24 ตุลาคม 2567
อุตสาหกรรม
... อ่านต่อ
FileSize KB
17 กรกฎาคม 2567
17 พฤษภาคม 2567
22 เมษายน 2567
21 มีนาคม 2567
8 มีนาคม 2567
8 พฤศจิกายน 2566
9 ตุลาคม 2566
30 พฤษภาคม 2566
28 เมษายน 2566
8 เมษายน 2566
22 มีนาคม 2566
1 มีนาคม 2566
ยอดขาย BEV ปี 66 ในไทยอาจแตะ 5 หมื่นคัน (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3384)... อ่านต่อ
30 ธันวาคม 2565
ไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมรถยนต์พลังงานสะอาด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในปี 2568 มีโอกาสที่รถยนต์ PHEV และ BEV สะสมในประเทศอาจพุ่งไปสูงถึง 300,000 คัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการชาร์จไฟฟ้าในประเทศที่จะเร่งตัวขึ้นนับจากนี้ ... อ่านต่อ
1 เมษายน 2565
มาตรการสนับสนุนของภาครัฐที่เพิ่งออกมา นับว่าส่งผลกระตุ้นตลาดรถยนต์ BEV ได้อย่างมาก ทำให้การแข่งขันเริ่มคึกคักขึ้นทันทีนำโดยค่ายรถจีนที่อาศัยจังหวะค่ายรถกระแสหลักยังไม่พร้อมทำตลาดเร่งนำหน้าดึงส่วนแบ่งลูกค้ามาก่อน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ามีโอกาสที่อาจจะชิงส่วนแบ่งตลาดรวมได้ถึง 80% จากยอดขายรถยนต์ BEV ที่คาดว่าจะทำได้เกินกว่า 10,000 คันในปี 2565 นี้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนตลาดรถยนต์รวมยังคงมีประเด็นสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่น่ากังวล เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนรถยนต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดในเบื้องต้นว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศโดยรวมของไทยปี 2565 นี้ อาจปิดที่ราว 825,000 คัน (+8.7% (YoY)) ทว่าหากสถานการณ์สงครามเลวร้ายลงอาจส่งผลต่อยอดขายที่ลดลงมาเหลือ 800,000 คัน (+5.4% (YoY)) ได้ แต่ในทางตรงข้ามหากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนคลี่คลายได้เร็ว ก็มีโอกาสที่จะทำได้สูงกว่าตัวเลขที่คาดไว้เช่นกัน ... อ่านต่อ
16 มีนาคม 2565
สงครามรัสเซีย-ยูเครนได้กลายมาเป็นปัจจัยที่สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์โลกเป็นวงกว้างทั้งจากการเพิ่มปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนรถยนต์ และเร่งภาวะเงินเฟ้อโลกให้พุ่งขึ้นทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง ซึ่งส่งผลให้การส่งออกรถยนต์จากไทยโดยรวมได้รับผลกระทบไปด้วย แม้สถานการณ์จะต่างออกไปบ้าง เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ารถยนต์จากไทยมากกว่า 1 ใน 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนที่เกิดจากสงครามและการคว่ำบาตรรัสเซียยืดเยื้อ เป็นปัจจัยฉุดที่สำคัญซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะส่งผลทำให้ ปริมาณการส่งออกรถยนต์ไทยปี 2565 นี้ ลดลงมาเหลือระหว่าง 850,000 ถึง 900,000 คัน (-6.0% ถึง -11.0% (YoY))... อ่านต่อ
30 ธันวาคม 2564
ล่าสุดรัฐบาลเตรียมประกาศใช้มาตรการมาตรการกระตุ้นดีมานด์รถยนต์ BEV ในประเทศ ด้วยการเข้ามาช่วยเหลือเรื่องของระดับราคาให้ใกล้เคียงกับรถยนต์ใช้น้ำมันมากขึ้นนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ค่ายรถที่จะได้รับประโยชน์นั้นอาจจะเป็นเพียงกลุ่มค่ายรถที่มีเทคโนโลยีพร้อมแล้ว และมีฐานการผลิตอยู่ในไทย หรือที่กำลังมีแผนจะลงทุนให้ไทยขึ้นเป็นฐานผลิตรถยนต์ BEV ในระยะอันใกล้นี้ โดยเฉพาะค่ายรถจีนที่มีเทคโนโลยีอยู่แล้ว เช่นเดียวกันกับค่ายรถหรูตะวันตกที่อาจให้ไทยเป็นฐานผลิตเพื่อส่งออกสำหรับรถยนต์ BEV พวงมาลัยขวา แต่สำหรับค่ายรถญี่ปุ่นอาจมีเพียงบางค่ายที่พร้อมลุยจากประเด็นความพร้อมด้านเทคโนโลยี ... อ่านต่อ
29 กรกฎาคม 2564
หลังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ที่สายพันธุ์เดลตาได้กลายมาเป็นภัยคุกคามหลัก และส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในหลายๆ ประเทศรวมทั้งไทยกลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้งและมีแนวโน้มจะกระทบต่อเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในระยะยาวหากไม่สามารถจำกัดวงการแพร่ระบาดได้ ซึ่งจากผลของการกลับมาระบาดอย่างรุนแรงในรอบนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการทิศทางอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยปี 2564 ใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ... อ่านต่อ
28 พฤษภาคม 2564
การส่งออกรถยนต์ปี 2564 มีโอกาสฟื้นตัว หลังประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีขึ้นกว่าปีก่อน และค่ายรถโยกฐานผลิตเพื่อส่งออกมายังไทยเพิ่มขึ้น ทว่าจากความเสี่ยงที่ยังกดทับอยู่ ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมีมุมมองที่ระมัดระวังโดยคาดว่ายอดส่งออกรถยนต์จะอยู่ระหว่าง 890,000 – 950,000 คัน ขยายตัว 21.0%-28.0% (YoY) จากฐานที่ต่ำมากในปีที่แล้ว แต่ในระยะข้างหน้า นอกจากเรื่องเทคโนโลยีรถยนต์ ZEV ที่ไทยต้องเร่งพัฒนาขึ้นแล้ว การส่งออกรถยนต์ไทยในตลาดหลักเดิมยังอาจต้องเจอกับการแข่งขันจากแหล่งผลิตอื่นมากขึ้นด้วย รวมไปถึงมาตรการที่จะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกซึ่งมีทิศทางเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การไม่ได้เข้าร่วมบาง FTA ในอนาคตอาจทำให้ไทยส่งออกได้น้อยลงด้วย อย่างไรก็ตาม การเข้ามาลงทุนในไทยของค่ายรถจีนที่คาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นนับจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าอาจเป็นหนึ่งในหนทางที่ช่วยเปิดตลาดส่งออกให้เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงต่อการสูญเสียตลาดจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหลังการเกิด Technology Disruption ครั้งใหญ่ในวงการยานยนต์ ... อ่านต่อ
29 เมษายน 2564
การกลับมาระบาดอีกครั้งในรอบที่ 3 ของโควิด-19 ในไทย ซึ่งแม้จะไม่มีการประกาศล็อกดาวน์ แต่มุมมองของประชาชนต่อการระบาดในครั้งใหม่ที่ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากกว่าการระบาดในทุกครั้งนี้ ยังผลให้เกิดความกังวลต่อรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และกระทบต่อการบริโภคในกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ตามมา ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์เป็นอีกกลุ่มที่น่าจะได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง รวมถึงมีผลผูกมัดด้านค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์จะเห็นได้ชัดในช่วงไตรมาส 2 โดยมีแรงกดดันอีกด้านมาประกอบด้วยจากผลของการขาดแคลนชิปอิเล็กทรอนิกส์ของค่ายรถยนต์บางค่าย ที่มีผลทำให้การผลิตรถยนต์ในบางรุ่นอาจส่งมอบล่าช้าออกไปกว่าที่ควรด้วย ... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2563
ในปี 2563 ทั่วโลกต่างเผชิญวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่เว้นแม้ไทย ทำให้ตลาดรถยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จนศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2563 นี้ น่าจะมีโอกาสแตะระดับ 770,000 คัน หรือหดตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 23.6 อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ปี 2564 หากเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวดีขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายประเมินและภาครัฐไม่มีความจำเป็นต้องดึงมาตรการล็อกดาวน์มาใช้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าทิศทางยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 จะขยายตัวได้กว่าร้อยละ 7 ถึง 11 คิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้นสู่ตัวเลข 825,000 ถึง 855,000 คัน ... อ่านต่อ
27 สิงหาคม 2563
