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
8 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ก่อนจะกลับมาอ่อนค่าลงปลายสัปดาห์ แม้ภาพรวมทิศทางของเงินบาทในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ จะเป็นกรอบการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างแคบ แต่เงินบาทก็ขยับแข็งค่าได้เล็กน้อยตามแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากธปท. ส่งสัญญาณพร้อมเข้าดูแลหากพบความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของเงินบาท ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยช่วงปลายสัปดาห์เช่นกัน... อ่านต่อ
1 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 9 เดือนที่ 31.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังการประชุมเฟด โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขาย ท่ามกลางสัญญาณชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยเฟดได้ปรับเปลี่ยนข้อความที่เคยระบุถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป มาเป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินด้วยความระมัดระวัง ... อ่านต่อ
25 มกราคม 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น หลังจากที่อ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามการอ่อนค่าของเงินหยวน ประกอบกับมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกเดือนธ.ค. ของไทยที่อ่อนแอกว่าที่คาด โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ในช่วงกลางสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ หลังมีความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นการเลือกตั้งของไทย ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากภาวะชัตดาวน์หน่วยงานราชการสหรัฐฯ ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค. ที่หดตัวกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
18 มกราคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน ก่อนลดช่วงบวกลงเล็กน้อยปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการฟื้นตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด สัญญาณที่ตอกย้ำแนวโน้มการชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ จากรองประธานเฟด และภาวะชัตดาวน์หน่วยงานราชการสหรัฐฯ ที่ยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกบางส่วนลงก่อนปิดตลาดในประเทศช่วงปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
11 มกราคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครั้งใหม่ที่ 31.87 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงกดดันเงินดอลลาร์ฯ ที่มาจากหลายด้าน โดยเฉพาะสัญญาณชะลอจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (ซึ่งถูกตอกย้ำทั้งจากการแสดงความคิดเห็นของประธานเฟด และบันทึกการประชุมเฟด) รวมถึงความกังวลต่อความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ยืดเยื้อของภาวะชัตดาวน์ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาค และเงินหยวน ก็เป็นปัจจัยที่หนุนการแข็งค่าของเงินบาทด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
4 มกราคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 7 เดือนที่ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นชัตดาวน์ของสหรัฐฯ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด เพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ฯ และทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงแข็งค่าเล็กน้อยก่อนปิดตลาดปลายสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน หลังธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรอง RRR ลง 1% เพื่อหนุนเศรษฐกิจจีน ... อ่านต่อ
28 ธันวาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบแนว 32.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ท่ามกลางแรงเทขายเงินดอลลาร์ฯ จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะชัตดาวน์หน่วยงานราชการของสหรัฐฯ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่การเคลื่อนไหวระหว่างสัปดาห์ยังคงอยู่ในกรอบแคบ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนลงบางส่วน หลังมีรายงานข่าวระบุว่า จีนอาจพิจารณาปรับลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลัง ECB ปรับลดตัวเลขประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนลง ประกอบกับน่าจะมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมเฟด (18-19 ธ.ค.) ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
7 ธันวาคม 2561
เงินบาทแกว่งตัวเป็นกรอบ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับสกุลเงิน-ตลาดหุ้นในภูมิภาค ตลอดจนสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดัน หลัง ปธน. สหรัฐฯ และจีนเห็นพ้องให้เลื่อนกำหนดระยะเวลาที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ ออกไป 90 วัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกบางส่วนและกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงปีหน้า กระตุ้นให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงและปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง ... อ่านต่อ
30 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาแข็งค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดกำลังเข้าใกล้ระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ โดยถ้อยคำดังกล่าว ถูกตีความเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะมีจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงในช่วงปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทยังคงจำกัด เนื่องจากตลาดยังคงรอประเมินสัญญาณจากการหารือนอกรอบประชุม G20 ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีนเกี่ยวกับประเด็นทางการค้า ... อ่านต่อ
23 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกระตุ้นให้ตลาดบางส่วนเริ่มประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปีหน้าอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา โดยมีปัจจัยลบจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3 ของไทยที่เติบโตน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม เนื่องจากตลาดยังคงรอความชัดเจนของข้อตกลง BREXIT และประเด็นทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
16 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาแข็งค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ท่ามกลางปัจจัยหนุนเงินดอลลาร์ฯ จากแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อมา ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย ท่ามกลางความคาดหวังต่อข้อสรุปการเจรจาข้อตกลง BREXIT ระหว่างอังกฤษและอียู และข้อพิพาททางการค้าสหรัฐฯ และจีน นอกจากนี้ เงินบาทอาจจะได้รับแรงหนุนบางส่วนจากผลการประชุมกนง. (14 พ.ย.) ซึ่งแม้ว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% ตามเดิม แต่ก็มีคณะกรรมการฯ จำนวนมากขึ้นที่มองว่า ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ ทั้งนี้ เงินบาทกลับมาทรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ ตลาดยังคงรอความชัดเจนของประเด็น BREXIT และการเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
9 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง เงินบาทแกว่งตัวในช่วงต้นสัปดาห์รอผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ก่อนจะขยับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงกดดันของเงินดอลลาร์ฯ หลังผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ สิ้นสุดลงด้วยการครองเสียงข้างมากในแต่ละสภาของทั้ง 2 พรรค โดยเดโมแครตกลับมาครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ขณะที่ รีพับลิกันครองเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นหลังผลการประชุมเฟดแม้เฟดจะยืนดอกเบี้ยไว้ตามเดิม เนื่องจากสัญญาณจากเฟดยังคงย้ำถึงการคุมเข้มนโยบายการเงินต่อเนื่องในระยะใกล้ๆนี้ โดยเฉพาะการประชุมเฟดเดือนธ.ค. ... อ่านต่อ
26 ตุลาคม 2561
เงินบาททยอยอ่อนค่าจนหลุดแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันจากข้อมูลการส่งออกไทยที่ออกมาหดตัวกว่าที่คาด ประกอบกับมีปัจจัยลบตลอดสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องแผนงบประมาณของอิตาลี และสหภาพยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมช่วงปลายสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ อาทิ ข้อมูลการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าในช่วงแรก แต่ลดช่วงบวกลงท้ายสัปดาห์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ตามสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนก.ย. ที่เพิ่มน้อยกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากบันทึกการประชุมเฟด (25-26 ก.ย.) ซึ่งตอกย้ำแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในช่วงปีหน้า ขณะที่ การอ่อนค่าของเงินหยวน หลังจีดีพีไตรมาส 3 ของจีนออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด ก็เป็นปัจจัยลบต่อสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และเงินบาท เช่นกัน ... อ่านต่อ
12 ตุลาคม 2561
เงินบาทฟื้นตัวขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามทิศทางค่าเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ในช่วงดังกล่าว เงินดอลลาร์ฯ ยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี CPI และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินหยวนที่กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ ก็เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
5 ตุลาคม 2561
เงินบาทอ่อนค่าทดสอบแนว 32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าที่คาด (อาทิ ตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน) เป็นปัจจัยบวกของค่าเงินดอลลาร์ฯ และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ... อ่านต่อ
28 กันยายน 2561
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่ภาพรวมยังเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างแคบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางภาวะตึงเครียดเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังมีรายงานข่าวระบุว่า จีนยกเลิกแผนการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ก่อนเส้นตายของมาตรการภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะเริ่มมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ ยังมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมเฟดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
เงินบาทกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน หลังการประชุมกนง. โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับกรณีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจากจีนรอบใหม่ อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวขึ้น และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ 32.32 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยได้รับแรงหนุนจากผลการประชุมกนง. ล่าสุดที่มีคณะกรรมการกนง. 2 เสียงเสนอให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ แถลงการณ์หลังการประชุมกนง. ระบุเพิ่มเติมถึงแนวโน้มการทยอยลดความจำเป็นสำหรับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
14 กันยายน 2561
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของสกุลเงินในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังได้แรงหนุนต่อเนื่องจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่ากลับมาในช่วงปลายสัปดาห์ตามสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากข้อมูลเงินเฟ้อ (ทั้งดัชนี PPI และ CPI) ของสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าที่คาด ขณะที่ สัญญาณที่เตรียมจะยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของ ECB ก็เป็นปัจจัยลบของดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
31 สิงหาคม 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครั้งใหม่ที่ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับมีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ รับรายงานข่าวที่สหรัฐฯ และเม็กซิโกสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.นี้ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวออกมาดีกว่าที่คาด นอกจากนี้ แรงขายสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ และสัญญาณจากธปท. ที่สะท้อนว่า มีการติดตามและเข้าดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.65 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังเงินหยวนและสกุลเงินภูมิภาคในภาพรวมขยับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางความคาดหวังต่อการเจรจารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน เพื่อลดความขัดแย้งในประเด็นด้านการค้าระหว่างสองประเทศ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ กลับมาเผชิญแรงขายอย่างหนัก หลังจากปธน. ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของประธานเฟด โดยไม่อยากให้เฟดดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดจนเกินไป อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงบางส่วนในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้น ตามแรงซื้อคืนของนักลงทุนก่อนการประชุมประจำปีของเฟดที่เมือง Jackson Hole ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากผลการเจรจาทางการค้าที่ไร้ข้อสรุประหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
17 สิงหาคม 2561
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ หลังความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตค่าเงิน Lira ของตุรกี กระตุ้นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ สกุลเงินในภูมิภาค รวมถึงเงินบาท อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงติดลบดังกล่าวลง และทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงต่อมา โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวขึ้นของเงินหยวน และสกุลเงินเอเชียในภาพรวม หลังจากที่มีรายงานระบุว่า ทางการจีน และสหรัฐฯ อาจมีการเจรจาเพื่อลดความขัดแย้งทางด้านการค้าระหว่างสองประเทศอีกครั้งในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าเล็กน้อยปลายสัปดาห์ เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการฟื้นตัวขึ้นของเงินหยวนระหว่างสัปดาห์ หลังสัญญาณจากธนาคารกลางจีน สะท้อนว่ายังมีการติดตามดูแลเสถียรภาพของเงินหยวนอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ แรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ฯ หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดลง ก็เป็นปัจจัยหนุนของเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวก และกลับมาอ่อนค่าลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า หนุนเงินดอลลาร์ฯ ให้แข็งค่าขึ้นในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ... อ่านต่อ