ปัจจุบันค่ายรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน โดยเฉพาะค่ายญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะปรับรูปแบบกระบวนการผลิตจากเดิมที่เน้นการลดต้นทุนแบบ Lean Production เป็นการผลิตแบบ Agile Supply Chain มากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ทันต่อสถานการณ์ต่างๆที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้มากขึ้น ส่งผลให้การเลือกหาฐานการผลิตเพื่อรองรับต่อรูปแบบการผลิตใหม่ดังกล่าวมีความสำคัญขึ้นมา และหนึ่งในปัจจัยที่นักลงทุนใช้เลือกประเทศฐานการผลิตรูปแบบใหม่ คือ การมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศฐานผลิตอื่นนอกภูมิภาคมากขึ้น อันจะทำให้การดำเนินงานแบบ Agile Supply Chain เกิด Economies of Scale ได้ง่ายยิ่งขึ้น ... อ่านต่อ
30 มิถุนายน 2563
สหรัฐฯประเทศผู้นำเข้ายางรถยนต์จากไทยเป็นอันดับ 1 เริ่มเปิดไต่สวนกรณีทุ่มตลาดยางรถยนต์กับไทย ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าผลกระทบน่าจะอยู่ในวงจำกัดและในระยะสั้น ทั้งนี้เนื่องจากในระยะยาวไทยน่าจะยังเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเป็นฐานการผลิตยางรถยนต์โลกด้วยปัจจัยบวกสำคัญที่เหนือกว่าคู่แข่ง คือ ต้นทุนโดยรวมที่ต่ำกว่าในระยะยาว ขณะที่การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ของผู้ผลิตก็ยิ่งเสริมให้เกิด Economies of scale รวดเร็วขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายและเหมาะสมแก่ผู้ผลิตในการวางราคาจำหน่ายยางรถยนต์ในอนาคต นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตยางรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับจากตลาดมากขึ้น น่าจะเป็นทางแก้ปัญหาการตอบโต้การทุ่มตลาดจากประเทศต่างๆได้ในระยะยาวที่เหมาะสมกว่าที่ผู้ผลิตจะเลือกใช้แทนการย้ายฐานการผลิตไปเรื่อยๆเพื่อหลบเลี่ยงปัญหาดังกล่าว... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2563
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ไทยผลักดันสู่จุดต่ำสุดในรอบกว่า 9 ปี ด้วยปริมาณการผลิตที่อาจหดตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 25 ลดลงไปแตะตัวเลข 1,520,000 คัน นำโดยการส่งออกที่อาจหดตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 29 ด้วยตัวเลขส่งออกที่ลดลงเหลือเพียง 750,000 คัน ขณะที่ตลาดในประเทศก็เผชิญกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจทำให้อาจหดตัวไปถึงร้อยละ 21 ด้วยยอดขาย 800,000 คัน ส่วนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์สู่ภาวะปกติอีกครั้งคาดว่าอาจเป็นช่วงกลางปี 2564 ถึงหรือต้นปี 2565... อ่านต่อ
10 เมษายน 2563
ปัจจุบันจีนมีทิศทางการส่งออกรถยนต์และเข้าไปลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศต่างๆทั่วทุกมุมโลกมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการตอบรับที่ดีค่อนข้างมากแม้กระทั่งในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งในสถานการณ์ดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยเริ่มได้รับผลกระทบบ้างแล้วในตลาดส่งออกหลักเดิม เช่น ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย จากรถยนต์สัญชาติจีน และมีโอกาสที่จะขยายผลกระทบมากขึ้น หากไม่มีการเตรียมการรับมือในประเทศ โดยเฉพาะการเร่งดึงดูดการลงทุนจากจีนตั้งแต่ขณะนี้... อ่านต่อ
14 กุมภาพันธ์ 2563
จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีนที่ยังคาดเดาได้ยาก แต่ได้แผ่ขยายผลกระทบออกมาสู่เศรษฐกิจทั่วโลก ได้ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งในและนอกประเทศจีน ไม่เว้นแม้แต่ไทย ต้องประสบกับทิศทางที่หดตัวลงถ้วนหน้า ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการยอดขายรถยนต์โดยรวมตลอดทั้งปี 2563 ลงจากที่เคยมองว่าอาจจะหดตัวมากสุดที่ร้อยละ 5 หรือขายได้ 960,000 คัน เป็นคาดว่าจะหดตัวลงไปถึงร้อยละ 7 ถึง 11 หรือคิดเป็นจำนวนรถยนต์ 900,000 ถึง 940,000 คัน ... อ่านต่อ
4 กุมภาพันธ์ 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การส่งออกรถยนต์โดยรวมของไทยในปี 2563 นี้อาจจะอยู่ในระดับหดตัวลงจากปีที่แล้ว ด้วยผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆทั้งปัญหาเศรษฐกิจเดิมที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว รวมถึงการที่ออสเตรเลียคู่ค้าหลักไทยต้องเผชิญกับปัญหาไฟป่า แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากการที่ค่าเงินบาทน่าจะมีทิศทางไม่แข็งค่าเท่าปีที่แล้ว นอกจากนี้ ปัจจุบันปัญหาใหม่จากการระบาดของไวรัสโคโรน่า มีแนวโน้มที่อาจกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในประเทศคู่ค้าไทยหลายประเทศ โดยเฉพาะ เวียดนามและฟิลิปปินส์ ทำให้ผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ของไทยปี 2563 ทวีความรุนแรงขึ้น... อ่านต่อ
4 ธันวาคม 2562
ตลาดรถยนต์ในปี 2562 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ยอดขายรถยนต์โดยรวมตลอดทั้งปีน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 2.5 จากปี 2561 หรือคิดเป็นจำนวนรถยนต์ 1,015,000 คัน โดยมีปัจจัยกดดันที่สำคัญจากการเข้าควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ช่วงกลางปี สำหรับปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมองว่าตลาดน่าจำยังได้รับปัจจัยกดดันจากหลายทาง โดยเฉพาะความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่ดำเนินต่อมาจากปี 2562 ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2563 มีโอกาสทรงตัวหรืออาจหดตัวได้ถึงร้อยละ 5 คิดเป็นตัวเลขยอดขาย 960,000 ถึง 1,015,000 คัน ... อ่านต่อ
28 พฤศจิกายน 2562
การมาของรถยนต์ไฟฟ้าก่อให้เกิดผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนรถยนต์ ICE เดิมใน 2 มิติ ได้แก่ การสั้นลงของห่วงโซ่อุปทานอันเนื่องมาจากการสร้างหน่วยธุรกิจใหม่ที่เกิดจากการรวมกลุ่มธุรกิจมากขึ้น และการต้องพัฒนาคุณสมบัติของชิ้นส่วนเดิมบางประเภทให้สามารถรองรับรถยนต์ไฟฟ้าได้ ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนในห่วงโซ่อุปทานเดิมต่างต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมากขึ้น ... อ่านต่อ
5 พฤศจิกายน 2562
ตลาดยุโรปนับเป็นตลาดสำคัญหนึ่งของการส่งออกรถปิกอัพไทย อย่างไรก็ตาม การทวีความเข้มข้นขึ้นของมาตรการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมในกลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในอนาคตอันใกล้รถปิกอัพที่จะขายในสหภาพยุโรปต้องมีการพัฒนาขึ้นเป็นรถปิกอัพไฮบริดอย่างไม่อาจเลี่ยง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีตั้งฐานการผลิตรถปิกอัพไฮบริดขนาดกลางซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดยุโรปที่ประเทศใด จึงเป็นโอกาสของไทยที่มีความพร้อมในด้านต่างๆครบถ้วน ในการที่จะดึงดูดการลงทุนผลิตรถประเภทดังกล่าวมาที่ไทย ซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนส่งเสริมจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การผลิตรถปิกอัพไฮบริดเกิด Economies of Scale ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องมีการเร่งเจรจาการค้าเสรีกับกลุ่มสหภาพยุโรปให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อช่วงชิงโอกาสในการเป็นฐานการผลิตรถปิกอัพไฮบริดให้ได้ก่อนแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในการผลิตปิกอัพส่งออกไปยังยุโรป... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2562
จีนกับสหรัฐฯทำสงครามการค้ารอบใหม่ตอบโต้กันด้วยการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า โดยรถยนต์เป็นสินค้าหนึ่งที่จีนประกาศจะปรับขึ้นภาษีร้อยละ 25 กับสหรัฐฯ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ของสหรัฐฯไปจีน แต่ในอีกทางหนึ่งกลับส่งผลดีต่อไทย ทำให้ค่ายรถหรู เช่น BMW และ Mercedes Benz ที่มีฐานการผลิตหลักสำหรับบางรุ่นในสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะมาผลิตและส่งออกจากไทยไปจีนเร็วขึ้น ... อ่านต่อ