3 สิงหาคม 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ สอดคล้องกับเงินหยวนและเงินในภูมิภาค สวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังแถลงการณ์หลังการประชุมเฟดหนุนโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบหน้าเดือนก.ย. นอกจากนี้ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ก็ช่วยหนุนการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์ฯ ก่อนตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
13 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือน เงินบาททยอยอ่อนค่าลง และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือนที่ 33.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ (อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค ที่ขยับขึ้น และการปรับลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์) ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)... อ่านต่อ
6 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.29 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคทยอยอ่อนค่าลง สอดคล้องกับแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง และการอ่อนค่าของเงินหยวน (แม้ธนาคารกลางจีนได้ออกมาส่งสัญญาณเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินก็ตาม) ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนของสหรัฐฯ เริ่มมีผลบังคับใช้ตามกำหนดในวันที่ 6 ก.ค. 2561 อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่ม... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนที่ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนการปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนในภาพรวม ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นที่ยืดเยื้อของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะในเรื่องมาตรการกีดกันการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันในระหว่างสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าทดสอบแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ (อ่อนค่าสุดในรอบ 7 เดือน) โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนต่อเนื่องจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่ระบุถึงแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ ความกังวลต่อความไม่แน่นอนในเรื่องข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้า ก็เป็นปัจจัยที่กระตุ้นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง และกดดันสกุลเงินเอเชียในภาพรวมด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
15 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 เดือนที่ 32.46 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งหลังการประชุมเฟด ซึ่งมีสัญญาณสะท้อนแนวโน้มการคุมเข้มมากขึ้น โดยเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี (เทียบกับมุมมองเดิมที่สะท้อนการขึ้นดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในครึ่งปีหลัง) นอกจากนี้ การส่งสัญญาณยืนดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางยุโรป (แม้ยุติมาตรการ QE) ก็เป็นปัจจัยช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
1 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงกว่าระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของหลายๆ สกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโร ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของอิตาลี อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถฟื้นตัวกลับมาบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังปัญหาทางการเมืองของอิตาลีเริ่มคลี่คลาย และตลาดเปลี่ยนจุดสนใจมาที่ข้อพิพาททางการค้าของสหรัฐฯ และกับประเทศคู่ค้า... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเพียงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ หลังจากสหรัฐฯ และจีนบรรลุความเห็นชอบร่วมกันที่จะไม่ทำสงครามการค้า อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯ-จีน กดดันให้เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง ประกอบกับเงินบาท ก็มีปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อสุทธิพันธบัตรไทยอีกครั้ง... อ่านต่อ
18 พฤษภาคม 2561
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และผลสำรวจกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด และจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 ที่ระดับ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ ยังเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
11 พฤษภาคม 2561
เงินบาทปรับตัวทะลุแนว 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือนที่ 32.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าท่ามกลางแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ จากกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา อาจส่งผลทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้นในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงติดลบลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายทำกำไร หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
เงินบาทอ่อนค่าเข้าใกล้แนว 31.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนบางส่วนทยอยขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกทั้งหมด และกลับมาปรับตัวอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุน หลังจากที่แถลงการณ์หลังการประชุมเฟด สะท้อนภาพแรงกดเงินเฟ้อที่ขยับขึ้นเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของเฟดในปีนี้ ... อ่านต่อ
27 เมษายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนในระหว่างสัปดาห์ เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ขยับแข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเหนือระดับ 3.0% ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี) นอกจากนี้ ทิศทางที่อ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
20 เมษายน 2561
เงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อย แต่ในภาพรวมยังถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างแคบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนกลับมาบางส่วนจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงมองว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นเข้าสู่ระดับเป้าหมายของเฟดในปีนี้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