23 สิงหาคม 2562
ในปี 2562 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกรถยนต์โดยรวมของไทยน่าจะหดตัวร้อยละ 2.7 คิดเป็นจำนวนรถยนต์ 1,110,000 คัน จากปัจจัยลบเรื่องสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ ค่าเงินบาทแข็งค่า และการส่งออกไปยังตลาดหลักของไทยที่ลดลงอย่างมาก เช่น ออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม หากแยกประเภทรถยนต์ที่ส่งออกจะพบว่า การส่งออกรถปิกอัพของไทยยังคงขยายตัวได้ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 2.4 คิดเป็นรถปิกอัพส่งออก 626,000 คัน ขณะที่รถประเภทอื่นหดตัวลงในตลาดส่วนใหญ่ ส่วนในระยะยาวถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้การส่งออกรถยนต์โดยรวมของไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์นั่งที่มีแผนจะส่งออกไปตลาดต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของรถปิกอัพ แม้ว่าในอนาคตข้างหน้าจะยังมีโอกาสเติบโตในตลาดส่งออกหลัก เช่น เอเชีย และโอเชียเนีย ทว่าตลาดส่งออกรถปิกอัพไทยที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 29 ในปัจจุบันอย่าง ยุโรป อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง อาจส่งออกได้น้อยลง หากค่ายรถ โดยเฉพาะค่ายญี่ปุ่น เริ่มขยายฐานการผลิตไปยังประเทศที่อยู่ใกล้ตลาดเหล่านี้มากขึ้น และไทยเองก็ไม่สามารถเปิดเสรีทางการค้ากับทั้ง 3 ตลาดได้ ... อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2562
ตลาดรถยนต์ในปี 2562 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ในช่วงครึ่งแรกจะมีการขยายตัวดีขึ้นค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังมีปัจจัยลบเข้ามาฉุดรั้งตลาด โดยเฉพาะการเข้ามาควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่มากขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ยอดขายรถยนต์โดยรวมตลอดทั้งปีน่าจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 2 หรือคิดเป็นจำนวนรถยนต์ 1,060,000 คัน ทว่า แม้ตลาดโดยรวมจะขยายตัวได้เล็กน้อย แต่สำหรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศกลับเติบโตสูงสวนทางตลาด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของไทยปี 2562 นี้ น่าจะขยายตัวได้กว่าร้อยละ 61 หรือมียอดขายถึง 32,000 คัน เติบโตขึ้นจาก 19,880 คัน ในปีที่แล้ว ทั้งนี้มาจากปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ การตั้งราคารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่เข้าตลาดมาทำให้ผู้บริโภครู้สึกเข้าถึงได้มากขึ้น และมุมมองของผู้บริโภคบางส่วนต่อต้นทุนในการถือครองรถเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เมื่อผนวกกับปัจจัยบวกอื่นๆ เช่น การรับประกันคุณภาพรถยนต์และแบตเตอรี่ที่ยาวนาน เป็นต้น ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าของไทยเติบโตได้ดีในปีนี้ ... อ่านต่อ
18 กรกฎาคม 2562
การเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าโลกในปัจจุบันซึ่งนำมาสู่การปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานของค่ายรถญี่ปุ่นสู่การใช้กลยุทธ์การกระจายห่วงโซ่อุปทานในแนวนอนด้วยการจับมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาแพลทฟอร์มร่วมนั้น ส่งผลดีต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์โดยรวมของไทยในระยะช่วง 10 ปีแรก ที่ตลาดรถยนต์ส่วนใหญ่ยังเป็นรถยนต์ที่ต้องใช้เครื่องยนต์เป็นหลักในการขับเคลื่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการลงทุนเพื่อผลิตรถยนต์ HEV และ PHEV ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นมากในไทย ทำให้ผลกระทบต่อความต้องการชิ้นส่วนเกี่ยวกับเครื่องยนต์ยังมีไม่มาก... อ่านต่อ
15 พฤษภาคม 2562
อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์โดยรวมของไทยเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก อย่างไรก็ตาม Big Bike ในไทยกลับเดินสวนทาง รวมถึงยังมีการทยอยเข้ามาลงทุนของค่าย Big Bike รายใหญ่ของโลกอย่างต่อเนื่อง ผลักดันทำให้ไทยกลายมาเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออก Big Bike ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในปี 2562 การส่งออก Big Bike ของไทยไปทั่วโลกมีโอกาสขยายตัวได้กว่าร้อยละ 10 โดยเอเชียจะเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูงสุดด้วยอัตราการขยายตัวกว่าร้อยละ 20 ซึ่งในปัจจุบันเอเชียเริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆในตลาด Big Bike โลกตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยในระยะ 3 ปีหลังจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า Big Bike รุ่นเล็ก (251 ถึง 500 ซีซี) จะเป็นรุ่นที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญสำหรับการส่งออกของไทยไปเอเชียแซงหน้ารุ่นอื่นๆ เนื่องจากปัจจัยราคาที่เอื้อมถึงได้เหมาะกับผู้ซื้อ Big Bike หน้าใหม่จำนวนมากที่นับวันจะมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในภูมิภาคนี้... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2562
ความต้องการเซ็นเซอร์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนหลัก 3 ประการ คือ ปริมาณการผลิตรถยนต์ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง การยกระดับสมรรถนะและฟังก์ชั่นการทำงานของรถยนต์โดยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าแห่งหนึ่งของโลก ส่งผลให้ผู้ผลิตเซ็นเซอร์สำหรับยานยนต์จากต่างประเทศมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อผลิตเซ็นเซอร์ที่มีระดับเทคโนโลยีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเซ็นเซอร์ในระบบควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์และการปล่อยมลพิษ และเซ็นเซอร์ในระบบความปลอดภัย นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้คาดว่าผู้ผลิตเซ็นเซอร์น่าจะเริ่มเข้ามาลงทุนเซ็นเซอร์ในแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อทิศทางการลงทุนของค่ายรถในชิ้นส่วนขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ ความต้องการเซ็นเซอร์ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสำหรับรถยนต์ HEV/PHEV ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศและการส่งออกในอนาคต... อ่านต่อ
31 มกราคม 2562
จากความพยายามผลักดันให้ค่ายรถยนต์พัฒนามาตรฐานไอเสียยูโร 5 กับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ผลิตในประเทศภายในปี 2564 เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวสำหรับเรื่องมลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ต้นทุนดังกล่าวนี้อาจส่งผลให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มในการซื้อรถยนต์ในอนาคตข้างหน้า รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาทในระยะ 1 ปีที่ใช้มาตรการนี้ ในการสนับสนุนการเปลี่ยนรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ดังกล่าว ภาครัฐอาจพิจารณามาตรการต่างๆ อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียตั้งแต่ยูโร 5 ขึ้นไป อันจะเป็นการช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในฝั่งค่ายรถยนต์และผู้ซื้อ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนารถยนต์เพื่อการพาณิชย์ให้มีระบบขับเครื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว สำหรับรถยนต์เก่าที่ยังมีมาตรฐานไอเสียต่ำกว่ายูโร 5 ควรต้องมีการให้การสนับสนุนในเรื่องการปรับจูนระบบเครื่องยนต์ให้ดีขึ้น และเริ่มใช้มาตรการทางกฏหมายบังคับในด้านต่างๆ เพื่อให้การปล่อยฝุ่นละออง PM 2.5 ลดลง ... อ่านต่อ
30 มกราคม 2562
ตั้งแต่ปี 2562 เราจะเริ่มเห็นถึงทิศทางการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ขยายตัวสูงขึ้นมากในไทย หลังค่ายรถต่างยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าอีก 5 ปีข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศของไทยน่าจะมีโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นไปอยู่ระดับ 1 ใน 4 ของยอดขายรถยนต์รวมต่อปีทั้งประเทศ หรือคิดเป็นประมาณ 240,000 คัน โดยมีโครงการรถยนต์อีโค-ไฮบริด และไมลด์ไฮบริด ที่น่าจะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในระยะแรก และในปี 2566 ซึ่งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเข้าใกล้จุดที่เต็มอัตราการผลิตนั้น จำนวนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องผลิตออกมาเพื่อรองรับตลาดในประเทศนี้คาดว่าจะมีปริมาณอย่างน้อย 260,000 ลูก ขณะที่การผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับส่งออกน่าจะมีปริมาณไม่น้อยกว่า 170,000 ลูก ซึ่งการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ารวมไม่ต่ำกว่า 430,000 ลูกนี้ คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 3 ของตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโลก ส่งผลให้ไทยกลายมาเป็นฐานการผลิตใหญ่อันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียได้ในอนาคต... อ่านต่อ
26 ธันวาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยปี 2562 น่าจะทำได้ประมาณ 1,150,000 ถึง 1,180,000 คัน ขยายตัวเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1 ถึง 4 จากปี 2561 ที่คาดว่าจะส่งออกรถยนต์ได้ 1,135,000 คัน ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี คือ โอเชียเนีย และเอเชีย ที่ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปอยู่แล้ว โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดศักยภาพใหม่ที่มีโอกาสขยับขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 3 ของประเทศที่ไทยส่งออกรถยนต์ไปมากที่สุดในปี 2562 หลังปัญหา Decree 116 คลี่คลายลงบางส่วน ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าไทยจะส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามในปี 2562 ได้ดีขึ้นถึงร้อยละ 14 ถึง 22 คิดเป็นจำนวนรถยนต์ส่งออก 61,000 ถึง 65,000 คัน ขณะที่ทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งค่ายรถมีการทยอยย้ายฐานการผลิตไปผลิตในกลุ่มประเทศเหล่านั้น เพื่อให้ได้ต้นทุนขนส่งที่ถูกลง และรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากข้อตกลงเสรีทางการค้า โดยเฉพาะทวีปยุโรปที่ปัจจุบันเห็นผลของการย้ายฐานเพิ่มมากขึ้นทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าปี 2562 ไทยจะส่งออกไปทวีปยุโรปในระดับทรงตัวถึงหดตัวร้อยละ 4 คิดเป็นจำนวนรถยนต์ส่งออก 118,000 ถึง 123,000 คัน... อ่านต่อ
12 ธันวาคม 2561
ปี 2561 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18 คิดเป็นยอดขายรถยนต์ถึง 1,030,000 คัน โดยในจำนวนนี้พบว่ารถยนต์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรถยนต์อีโคคาร์มีแนวโน้มขยายตัวสูงถึงร้อยละ 37 ขณะที่รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าคาดว่าจะมียอดขายรวมทุกประเภทเติบโตกว่าร้อยละ 75 จากปี 2560 ส่วนในปี 2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศน่าจะกลับเข้าสู่ระดับปกติมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการเพิ่มความระมัดระวังดูแลคุณภาพสินเชื่อของบริษัทลีสซิ่งต่างๆ ส่งผลให้โดยรวมแล้วทั้งปี 2562 ยอดขายรถยนต์ในประเทศน่าจะหดตัวกว่าร้อยละ 2 ถึง 5 จากปี 2561 คิดเป็นยอดขาย 980,000 ถึง 1,010,000 คัน อย่างไรก็ตาม รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้ากลับมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากปัจจัยบวกทั้งการลงทุนของค่ายรถ และนโยบายรัฐที่สนับสนุน ทำให้ยอดขายรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยรวมมีโอกาสเติบโตกว่าร้อยละ 76 ถึง 83 จากปี 2561 ... อ่านต่อ
9 กรกฎาคม 2561
รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเริ่มมีบทบาทในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่สนใจพิจารณารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นตัวเลือกหนึ่งในอนาคต ซึ่งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาเมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรุ่นใกล้เคียงไม่สูงเกินกว่า 300,000 บาท โดยเหตุผลสำคัญที่สุดที่เลือกรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเติมเชื้อเพลิงเพราะสามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า รองลงมาคือเรื่องความประหยัดค่าเชื้อเพลิง จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพียงพอ เป็นประเด็นที่ผู้บริโภคมีความกังวลมากที่สุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากจำนวนรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องเสียบชาร์จไฟนั้นยังมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าจะมีเพียงราว 51,300 คัน ภายในปี 2562 ขณะที่มีสถานีชาร์จไฟฟ้าที่คาดว่าจะผุดตัวขึ้นตามเป้าในปีนี้กว่า 1,000 จุด ทำให้จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ามีมากเกินความต้องการในระยะ 1 ถึง 2 ปีนี้ โอกาสที่สถานีชาร์จไฟฟ้าจะสร้างรายได้เพื่อคืนทุนเองใน 1 ปี ในระยะแรกนี้นั้น จึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นความช่วยเหลือทางด้านการเงินในระยะแรกของการก่อตั้งจึงอาจเป็นสิ่งจำเป็น ... อ่านต่อ
27 ธันวาคม 2560
ตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2560 พลิกกลับมาฟื้นตัวอย่างมากหลังหดตัวต่อเนื่องกันมาถึง 4 ปี โดยแรงหนุนสำคัญน่าจะมาจากกำลังซื้อของประชาชนที่... อ่านต่อ
14 กันยายน 2560
จากการที่รัฐบาลได้เปลี่ยนวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ขายในประเทศเป็นรูปแบบใหม่ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์มีป... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2560
จากการสำรวจพฤติกรรมการซื้อรถยนต์และความสนใจของผู้บริโภคต่อรถพลังงานไฟฟ้าของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่มีความสนใจจะซื้อรถในปีนี้มอง... อ่านต่อ
30 มีนาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในยานยนต์ไปสู่โหมดการทำงานด้วยระบบอัจฉริยะเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสบายให้แก... อ่านต่อ
1 กุมภาพันธ์ 2560
ปี 2560 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การส่งออกรถยนต์ไทยอาจขยายตัวได้ร้อยละ 1 ถึง 6 หรือคิดเป็นยอดส่งออกทั้งสิ้น 1,200,000 ถึง 1,260,000 ท่ามกลางความเสี่... อ่านต่อ
29 ธันวาคม 2559
31 สิงหาคม 2559
11 มีนาคม 2559
30 ธันวาคม 2558
15 มิถุนายน 2558
27 ตุลาคม 2557
11 มิถุนายน 2557
4 เมษายน 2557
29 พฤศจิกายน 2556
21 พฤศจิกายน 2556
18 กรกฎาคม 2556
7 ธันวาคม 2555
18 กันยายน 2555
20 ธันวาคม 2554
23 พฤศจิกายน 2554
14 กันยายน 2554
22 เมษายน 2554
7 มกราคม 2554
24 ธันวาคม 2553
26 พฤศจิกายน 2553
29 กรกฎาคม 2553
23 มิถุนายน 2553
14 พฤษภาคม 2553
9 เมษายน 2553
12 มกราคม 2553
14 ธันวาคม 2552
2 ธันวาคม 2552
25 กันยายน 2552
18 สิงหาคม 2552
16 กรกฎาคม 2552
3 กรกฎาคม 2552
16 กุมภาพันธ์ 2552
5 มกราคม 2552
16 ธันวาคม 2551
9 ธันวาคม 2551
28 พฤศจิกายน 2551
6 ตุลาคม 2551
10 มิถุนายน 2551
15 มิถุนายน 2550
25 พฤษภาคม 2550
30 มีนาคม 2550
3 พฤศจิกายน 2549
18 สิงหาคม 2549
24 กุมภาพันธ์ 2549
3 มีนาคม 2548